Skip to main content

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ

หากจะจับตามหาอำนาจสหรัฐ ประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนนั้น เรื่อง การสอดส่องจารกรรมข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐในอินเตอร์เน็ต (State Surveillance and Espionage on Internet Activities) มาแรง

                หากถามว่าทำไมเราต้องติดตามข่าวจับจ้องใคร/ประเทศใด คงไม่ใช่ว่าเราอยากรู้เพียงสิ่งที่เขาได้ทำไปแล้ว หรืออดีตเท่านั้น แต่มันเป็นการมองเพื่อคาดเดาอนาคต เหมือนที่เราชอบคิดว่า

“ถ้ารู้ว่ามันจะออกมาแบบนี้ ฉันจะ.....ไปแล้ว”

                ประเทศมหาอำนาจจึงทุ่มเททรัพยากร และลงทุนในอุตสาหกรรมที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างอินเตอร์เน็ต ดังปรากฏอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันเปิดเผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ ร่วมมือกับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต/แอฟพลิเคชั่น ดักข้อมูลประชาชนทั่วโลกอย่างกว้างขวางเพื่อสอดส่องหาอาชญากรและผู้ก่อการร้ายในลักษณะ “เหวี่ยงแห” จนไปละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน “ผู้บริสุทธิ์” ทั่วโลก

                ศาสตร์แห่งการทำนายพฤติกรรมบนโลกออนไลน์เป็นส่วนผสมระหว่าง การให้บริการของผู้ประกอบการเสมือนฟรี บวกกับ การทำให้คนจำนวนมากมาใช้ชีวิตบนอินเตอร์เน็ต

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยนั้น กว่าครึ่งของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทยออนไลน์ทุกวัน และยิ่งใช้มากขึ้นเมื่อประชากรไทยใช้สมาร์ทโฟนเพิ่ม และอินเทอร์เน็ตเริ่มแย่งชิงความสนใจไปจากการดูทีวี  การบริโภคสื่อดิจิตอลของคนไทยจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีการคาดไว้ เนื่องจากปัจจัยและความสะดวกต่างๆ ที่เอื้อต่อการ “ใช้ชีวิตออนไลน์” ที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

การทำนายชีวิตคน จึงต้องอาศัย ข้อมูลส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ต มากขึ้นเรื่อยๆ

คำถามสำคัญมาก คือ ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นของใคร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นมีสิทธิในการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้ หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแอฟพลิเคชั่นเป็นเจ้าของข้อมูล มีอำนาจควบคุม โอนถ่ายข้อมูล ประมวลผล ซื้อขายข้อมูลเหล่านั้นเสมือนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือข้อมูลเด็ดขาดไปเลยหรือยัง

เงื่อนไขในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตและบริการของแอฟพลิเคชั่นต่างๆ มีสถานะเป็นสัญญา มอบอำนาจในข้อมูลส่วนบุคคลไปให้เป็น “ทรัพย์สิน” ของบรรษัทผู้ให้บริการแล้วหรือไม่   หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเป็น “สิทธิมนุษยชน” ติดตัวผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเสมอ

ระบบสัญญาที่ผู้ให้บริการฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน มักมีลักษณะเป็น “สัญญาสำเร็จรูป” ผู้ใช้บริการจำต้องตอบตกลงก่อนที่จะได้ใช้บริการ เราจึงมักต้องติ้กรับเงื่อนไขไปอย่างเสียมิได้ หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านอะไรเลยด้วยซ้ำ

การบังคับให้ตกลงจึงมีลักษณะเป็นการด้อยอำนาจของฝ่ายผู้บริโภคในการเข้ารับบริการ หากมองในแง่การเข้าทำสัญญา นี่ไม่ใช่เสรีภาพในการเข้าทำสัญญาโดยคู่สัญญามีสถานะปราศจากการบังคับ

