Skip to main content

เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้ตัวเองพ้นผิดและให้อีกฝ่ายรับผิดไปแทน โดยฝ่ายที่มีประกันชั้นหนึ่งมักจะถูกผลักภาระให้รับไปแทน ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าคิดอะไรกันอยู่เพราะหากฝ่ายมีประกันรับปัญหาไปจริงๆในท้ายที่สุด ปีนั้นจะต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่ม หากจะย้ายประกันไปอีกยี่ห้อค้าก็มีระบบรวมประวัติระหว่างบริษัทประกันเช็คข้อมูลย้อนหลังได้ จะให้ย้ายทุกปีก็ไม่ไหวถ้ามันไม่ใช่ความผิดของเรานี่ครับ

เหตุการณ์แรกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ รถชนกันที่สี่แยกในคืนที่ฝนตกหนัก ระหว่างรถกระบะของผู้ที่มาปรึกษาซึ่งกำลังขับพุ่งตรงมาทางสี่แยกในด้วยความเร็วปกติและมีการชะลอรถเล็กน้อยตามธรรมชาติของการขับผ่านสี่แยกที่ต้องระมัดระวังรถอื่นๆในบริเวณทางแยกร่วม   จังหวะที่กำลังจะขับผ่านพ้นแยกไปนั้น มีรถเก๋งซึ่งอยู่ในเลนส์ขวาสุดได้เบี่ยงรถคันหน้าสุดที่ติดไฟแดงเลี้ยวขวาอยู่ออกมาทางเลนส์ซ้ายอย่างกะทันหัน   ผู้ขับรถกระบะจึงพยายามเบรครถของตัวเองอย่างกะทันหันแต่ด้วยพื้นถนนที่ลื่นเพราะฝนตกและรถก็ไม่มีระบบเบรคเอบีเอสจึงไถลไปชนเอามุมท้ายของรถกระบะที่เบี่ยงจากเลนส์ขวาเข้ามาในเลนส์ของตน   ซึ่งช่องทางเดิมของรถกระบะนั้นเป็นเลนส์บังคับเลี้ยวขวา    

หลังจากนั้นเจ้าของเก๋งอีกฝ่ายลงรถมาดูสภาพความเสียหายของรถและพยายามเคาะกระจกเรียกให้ลงมา   แต่เจ้าของรถกระบะเป็นผู้หญิงตัวคนเดียวจึงยังไม่ลงจากรถเพราะดึกแล้วฝนก็ตกหนักจึงได้โทรเรียกเพื่อนชายไปที่เกิดเหตุ เมื่อเพื่อนมาถึงก็ลองสำรวจสภาพรอบรถเห็นรถตัวเองมีรอยถลอกที่มุมกันชนหน้าด้านขวาที่จิ้มท้ายรถเก๋ง พอทั้งคู่ลงมาดูตำแหน่งของรถทั้งสองคนจึงได้เห็นว่ามีในบริเวณสี่แยกนั้นก็มีการตีเส้นทึบระหว่างช่องทางซ้ายและขวาอย่างชัดเจน   ในระหว่างนั้นคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ได้เริ่มมาคุยตกลงกัน   ในขณะนั้นเองญาติฝ่ายรถเก๋งที่ขับมาชนก็มาถึงที่เกิดเหตุหลายคนโดยคนเหล่านั้นต่างมารุ่มต่อว่าคนขับรถกระบะอีกคันซึ่งเป็นผู้หญิงที่ขับรถมาและพยายามกดดันให้รับผิดโดยบอกว่า ขับรถมาชนท้ายคนอื่นยังไงก็ผิดอยู่แล้ว ถ้าเรื่องไปถึงตำรวจก็จะโดนโทษอาญาอีกนะ นี่พวกเราใจดีแล้วเคลียร์กันก่อนแล้วชดใช้ค่าเสียหายมา เรื่องจะได้ไม่ต้องไปถึงโรงถึงศาล แต่ฝ่ายรถกระบะปรึกษากันสองคนแล้วคิดว่าตนขับมาในช่องทางตัวเองแต่ที่ชนท้ายเพราะอีกคันเบี่ยงรถเข้ามาในช่องทางของตน แถมยังเป็นการเปลี่ยนเลนส์ข้ามเส้นทึบอย่างกะทันหันที่สี่แยก   ตนไม่น่าจะผิด   จึงไม่ยอมรับผิดและไม่ชดใช้ค่าเสียหายแน่ๆ

