Skip to main content

ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค   หากใช้ปรัชญา Slow Life เป็นวิถีชีวิต ก็ต้องลดเวลาในการ กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ เพื่อเพิ่มเวลาในการ “ผลิต” และ “บริโภค”     นั่นคือ Slow Life and High Quality

บทความนี้ของพูดถึง การเมืองเรื่องกินอยู่ (Political Economy of Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จริงจังมากในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก “คุณภาพชีวิต” คือ เป้าหมายของพลเมืองที่ได้รับประกันสิทธิพลเมืองและการเมืองแล้ว มีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง   การเมืองของสังคมเหล่านั้นจึงเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) การผลิตในเรื่องอาหารนั้นเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงดูสัตว์แบบ “ออร์แกนิค” หรือใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนส์ หรือเร่งการเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” (You are what you eat) ซึ่งผู้ประกอบการหรือรัฐไทย คงจะเห็นอยู่แล้วว่า สินค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรแบบอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวที่นับวันจะมีคู่แข่งแย่งตลาดมากขึ้น  

การผลิตแบบ “ช้า” แต่มากด้วย “คุณค่า” ทั้งเชิงคุณภาพและ “ความรู้สึก” จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้น ในการวางยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อคิดในมุมผู้บริโภคในประเทศอย่างคนไทยที่ต้องการชีวิตที่คุณภาพ การผลิตหมายรวมถึงการ “ปรุงอาหาร” ด้วย เนื่องจากกระแสรักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็กำลังมาเช่นกัน และแนวโน้มการมีอายุยืนนานขึ้นก็ชัดเจน

คำถามคือ เราจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับ การปรุงอาหาร และการบริโภคได้อย่างไร

หากบ้านไกลจากตลาด ไม่มีรถ แต่ต้องการทำกับข้าวกินเอง จะให้เดิน/ปั่นซื้อวัตถุดิบ จะเหลือเวลาปรุงและกินแค่ไหน แล้วเวลาที่เหลือไปทำงานล่ะ?                        ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่ Slow Life เกิดขึ้นได้ในยุโรป

เราต้องตัดทางเลือกแบบ ผู้บริโภคมีคอกฟาร์มเป็นของตัวเอง ผลิตทุกอย่างได้เอง แปรรูป และปรุงได้เองเบ็ดเสร็จ เพราะผู้อ่านแทบทุกคนคงทำไม่ได้

เมือง คือ รูปแบบที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับ Slow Life เพราะทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่ต้องครอบครองปัจจัยการผลิตจำนวนมาก

แม้จะดูย้อนแย้ง เพราะคนจะนึกถึงเมืองด้วยภาพ ความแออัด ความเร็ว และการแย่งชิง   แต่เรากำลังพูดถึง ความเป็นเมืองศิวิไลซ์ นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน กติกา มารยาท และกลไกในการบริหาร เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตคนเมือง

เมือง สามารถลดเวลาในการ กระจายสินค้าจากฟาร์มสู่ตลาด จากผู้แปรรูปสู่มือผู้ปรุง/บริโภค ด้วยระบบบริการสารธารณะ ขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐาน   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ การแลกเปลี่ยนผ่านเครื่องมือสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำลง

ความแตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คือ ในประเทศพัฒนาแล้วแม้อยู่ที่ไหน “ความสิวิไลซ์” ก็เข้าไปเชื่อมต่อดูแลชีวิต คนทุกพื้นที่เข้าถึงบริการสาธารณะและการขนส่ง/สื่อสารได้  

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา “ความเจริญ” มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และศูนย์กลางของเมืองเป็นหลัก   การพยามครอบครอง “พาหนะ” ส่วนตัวจึงเกิดขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ยิ่งเวลาผ่านไปสภาพการจราจรยิ่งเลวร้ายลง การใช้พลังงานมากขึ้น มลภาวะท่วมท้น และความเครียดเค้นจนสุดทน

กระแสการแสวงหาวิถีชีวิต “เชื่องช้า” และมองหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ การบริโภคสินค้าออร์แกนิค จึงเกิดขึ้นมาคลายความตึงเครียดเหล่านั้น เสมือนการ “เปิดวาล์ว” ผ่อนแรงบีบอัด

หากไม่มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ก็จะได้เห็นภาพคู่ขนาน คือ เวลาทำงานรีบเร่ง แล้วแห่กันไปแย่งกันกินกันเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุด หรือ แย่งชิงเคร่งเครียดในยามทำงาน แล้วปล่อยวางทุกสิ่งในเวลาว่าง   ก็ต้องมองผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจ

มีเมืองอีกจำนวนมากในโลกที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมได้ ไปพร้อมกับ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเปี่ยมสุข นั่นคือ การเฉลี่ยความสะดวก ให้ทุกคนเข้าถึงความสบาย และมีความวางใจในอนาคต  ทำให้คนรุ่นใหม่มีเวลาแสวงหาความถนัดและใช้เวลาพัฒนาศักยภาพตนเองไปตามพรสวรรค์ได้

ประเทศไทย ที่มาถึงทางตันในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักแล้ว ย่อมต้องรู้จักปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการที่ประณีตขึ้น

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ก็ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยยอมรับจุดอ่อนในอุตสาหกรรมหนัก แล้วขับเน้นจุดแข็งของตัวเอง โดยสร้างเมืองที่รองรับวิถีชีวิตเชื่องช้า ละเมียดสุข เพื่อดึงดูดคนจากทั่วสารทิศให้มากินมาใช้ มีชีวิตอยู่ในเมืองของตนให้ยาวนาน  และให้คนที่แก่ตัวไปยังคงสามารถใช้ชีวิตต่อไปในเมืองแม้ถึงวัยเกษียณ

การสร้างเมืองศิวิไลซ์ไว้รองรับ สังคมสูงอายุ และ คนวัยทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตละเมียดขึ้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

ปีใหม่นี้ รัฐบาลอาจต้องเริ่มเฉลี่ยสุข สร้างหลักประกันในอนาคต ให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย ด้วยการลงทุนบนฐานความคิดที่สอดคล้องกับทุนที่ประเทศไทยมี โดยเริ่มรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดโครงสร้างขนส่ง/สื่อสารขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2