Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 2016

1.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)

2.       กฎหมายคุ้มครองข้อมูลระดับ Regulation ของ EU มีผลผูกมัดรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป โดยไม่ต้องรอให้รัฐไปออกกฎหมายภายในเพิ่มอีก หากรัฐมีกฎหมายภายในเดิมที่เกี่ยวข้องทับซ้อน ก็ให้ใช้ Regulation ของ EU แทน   ซึ่งต่างจาก Directive 95/46/EC ที่เป็นเพียงกรอบแนวทางให้รัฐนำไปออกกฎหมายภายในอีกต่อหนึ่ง

3.       เมื่อมีผลระดับบังคับเหนือสมาชิกทั้งหมดแบบ Supra National ก็ย่อมหมายความว่า คุ้มครองพลเมืองยุโรปในเขตสหภาพหรือข้อมูลคนยุโรปที่ส่งออกไปนอกสหภาพ ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานนี้

4.       การสร้างกฎหมายลักษณะนี้ทำให้คู่ค้า หรือรัฐเจ้าของสัญชาติผู้ให้บริการทั้งหลายที่มีการส่งข้อมูล เข้า-ออก ข้ามพรมแดน สหภาพยุโรปทั้งหมด ต้องสร้างมาตรการยืนยันมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิ   - ผลที่เกิดแล้วคือ สหรัฐต้องเซ็นข้อตกลง Privacy Shield กับยุโรป  และคาดว่าประเทศ/ภูมิภาคอื่นๆ ที่อยากจะเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป ก็ต้องทำในลักษณะเดียวกับสหรัฐ หรือมาขอเข้าร่วมภาคยานุวัติ Regulation แบบกรณี Cybercrime Convention ที่มีอุรุกวัยและอีกหลายประเทศเข้าร่วม  หรือเอาแบบไทย ก็คือ ศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ(ลอก)มาให้ได้มาตรฐาน

5.       เพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามแนวคำพิพากษาของศาลในคดีช่วงก่อนหน้านี้ อาทิ

-          สิทธิในการลบข้อมูล/สิทธิที่จะถูกลืม Right to Erasure, Right to be Forgotten สำหรับข้อมูลที่ไม่ตรงความจริง ล้าสมัยไปแล้ว  ทั้งที่อยู่ในการควบคุมของรัฐหรือเอกชน

-          สิทธิในการยื่นแบบฟอร์มขอเก็บข้อมูลตนให้อยู่ในไฟล์เดียว

-          กำหนดระยะเวลาที่ผู้ควบคุมข้อมูลต้องตอบคำร้องภายใน 20 วัน

-          Data Protection by Design ประชาชนออกแบบข้อตกลง หรือยื่นคำร้องให้มีการปกป้องข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมได้

-          Data Protection by Default ประชาชนได้รับสิทธิเป็นแพ็คเกจทันที ถ้าไม่เลือกที่จะออกจากการคุ้มครองที่ “แน่นหนาไว้ก่อน”  คือ Opt-Out

-          สิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมชดเชยเมื่อข้อมูลสูญหาย ถูกทำลาย หรือรั่วไหล

6.       กำหนดหน้าที่ของ ผู้ควบคุมข้อมูล / ผู้ประมวลผลข้อมูล ให้ชัดเจนแน่นหนาขึ้น อาทิ

-          หน้าที่เกิดทันทีเมื่อข้อมูลมา “ผ่าน” การควบคุมของตน หากมีการรั่วไหล ณ จุดใด องค์กรที่ดูแลระบบส่วนนั้นต้องรับผิดชอบทันที ต่างจากระบบเดิมที่บอกว่า ความรับผิดจะเกิดเมื่อ “ข้อมูลรั่วไหลจนสามารถบ่งชี้ย้อนไปได้ว่าข้อมูลเป็นของบุคคลใด” 

-          หน้าที่ในการแจ้งรายละเอียดการเก็บข้อมูลแก่ผู้ทรงสิทธิทันที ไม่ต้องรอให้ผู้ใช้ Opt-In เข้ามาแบบเก่า เช่น Cookies

-          การปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกัน หากในองค์กรเดียวทำทั้งควบคุมข้อมูล ประมวลข้อมูล โดยเฉพาะกรณีมีการส่งข้อมูลภายในองค์กรเดียวข้ามพรมแดน

7.       การเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้รัดกุมขึ้น เช่น สิทธิในการร้องขอให้มีการ Encryption ข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือผู้ให้บริการอาจอ้างต่อหน่วยงานรัฐที่ต้องการสอดส่องว่า จำเป็นต้องรักษาความเป็น “นิรนาม” ของเจ้าของข้อมูล

8.       การส่งต่อข้อมูลข้ามองค์กร/ข้ามพรมแดนถูกควบคุมเข้มงวดขึ้น โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลในการพิจารณาคำร้องขอจากผู้ประมวลผลว่า บุคคลที่สามที่ร้องขอข้อมูลจะมีมาตรการคุ้มครองสิทธิได้ดีตามมาตรฐานหรือไม่ ทั้งในกรณีส่งกันภายในรัฐ ภายในสหภาพยุโรป หรือส่งออกไปนอกสหภาพยุโรป  และอาจตัดสินใจไม่ส่งต่อข้อมูล  

9.       การสร้างระบบตรวจตราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การสถาปนาหน่วยงานตรวจตราการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความชำนาญการ โดยพยายามให้มี Data Protection Authority/Agency ทั้งในระดับรัฐ และส่วนกลางระดับสหภาพยุโรป  (อาจต้องไปดูว่า คณะทำงานเดิม Article 29 Working Party of EU จะย้ายไปผนวกกับหน่วยงานไหน หรือมีสถานะใดต่อไป)

10.   การทำให้มาตรการเยียวยาสิทธิของผู้ทรงสิทธิเป็นรูปธรรม เช่น การขอให้ลบ ขอให้แก้ไข ขอให้รายงานการปรับปรุง รวมไปถึงการเพิ่มโทษปรับต่อผู้ควบคุม/ประมวลข้อมูลสูงถึง 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของผลประกอบการทั่วโลกในปีงบประมาณก่อนหน้า

11.   การเพิ่มช่องทางเยียวยา เช่น ฟ้องที่เดียวบีบผู้ประกอบการที่ให้บริการในหลายรัฐได้ หรือผู้ทรงสิทธิหลายคนที่โดนละเมิดสิทธิจากผู้ให้บริการเดียวกันสามารถร่วมกันฟ้องเป็นคดีร่วมกันได้แบบ Class Action

*สหภาพยุโรปให้เวลารัฐสมาชิก ผู้ประกอบการ ผู้ควบคุม แปรผลข้อมูล ทั้งในสหภาพยุโรปและนอกภูมิภาค ปรับตัวได้ 2 ปี   โดยกฎหมายจะมีผลและนำไปสู่การบังคับผลได้ในชั้นศาลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