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบมาถึงก็ไม่มีการพ่นสีหรือถ่ายรูปแต่อย่างใด แค่มาพูดด้วยเสียงดังว่า “ไม่เห็นจะมีอะไรเลย ขับรถชนท้ายก็จ่ายค่าเสียหายให้เค้าก็จบ จะเรียกให้มาทำไม แต่ถ้าไม่จ่ายก็ไปโรงพัก”  ซ้ำอีกญาติฝ่ายรถเก๋งยังไม่หยุดการต่อว่า เมื่อฝ่ายรถกระบะชี้แจงอธิบายเหตุผลอะไรไป ทางตำรวจกองปราบก็ไม่ฟัง แล้วก็โทรเรียกตำรวจท้องที่ให้มาจัดการเอง   ส่วนตัวเองก็ขับรถออกไป (ซึ่งตอนหลังที่เจ้าของรถกระบะมาคุยเหตุการณ์ก็คิดว่า ตำรวจกองปราบคนแรกที่มาน่าจะเป็นคนรู้จักของกลุ่มรถเก๋งเสียมากกว่า เพราะผมก็บอกเค้าไปว่าเวลามีรถชนกันตำรวจเจ้าของท้องที่และตำรวจทางหลวงเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ)  

รออีกประมาณครึ่งชั่วโมงก็มีตำรวจของ สน.ในพื้นที่ สองนายเข้ามาถึงที่เกิดเหตุ   เหล่าญาติของฝ่ายรถเก๋งยังไม่หยุดการต่อว่า ตำรวจที่เพิ่งมาถึงก็เพิกเฉยกับเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งบอกให้ฝ่ายรถกระบะที่ขับมาชนท้ายรับผิดไป เพราะว่ารถกระบะคันดังกล่าวมีประกัน อย่างไรประกันก็ต้องชดใช้ให้ทั้งสองฝ่าย และรถเก๋งที่ถูกชนท้ายไม่มีประกันชั้นหนึ่งอยู่ด้วย ให้รถกระบะที่มีประกันชั้นหนึ่งรับผิดไปเรื่องนี้จะได้จบ เมื่อบริษัทประกันมาถึงก็กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า น่าจะเป็นเรื่องประมาทกันทั่งคู่ให้รับผิดชอบในส่วนของตนเอง ซึ่งฝ่ายรถเก๋งไม่ยอมรับข้อเสนอที่ตามบริษัทประกันบอกจะให้ฝ่ายรถกระบะชดใช้ค่าเสียหายให้ได้ และพอเจ้าของรถกระบะถามประกันแล้วพบว่าสิ้นปีอาจจะต้องโนเพิ่มค่าเบี้ยประกันปีใหม่และอดได้เงินโบนัสคืนเพราะมีเหตุเฉี่ยวชน เท่ากับมาเสียประโยชน์จากความผิดคนอื่น

คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงไปตกลงที่โรงพัก โดยมีตำรวจคนหนึ่งเข้ามาคุยกับฝ่ายรถกระบะว่าทำไมไม่ยอมความ ฝ่ายรถกระบะก็บอกว่าเรียนกฎหมายมาจบถึงเนติบัณฑิตจะยอมรับผิดที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร ตำรวจคนนั้นกลับบอกว่าหัวหน้าตำรวจที่เป็นเจ้าของสำนวนก็จบสถาบันเนติบัณฑิตเหมือนกัน ยอมๆกันไปเถอะ แต่ฝ่ายรถกระบะบอกว่าแล้วค่าเสียหายกับประกันล่ะสิ้นปีต้อจ่ายเบี้ยเพิ่มนะ ตำรวจคนนั้นบอกว่าถ้าประกันจะเก็บเบี้ยเพิ่มสิ้นปีก็ย้ายยี่ห้อเสียสิ   ฟังดังนั้นจึงตกลงไม่ได้ รอไปตรวจสภาพรถในวันรุ่งขึ้นดีกว่า   สุดท้ายในวันรุ่งขึ้นตำรวจท้องที่โทรมาแจ้งว่าฝ่ายเจ้าของรถเก๋งขอยอมความจะได้ไม่ต้องเอารถไปตรวจสภาพที่ สน.อีกแห่งที่มีระบบพิสูจน์หลักฐานให้ยุ่งยากอีก   ขณะที่ไปเซ็นเอกสารยอมความอยู่นั้น ก็เห็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายรถเก๋งคุยกับตำรวจท้องที่ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบเสมือนเป็นญาติพี่น้องกัน  ทั้งที่เมื่อวานทำเป็นไม่รู้จักกัน   ส่วนตำรวจอีกคนที่มาหว่านล้อมให้ยอมรับผิดแล้วให้ประกันชดใช้ค่าเสียหายให้ ก็หายหน้าไปเลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะมีวิธีการใดที่จะรู้ว่าใครผิดใครถูก คนขับรถมาชนท้ายจะต้องรับผิดเสมอหรือไม่   รถที่เปลี่ยนช่องทางคร่อมเส้นทึบมีความผิดหรือเปล่า

