Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Privacy Shield 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการให้หลักประกันแก่ผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการคุ้มครองในเขตอำนาจของทั้งสองฝ่าย และผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียนภายใต้ระบบมาตรฐานนี้   โดยลงนามรับรองระหว่างกันตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2559

2.       สหรัฐเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 มีเวลาปรับตัวจนถึง 25 พฤษภาคม 2561 หาไม่แล้วจะเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะขัดกับ EU General Data Protection Regulation

3.       ข้อตกลง EU-US Privacy Shield จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงของการประกาศใช้ EU General Data Protection Regulation  ข้อตกลงทั้งสองจึงมีภาวะนำในการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมโลก เพราะเป็นกฎหมายของตลาดดิจิตัลโลกเสรีที่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมพลเมืองเน็ตเยอะ

4.       มีการเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลและแจ้งข่าวสาร อาทิ ข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บ ถูกประมวลผล ส่งข้ามแดน ผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนรับรองแล้ว นโยบายของผู้ประกอบการ ช่องทางในการติดต่อผู้ประกอบการ วิธีการร้องเรียนหน่วยงานตรวจสอบเยียวยาสิทธิ

5.       กำหนดข้อจำกัดในการประมวลผลจากข้อมูลให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต และเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในการปฏิเสธการส่งข้อมูลต่อไปยังองค์กรอื่น หรือส่งข้ามแดน หากไม่ตรงกับความยินยอมขั้นต้น   หากผู้ควบคุมประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืนจะต้องรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวด้วย

6.       การกำหนดขอบเขตในการประมวลผลให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และทันสถานการณ์เสมอ  และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปเท่าที่จำเป็น และต้องลบข้อมูลออกเมื่อเกินกว่าความจำเป็นแล้ว

7.       สร้างมาตรการป้องกันภัยพิบัติทั้งจากภัยในเชิงกายภาพ และการล่วงละเมิดบุกรุกคุกคามระบบทุกรูปแบบ และมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงเพื่อระวังภัยล่วงหน้า

8.       ให้สิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ทันสมัย และมีสิทธิในการร้องให้ผู้ประกอบการแก้ไข และผู้ประกอบการต้องแจ้งถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อมูลให้สอดคล้องกับความจริง หากปฏิเสธก็ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย

9.       การจัดตั้งกลไกให้หน้าที่การตรวจตราผู้ประกอบการทั้งหลายที่มาลงทะเบียนปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Data Protection Authority – DPA) ทั้งที่มีในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และที่มีในสหรัฐและมีคณะทำงานร่วมสองฝ่ายในการรับเรื่องเพื่อพิจารณา (Panel)

10.   การสร้างช่องทางเยียวยาให้กับผู้ทรงสิทธิที่ถูกละเมิดหรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขึ้น โดยอาจร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการสิทธิ (Data Protection Ombudsman) หากความเสียหายเกิดจากการละเมิดของหน่วยงานรัฐของสหรัฐ

11.   ออกแบบกระบวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทและเยียวยาความเสียหายทางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2