Skip to main content

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกต้องการคือ การพยายามหยุดยั้งกิจกรรมต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดด้วยซ้ำ   เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้เปิดให้รัฐเข้าไปสืบข้อมูลการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเป็นไปได้จากพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสืบให้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม่ เพื่อบุกเข้าไปควบคุมก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้กระทำการ       

เช่นเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุ่มทุนทั้งหลายที่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคล่วงหน้าเพื่อจะจัดหา “สินค้า/บริการ” ที่ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าเหล่านั้น   และบางกรณีที่บรรษัทมีกิจกรรมทางธุรกิจกระทบกระทั่งกับประชาชน เช่น โรงงานก่อมลพิษ แย่งชิงทรัพยากร ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่อยู่ในฐานไปใช้   แล้วเกรงว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วงจนเสียภาพลักษณ์  บรรษัทก็จะนำยุทธวิธีข่าวกรองเหล่านี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโต้ประชาชนล่วงหน้า เช่นกัน

อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้า จึงเป็นอำนาจในการรู้ “เขา” ก่อนจะทำสงครามทุกรูปแบบ  

อย่างไรก็ดีหากไม่มีมาตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส่องพฤติกรรมของคนทั้งหลายโดยสังคม ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อำนาจมากล้นที่รัฐและบรรษัทมีอยู่จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่บางคน หรือมีไว้เพื่อใช้ประหัตประหารประชาชนที่คิดต่าง คัดค้านโครงการของรัฐ ต่อต้านกิจกรรมของบรรษัท    กล่าวคือ หากผู้มีอำนาจใช้เทคโนโลยีสอดส่องไม่ได้เป็น “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือ ความสัมพันธ์ลับๆของประชาชน มาใช้เป็นเครื่องมือ “แบล็คเมล์” บีบคั้นให้ประชาชนทำอะไรตามที่บงการ หรือไม่

แล้วสังคมอุดมคติที่ต้องการให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการแสดงออกอย่างเสรี หรือเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   หากประชาชนถูกสกัดกั้นไล่ล่าหลังฉากตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงออกมาสู่สาธารณะ   หรือ   ถ้าเกิดคนกล้า ก็จะถูกจับเข้าสู่รายชื่อสอดส่องและสืบข้อมูลทั้งหลายย้อนหลัง เพื่อนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาโจมตี หรือมีการเฝ้าระวังบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลาทุกมิติ  ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต   จนบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าแสดงออกหรือทำกิจกรรมต่างๆอีกต่อไปเพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบรรษัทที่ตนเองต่อต้านได้จับตาความประพฤติของตนอยู่  
                การชักกะเย่อทางอำนาจ ระหว่าง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยู่ที่ใครจะดึงมาให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน   หลังการแฉความลับว่ารัฐล้ำเส้นประชาชนในประวัติศาสตร์หลายครั้ง ประชาชนจะลุกฮือขึ้นปกป้องสิทธิและเรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิโดยรัฐและกลุ่มทุนทั้งหลาย   แต่เมื่อนานไปจนประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะค่อยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆด้วยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐด้วยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก  

โอกาสที่รัฐมองหา ก็คือ การเกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่ประชาชนทั้งหลายรับรู้และเกิดความสะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจให้รัฐเพื่อหวังจะได้รับการปกป้องตอบแทน   เช่น การก่อการร้ายโจมตีผู้บริสุทธิ์ หรืออาชญากรรมร้ายแรง จนประชาชนที่ดูเหตุการณ์ผ่านสื่อก็จะโกรธเกรี้ยว หรือเกรงอันตรายจะมาถึงตัว   เมื่อรัฐยื่นข้อเสนอว่าจะใช้อำนาจจัดการกับ “คนเลว” อย่างเด็ดขาด แต่ขออำนาจกฎหมายใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง หาข้อมูล   ประชาชนก็อาจโผเข้ารับข้อเสนออย่างไม่ทันยั้งคิด เนื่องจากโดนความรู้สึกหวาดกลัว โกรธแค้นเข้าครอบงำ 

จนเวลาผ่านไปเมื่อรัฐและบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจที่ได้มาถูกใช้ไปตามอำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ทรงสิทธิต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมาย    ก็กลายเป็นว่าประชาชนต้องลุกขึ้นมาสู้และล้มล้างกฎหมายที่ตนเคยให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้   การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างสติยั้งคิดในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงเป็น “สงคราม” ที่สำคัญในนิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะสันติ

สหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร บินลาเด็น ด้วยยุทธศาสตร์ข่าวกรอง แทน การรีดเค้าข้อมูลด้วยการทรมาน ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและบรรษัท ได้หยิบมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าการสอดส่องการเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งจำเป็นแทนการใช้กำลังปราบปรามหรือทรมานในคุกลับ (เปลี่ยนบทบาทจาก Big Brother เป็น Big Mama แทน) แล้วผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อฝ่ายความมั่นคงของรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับบรรษัทที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข่าวกรองกับรัฐ  

การกลับมาของฝ่ายความมั่นคงจึงต้องติดตามมิให้คลาดสายตา
                ความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว กับ การให้อำนาจรัฐในการสอดส่องเพื่อป้องกันภัยผ่านเทคโนโลยีของบรรษัท จึงเป็นวาระสำคัญทุกยุคทุกสมัย และสังคมต้อง “จับตามอง” มิให้ดุลย์แห่งอำนาจเคลื่อนย้ายไปจนไม่อาจปกป้องตัวเองให้รอดพ้นภัยจากการคุกคามทั้งใน “ที่ลับ” และ “ที่แจ้ง” 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