2.              ใครจะต้องมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

3.              จำเป็นหรือไม่ที่ฝ่ายซึ่งมีประกัน หรือมีประกันชั้นหนึ่ง ควรจะรับผิดไปเพราะมีประกันคุ้มครองอยู่แล้ว

4.              ในคดีจราจร ใครเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการทำคดี

5.              หากพบว่าเจ้าพนักงานมีการปฏิบัติหน้าที่ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่ง และเสียหายกับอีกฝ่ายอย่างไม่เป็นธรรม จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะรู้ว่าใครผิดใครถูกก็ด้วยการพิจารณาตามกฎหมายเท่านั้นเหมือนตอนที่ไปสอบใบขับขี่ ตำรวจใช้ดุลยพินิจส่วนตัวไม่ได้ คนขับรถมาชนท้ายจะต้องรับผิดเสมอก็ต่อเมื่อขับอยู่ในช่องทางเดียวกันทั้งคู่เพราะคันหลังต้องระมัดระวังคันหน้า   ส่วนรถที่เปลี่ยนช่องทางคร่อมเส้นทึบมีความผิดอย่างชัดเจนเพราะฝ่าฝืนข้อห้ามอย่างเคร่งครัดของกฎหมายจราจร อาจถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานได้

2.              ผู้ที่ทำผิดกฎหมายจราจรจะต้องมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย มีความประมาทมากกว่าอีกฝ่าย

3.              หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ฝ่ายซึ่งไม่มีประกัน หรือมีประกันชั้นหนึ่ง จะรับต้องผิดไปเพราะแม้มีประกันคุ้มครองอยู่แล้ว อาจจะต้องเสียประกันเพิ่มเมื่อต่ออายุ และเสียเบี้ยกำนัลสิ้นปี

4.              ในคดีจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเจ้าของพื้นที่ แล้วแต่ว่าอยู่ในเขตของ สน. หรือ สภ. หรือตำรวจทางหลวงในกรณีทางหลวงใหญ่ จะเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการทำคดี ผู้อื่นไม่เกี่ยว

5.              หากพบว่าเจ้าพนักงานมีการปฏิบัติหน้าที่ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่ง และเสียหายกับอีกฝ่ายอย่างไม่เป็นธรรม จะสามารถร้องเรียนทางวินัยและฟ้องคดีอาญาได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะต้องแจ้งความให้ตำรวจมาเก็บหลักฐานเพื่อทำสำนวนตามกฎหมายจราจร หากคู่กรณีตกลงกันเองไม่ได้

2.              ในคดีจราจร ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเจ้าของพื้นที่ แล้วแต่ว่าอยู่ในเขตของ สน. หรือ สภ. หรือตำรวจทางหลวงในกรณีทางหลวงใหญ่

3.              คดีจราจรจะต้องมีการพิสูจน์หลักฐานที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานหรือ สถานีตำรวจที่มีแล็ปเก็บหลักฐาน หากเป็นข้อพิพาททีต้องดูหลักฐานละเอียด

4.              คดีจราจรจะขึ้นศาลอาญาโดยที่ฝ่ายผิดจะต้องรับโทษทางอาญาก่อน และขอให้ชดเชยค่าเสียหายในทางแพ่งฯในศาลเดียวกันไปได้เลย

5.              ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนทางวินัยต่อผู้บัญชาการ และฟ้องคดีอาญาที่สถานีตำรวจหรือตั้งทนายฟ้องเอง หรือร้องเรียนต่อ ปปช. ก็ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักกฎหมายละเมิด และความผิดต่อทรัพย์ทางอาญา และการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน ซึ่งกรณีนี้การถกเถียงไม่ช่วยอะไรเนื่องจากความผิดทางจราจรต้องใช้กฎหมายเฉพาะ คือ พรบ.จราจรทางบก มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงว่ากฎหมายกำหนดความผิดเด็ดขาดให้กับใคร ซึ่งหลัก ทางเอก-ทางโท เป็นกฎหมายเด็ดขาดต้องตัดสินตามกฎหมาย  เจ้าพนักงานต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย หากคู่กรณีไม่พอใจการไกล่เกลี่ย ให้ยืนยันดำเนินคดีต่อไปยังศาล เพื่อให้มีการตัดสินผิดถูก และกำหนดค่าสินไหมทดแทนต่อไป หากเจ้าพนักงานทุจริตร้องเรียนผู้บังคับบัญชาและ ปปช. ได้

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2