Skip to main content

จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา

              แต่สิ่งน่าสังเกต คือ เหตุใด ฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่รู้ล่วงหน้าว่า จะมีแผนก่อวินาศกรรมขึ้น กลับไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่มีแผนปฏิบัติการใดๆในการควบคุมสถานการณ์   หลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า   นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการหวนคืนสู่อำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั่วโลก    หลังจากหมดความสำคัญลงไปเมื่อสงครามเย็นและกำแพงแห่งความหวาดกลัวสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษ 1990

                จุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสีย เกิดขึ้นนับแต่ การประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเต็มรูปแบบของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทั้งในและนอกนาโต้   การทำสงครามระหว่างประเทศรุกรานโดยไม่ขอมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถาน อิรัก ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการโจมตีไม่จำกัดขอบเขต การทำลายบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน   แล้วส่งโครงการฟื้นฟูเข้าไปโดยแลกกลับการใช้น้ำมันของสองประเทศเป็นค่าใช้จ่าย 

                แต่ความสูญเสียที่กระทบกับพวกเราทุกคนทั่วโลก คือ การสร้างระบอบอำนาจทหารให้เข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหลังการพัฒนาความแข็งแกร่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั่วโลก   กองทัพและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกฉวยใช้ ความหวาดกลัวต่อภัยก่อการร้ายมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยี อาวุธ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นมูลค่ามหาศาล

                ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐแก่ฝ่ายบริหาร เพื่ออ้างความมั่นคงเข้าไปตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง หรือติดตามสืบสวนบุคคล โดยไม่ต้องขออำนาจศาลก็เพิ่มขึ้น  ดังปรากฏกฎหมายความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกฎหมายข่าวกรองระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ  

                ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ข้ออ้างในการจัดการภัยก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อออก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548   ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตามการร้องขอและผลักดันของกองทัพในช่วงที่เป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 นั่นเอง 

                การใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ รวมไปถึง กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลทหารและพลเรือนในการใช้ควบคุมประชาชนที่เห็นต่าง คัดค้านรัฐบาลเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม รวมไปถึงให้อำนาจ “สืบในทางลับ” และนำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดีโดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าเนื้อหาในกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมี พระราชบัญญัติอนุวัติการให้มีผลบังคับใช้ในศาลไทยอยู่   แต่แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ยอมตามอำนาจรัฐและฝ่ายความมั่นคง  มากกว่า การประกันสิทธิของประชาชน

                คนจำนวนมากไม่สนใจ ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ “คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวอะไร”   แต่คนหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า   แม้ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำอะไรไม่เป็นที่สบายใจของผู้มีอำนาจก็อาจต้องโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงได้ เช่น ไม่ไปรายงานตัวเมื่อโดนเรียก   หรือ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด   หรือ ยืนชูสามนิ้วในที่สาธารณะ  เรื่อยไปจนถึงการตั้งรางวัลนำจับให้ พลเมืองดีจับตาดูผู้ที่เป็นภัยต่อชาติในอินเตอร์เน็ต

                หากท่านยังคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่อง “ปกติ” และ “ยอมรับได้”   นั่นหมายความว่า ท่านได้เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเช่นกัน   เพราะวันหนึ่งท่านอาจเป็นฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจได้เช่นกัน   เมื่อวันเวลาของขั้วอำนาจเปลี่ยนไป

                ในฐานะประชาชนทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก   ภัยที่ชัดเจนและมาพร้อมยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การคุกคามความเป็นส่วนตัว ด้วยเทคโนโลยีติดตาม ตรวจดักข้อมูล และการเฝ้าระวัง (Surveillance Technology) โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ NSA – Eric Snowdens ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ข้อมูลที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ เป็นความลับของเรา การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นปลอดภัย อยู่ในการดูแลของบริษัทผู้บริการ นั้นไม่เป็นความจริงเสมอไป   ทำให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วโลก แต่อาจไม่ใช่ประเทศไทย

                หากเพราะเราอาจคุ้นชินกันไปแล้วกับการถูกรุกรานเข้ามาในชีวิตส่วนตัว รวมถึงการฝังหัวว่าสิ่งสำคัญสูงสุดมิใช่ ความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาค มีเสรีภาพในคิดเห็น และแสดงออกตามความคิดความเชื่อของตน   โดยที่ไม่ถูก “จับตา” ควบคุมสอดส่องให้แสดงความเห็นอยู่ในร่องที่รัฐเผด็จการขีดวางไว้

                การควบคุมไปจนถึงการกำหนดว่า “ความสุข” แบบใดที่รัฐมอบให้และประชาชนต้องอภิรมย์ แทนที่ความสุขทั่วไปที่ประชาชนเลือกชมได้ ถือเป็นการพยายามกลืนกลายประชาชนให้กลายเป็นก้อนกลมเดียวกัน   ไม่เหลือความคิดสร้างสรรค์อื่นใดให้พัฒนาตนเอง และสังคมไปในทิศทางที่ รัฐไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และหวาดระแวง

                ความเป็นส่วนตัว ในการคิดและการแสดงออกโดยปราศจากการจับจ้อง จึงเป็น “รากฐาน” ขั้นต่ำสุดของสังคมที่ต้องการความก้าวหน้าแบบไม่ต้องมีใครมาชักนำพาจูงจมูก

                หากมองย้อนกลับไปคงได้เห็นแล้วว่า เหตุการณ์ 9/11 ที่เกิดขึ้นในปี 2001 ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร และสังคมต้นทางอย่างสหรัฐได้ตื่นรู้ และประชาชนอเมริกันได้ลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านการครอบงำของฝ่ายความมั่นคงอย่างไรบ้าง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา