Skip to main content

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกต้องการคือ การพยายามหยุดยั้งกิจกรรมต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดด้วยซ้ำ   เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้เปิดให้รัฐเข้าไปสืบข้อมูลการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเป็นไปได้จากพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสืบให้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม่ เพื่อบุกเข้าไปควบคุมก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้กระทำการ       

เช่นเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุ่มทุนทั้งหลายที่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคล่วงหน้าเพื่อจะจัดหา “สินค้า/บริการ” ที่ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าเหล่านั้น   และบางกรณีที่บรรษัทมีกิจกรรมทางธุรกิจกระทบกระทั่งกับประชาชน เช่น โรงงานก่อมลพิษ แย่งชิงทรัพยากร ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่อยู่ในฐานไปใช้   แล้วเกรงว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วงจนเสียภาพลักษณ์  บรรษัทก็จะนำยุทธวิธีข่าวกรองเหล่านี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโต้ประชาชนล่วงหน้า เช่นกัน

อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้า จึงเป็นอำนาจในการรู้ “เขา” ก่อนจะทำสงครามทุกรูปแบบ  

อย่างไรก็ดีหากไม่มีมาตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส่องพฤติกรรมของคนทั้งหลายโดยสังคม ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อำนาจมากล้นที่รัฐและบรรษัทมีอยู่จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่บางคน หรือมีไว้เพื่อใช้ประหัตประหารประชาชนที่คิดต่าง คัดค้านโครงการของรัฐ ต่อต้านกิจกรรมของบรรษัท    กล่าวคือ หากผู้มีอำนาจใช้เทคโนโลยีสอดส่องไม่ได้เป็น “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือ ความสัมพันธ์ลับๆของประชาชน มาใช้เป็นเครื่องมือ “แบล็คเมล์” บีบคั้นให้ประชาชนทำอะไรตามที่บงการ หรือไม่

แล้วสังคมอุดมคติที่ต้องการให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการแสดงออกอย่างเสรี หรือเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   หากประชาชนถูกสกัดกั้นไล่ล่าหลังฉากตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงออกมาสู่สาธารณะ   หรือ   ถ้าเกิดคนกล้า ก็จะถูกจับเข้าสู่รายชื่อสอดส่องและสืบข้อมูลทั้งหลายย้อนหลัง เพื่อนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาโจมตี หรือมีการเฝ้าระวังบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลาทุกมิติ  ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต   จนบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าแสดงออกหรือทำกิจกรรมต่างๆอีกต่อไปเพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบรรษัทที่ตนเองต่อต้านได้จับตาความประพฤติของตนอยู่  
                การชักกะเย่อทางอำนาจ ระหว่าง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยู่ที่ใครจะดึงมาให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน   หลังการแฉความลับว่ารัฐล้ำเส้นประชาชนในประวัติศาสตร์หลายครั้ง ประชาชนจะลุกฮือขึ้นปกป้องสิทธิและเรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิโดยรัฐและกลุ่มทุนทั้งหลาย   แต่เมื่อนานไปจนประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะค่อยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆด้วยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐด้วยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก  

โอกาสที่รัฐมองหา ก็คือ การเกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่ประชาชนทั้งหลายรับรู้และเกิดความสะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจให้รัฐเพื่อหวังจะได้รับการปกป้องตอบแทน   เช่น การก่อการร้ายโจมตีผู้บริสุทธิ์ หรืออาชญากรรมร้ายแรง จนประชาชนที่ดูเหตุการณ์ผ่านสื่อก็จะโกรธเกรี้ยว หรือเกรงอันตรายจะมาถึงตัว   เมื่อรัฐยื่นข้อเสนอว่าจะใช้อำนาจจัดการกับ “คนเลว” อย่างเด็ดขาด แต่ขออำนาจกฎหมายใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง หาข้อมูล   ประชาชนก็อาจโผเข้ารับข้อเสนออย่างไม่ทันยั้งคิด เนื่องจากโดนความรู้สึกหวาดกลัว โกรธแค้นเข้าครอบงำ 

จนเวลาผ่านไปเมื่อรัฐและบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจที่ได้มาถูกใช้ไปตามอำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ทรงสิทธิต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมาย    ก็กลายเป็นว่าประชาชนต้องลุกขึ้นมาสู้และล้มล้างกฎหมายที่ตนเคยให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้   การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างสติยั้งคิดในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงเป็น “สงคราม” ที่สำคัญในนิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะสันติ

สหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร บินลาเด็น ด้วยยุทธศาสตร์ข่าวกรอง แทน การรีดเค้าข้อมูลด้วยการทรมาน ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและบรรษัท ได้หยิบมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าการสอดส่องการเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งจำเป็นแทนการใช้กำลังปราบปรามหรือทรมานในคุกลับ (เปลี่ยนบทบาทจาก Big Brother เป็น Big Mama แทน) แล้วผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อฝ่ายความมั่นคงของรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับบรรษัทที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข่าวกรองกับรัฐ  

การกลับมาของฝ่ายความมั่นคงจึงต้องติดตามมิให้คลาดสายตา
                ความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว กับ การให้อำนาจรัฐในการสอดส่องเพื่อป้องกันภัยผ่านเทคโนโลยีของบรรษัท จึงเป็นวาระสำคัญทุกยุคทุกสมัย และสังคมต้อง “จับตามอง” มิให้ดุลย์แห่งอำนาจเคลื่อนย้ายไปจนไม่อาจปกป้องตัวเองให้รอดพ้นภัยจากการคุกคามทั้งใน “ที่ลับ” และ “ที่แจ้ง” 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2