สิทธิมนุษยชนด้านเทคโนโลยีมีเรื่อง สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีและได้ใช้สอยความก้าวหน้าทางวิทยาการเพื่อความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ  ซึ่งบางท่านบอกว่าไปกันใหญ่แล้ว  ถ้ากลัวนักก็อย่าใช้ ไม่ได้มีใครบังคับ        ลองถามใจตัวเองดูว่าใครคือคนที่บังคับให้เราใช้ ถ้าไม่ใช่เพื่อน ญาติพี่น้อง คนรัก เจ้านาย ลุกน้อง ที่ล้วนต้องติดต่อสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ตและแอฟพลิเคนสื่อสารชั่นทั้งหลาย   หรือเราจะย้อนกลับไปสู่ยุคที่ต้องเดินไปพบหน้าคุยกัน

ผู้ที่เดือดร้อนตัวจริงหากประชาชนไม่กล้าใช้บริการ ก็คือ ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างหาก เพราะในตลาดที่มีการแข่งขัน ผู้บริโภคอาจเลือกไปใช้บริการจากยี่ห้ออื่น ซึ่งประกันความมั่นใจให้ได้มากกว่า   การรักษาความลับให้ลูกค้าจึงเป็นเสมือนเครื่องหมายการค้าที่บริษัทห้างร้านทั้งหลายต้องปกป้องไว้เท่ากับความลับของตัวเอง

ข้อมูลเหล่านี้มักมีเรื่อง “อ่อนไหว” มิควรเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล  เช่นเดียวกับ พวกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยจัดเก็บโดยสถานพยาบาล และลูกศิษย์ที่สถานศึกษาเก็บไว้  และยังรวมไปถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจเก็บไว้อีกจำนวนมาก

ดังปรากฏกรณีแฮคเกอร์ประกาศชัยชนะเหนือหน่วยงานของรัฐ ด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลอ่อนไหวสามารถนำไปแบล็คเมล์ได้

นี่ยังไม่นับธุรกิจขายตรงหรือประกันฯ ที่พยายามเจาะข้อมูลเหล่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ทางการตลาดแบบมุ่งเป้าหมายรายบุคคลอีกด้วย

ปัจจุบันประชาคมโลก มีการปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขนานใหญ่เลย เริ่มตั้งแต่สหภาพยุโรปออกกฎหมายหลักในการคุ้มสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล และมีการวางกรอบกลไกตรวจสอบหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้เคารพสิทธิมนุษยชน   โดยได้ขยายการคุ้มครองออกไปด้วยการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาและจะขยายไปยังกลุ่มประเทศเครือจักรภพอีกด้วย   นั่นคือ ประเทศที่อยู่ในระบบตลาดเสรีมีประชาธิปไตย รับรองเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานในทางเศรษฐกิจดิจิตอลหมดแล้ว  

พลเมืองเน็ตของประเทศเหล่านั้นยังปกป้องสิทธิตัวเองได้ตั้งแต่เริ่มใช้บริการ โดยการออกแบบสัญญาเข้าใช้ร่วมกับผู้ให้บริการตั้งแต่ต้น

ส่วนไทย ยังไม่มีแม้แต่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ  แต่ต้องระวังการออกกฎหมายใหม่ให้เจ้าหน้าที่ล้วงตับดักข้อมูลส่วนบุคคลไป โดยอาศัยข้ออ้างด้านความมั่นคง ไว้ด้วยก็แล้วกันครับ  ไม่งั้นรัฐบาลไทย ก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลประเทศมหาอำนาจที่มีปฏิบัติการด้านความมั่นคงละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านนโยบายกฎหมาย นั่นเอง

ฤารัฐบาลไทยจะหันหัวเรือเศรษฐกิจดิจิตอลไปประเทศมหาอำนาจอีกขั้วอย่าง จีน และรัสเซีย โดยไม่สนใจอนาคตในกลุ่มตลาดเศรษฐกิจดิจิตอลเสรีประชาธิปไตย ซึ่งโตเต็มที่แล้ว

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2