Skip to main content

ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค   หากใช้ปรัชญา Slow Life เป็นวิถีชีวิต ก็ต้องลดเวลาในการ กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ เพื่อเพิ่มเวลาในการ “ผลิต” และ “บริโภค”     นั่นคือ Slow Life and High Quality

บทความนี้ของพูดถึง การเมืองเรื่องกินอยู่ (Political Economy of Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จริงจังมากในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก “คุณภาพชีวิต” คือ เป้าหมายของพลเมืองที่ได้รับประกันสิทธิพลเมืองและการเมืองแล้ว มีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง   การเมืองของสังคมเหล่านั้นจึงเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) การผลิตในเรื่องอาหารนั้นเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงดูสัตว์แบบ “ออร์แกนิค” หรือใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนส์ หรือเร่งการเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” (You are what you eat) ซึ่งผู้ประกอบการหรือรัฐไทย คงจะเห็นอยู่แล้วว่า สินค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรแบบอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวที่นับวันจะมีคู่แข่งแย่งตลาดมากขึ้น  

การผลิตแบบ “ช้า” แต่มากด้วย “คุณค่า” ทั้งเชิงคุณภาพและ “ความรู้สึก” จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้น ในการวางยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อคิดในมุมผู้บริโภคในประเทศอย่างคนไทยที่ต้องการชีวิตที่คุณภาพ การผลิตหมายรวมถึงการ “ปรุงอาหาร” ด้วย เนื่องจากกระแสรักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็กำลังมาเช่นกัน และแนวโน้มการมีอายุยืนนานขึ้นก็ชัดเจน

คำถามคือ เราจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับ การปรุงอาหาร และการบริโภคได้อย่างไร

หากบ้านไกลจากตลาด ไม่มีรถ แต่ต้องการทำกับข้าวกินเอง จะให้เดิน/ปั่นซื้อวัตถุดิบ จะเหลือเวลาปรุงและกินแค่ไหน แล้วเวลาที่เหลือไปทำงานล่ะ?                        ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่ Slow Life เกิดขึ้นได้ในยุโรป

เราต้องตัดทางเลือกแบบ ผู้บริโภคมีคอกฟาร์มเป็นของตัวเอง ผลิตทุกอย่างได้เอง แปรรูป และปรุงได้เองเบ็ดเสร็จ เพราะผู้อ่านแทบทุกคนคงทำไม่ได้

เมือง คือ รูปแบบที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับ Slow Life เพราะทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่ต้องครอบครองปัจจัยการผลิตจำนวนมาก

แม้จะดูย้อนแย้ง เพราะคนจะนึกถึงเมืองด้วยภาพ ความแออัด ความเร็ว และการแย่งชิง   แต่เรากำลังพูดถึง ความเป็นเมืองศิวิไลซ์ นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน กติกา มารยาท และกลไกในการบริหาร เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตคนเมือง

เมือง สามารถลดเวลาในการ กระจายสินค้าจากฟาร์มสู่ตลาด จากผู้แปรรูปสู่มือผู้ปรุง/บริโภค ด้วยระบบบริการสารธารณะ ขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐาน   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ การแลกเปลี่ยนผ่านเครื่องมือสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำลง

ความแตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คือ ในประเทศพัฒนาแล้วแม้อยู่ที่ไหน “ความสิวิไลซ์” ก็เข้าไปเชื่อมต่อดูแลชีวิต คนทุกพื้นที่เข้าถึงบริการสาธารณะและการขนส่ง/สื่อสารได้  

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา “ความเจริญ” มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และศูนย์กลางของเมืองเป็นหลัก   การพยามครอบครอง “พาหนะ” ส่วนตัวจึงเกิดขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ยิ่งเวลาผ่านไปสภาพการจราจรยิ่งเลวร้ายลง การใช้พลังงานมากขึ้น มลภาวะท่วมท้น และความเครียดเค้นจนสุดทน

กระแสการแสวงหาวิถีชีวิต “เชื่องช้า” และมองหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ การบริโภคสินค้าออร์แกนิค จึงเกิดขึ้นมาคลายความตึงเครียดเหล่านั้น เสมือนการ “เปิดวาล์ว” ผ่อนแรงบีบอัด

หากไม่มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ก็จะได้เห็นภาพคู่ขนาน คือ เวลาทำงานรีบเร่ง แล้วแห่กันไปแย่งกันกินกันเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุด หรือ แย่งชิงเคร่งเครียดในยามทำงาน แล้วปล่อยวางทุกสิ่งในเวลาว่าง   ก็ต้องมองผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจ

มีเมืองอีกจำนวนมากในโลกที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมได้ ไปพร้อมกับ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเปี่ยมสุข นั่นคือ การเฉลี่ยความสะดวก ให้ทุกคนเข้าถึงความสบาย และมีความวางใจในอนาคต  ทำให้คนรุ่นใหม่มีเวลาแสวงหาความถนัดและใช้เวลาพัฒนาศักยภาพตนเองไปตามพรสวรรค์ได้

ประเทศไทย ที่มาถึงทางตันในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักแล้ว ย่อมต้องรู้จักปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการที่ประณีตขึ้น

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ก็ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยยอมรับจุดอ่อนในอุตสาหกรรมหนัก แล้วขับเน้นจุดแข็งของตัวเอง โดยสร้างเมืองที่รองรับวิถีชีวิตเชื่องช้า ละเมียดสุข เพื่อดึงดูดคนจากทั่วสารทิศให้มากินมาใช้ มีชีวิตอยู่ในเมืองของตนให้ยาวนาน  และให้คนที่แก่ตัวไปยังคงสามารถใช้ชีวิตต่อไปในเมืองแม้ถึงวัยเกษียณ

การสร้างเมืองศิวิไลซ์ไว้รองรับ สังคมสูงอายุ และ คนวัยทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตละเมียดขึ้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

ปีใหม่นี้ รัฐบาลอาจต้องเริ่มเฉลี่ยสุข สร้างหลักประกันในอนาคต ให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย ด้วยการลงทุนบนฐานความคิดที่สอดคล้องกับทุนที่ประเทศไทยมี โดยเริ่มรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดโครงสร้างขนส่ง/สื่อสารขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว