Skip to main content

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง

บทความนี้มิได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” หรือมุ่งทำลายโจมตีไสยศาสตร์ แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่า ทำไมไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับสังคมไทย และยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น เชื่อมโยงกับโลกโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางไสยศาสตร์กลับเพิ่มตาม แถมยังมีสินค้าและบริการต่างๆออกมาให้เห็นตามกระแสอยู่มากมาย

การแปะป้ายว่าคนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ล้าหลัง ไม่ทันโลก น่าจะไม่ถูก เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เสียเงินไปกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปจนถึงจ้างผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อชี้นำในเรื่องต่างๆ อยู่เนืองๆ รวมไปถึงเรื่อง “ขอฤกษ์ทำรัฐประหาร” หรือแม้กระทั่ง “เลขมงคลจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “ลูกเทพ”

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์มีแนวโน้ม “เอาทุกทาง” มากกว่าหมกมุ่นกับสายไสยอย่างเดียว  เช่น ถ้าทำธุรกิจก็ดูทีวีอ่านหนังสือฟังกูรูทั้งหลาย พ่วงไปกับการลงเรียนหลักสูตรต่างๆเพื่อหาเส้นสาย ไปปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทางศาสนา เรื่อยมาถึงบูชาเครื่องรางของขลัง หรือเข้าลัทธิพิธีของสำนักต่างๆ ฯลฯ

อะไรทำให้คนไทยยังต้องใช้ไสยศาสตร์เป็นที่พึ่ง มิใช่แค่ที่ยึดเหนี่ยวทางใจ       หลายคนคิดว่าเป็น “หลักประกัน” กล่าวคือ ในประเทศไทยนี้ หากวันดีคืนดีเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจฝืดเคืองตกงาน เกิดเรื่องซวยๆขึ้นกับชีวิต  คนคนหนึ่งล้มทั้งยืนเป็นหนี้เป็นสินได้ทันที เพราะรัฐไทยมิได้สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานในชีวิตมากนัก

แม้ด้านสุขภาพจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีข้อกังขาในเรื่องความสะดวกรวดเร็วและคุณภาพอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่แทบไม่มีเบาะรองรับเลย คือ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

มองภาคเกษตรกรรมจะเห็นว่า เราไม่มีระบบประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ที่เคยเพาะพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารกันเอง ยังต้องผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ เกษตรกรแบบรับความเสี่ยงแทนผ่านระบบ “เกษตรพันธสัญญา”   ก็ด้วยดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดไม่เข้าใครออกใคร

ประเพณีจำนวนมากของชุมชนเกษตรกรรมจึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทพยาดาฟ้าดิน เจ้าพ่อเจ้าแม่ ดลบันดาลดินฟ้าอากาศและยับยั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาดแทนให้   การด่าเกษตรกรจึงอาจผิดเป้าหมาย การพยายามหา วิธีรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ คาดเดาได้ วางแผนรับสถานการณ์ได้ น่าจะทำให้กิจกรรมทางไสยศาสตร์หายไป แล้ววิทยาศาสตร์เข้ามาแทน ...แต่ ก็ไม่มีนั่นเอง

เมื่อมองเข้ามาในภาคบริการและพาณิชยกรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากก็ยังไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บูชาเกจิอาจารย์ หรือหาเครื่องรางของขลังจากสายต่างๆ มาเสริมดวงหนุนโชค หรือจ้างซินแสจัดฮวงจุ้ยร้านค้า/ที่พัก แข่งกันดูดเงินดูดทองเข้าตัว แล้วไม่รู้ว่าคนที่มัวพัฒนาสินค้าและการบริการจะสู้ได้หรือไม่ถ้าไม่ใช้พลังภายในแบบนี้สู้

แม้กระทั่งบรรษัทใหญ่หรือไปจนถึงการพิจารณาโหงวเฮ้งและธาตุ พื้นฐานดวง ก่อนที่จะรับคนเข้าทำงาน  เรื่อยไปถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็ยังต้องดูฤกษ์ยามการเดินสายผลิต หรือเจิมเครื่องจักรกลกันให้เห็นเป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับความรู้สึก “ไม่วางใจ” ของคนในภาคธุรกิจ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะไม่อาจคาดเดาอะไรได้ เนื่องจากเราอยู่ในรัฐทุนนิยมที่กำหมายไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “กติกาของการแข่งขัน”  แต่กลับมีพลังลึกลับหลายอย่าง “อุ้ม” เอาคู้แข่งหลายรายหายไปในตลาด หรือบางโอกาสก็มีคนขายตัดราคาได้เพราะว่าเอาเงิน “ดำๆมืดๆ” มาฟอกผ่านธุรกิจให้กลายเป็นเงินสะอาดจนมิอาจสู้ราคาแข่งขันได้

เมื่อมาดูภาพใหญ่สุดระดับประเทศ เราคงคุ้นกันดีว่าประเทศไทยอาจก้าวหน้าไปแล้วก็อาจจะสะดุดหยุดอยู่หรือไหลย้อนกลับ ด้วยเหตุที่มีการตัดสลับโดยอำนาจ “นอกกฎหมาย” 

กฎหมายไม่ได้มีความหมายอะไรสลักสำคัญ มันเป็นเพียง “กติกา” ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคาดเดาได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร รัฐส่งเสริมอะไร ห้ามอะไร ให้แข่งกันยังไง สินค้าแบบไหนผลิตออกมาขายได้ หรือบริการแบบไหนห้ามนำเสนอสู่ตลาด   เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในสายตาของรัฐหรือผู้มีอำนาจจะต้องเคารพยึดถือปฏิบัติ ระดับล่างลงไปก็ไม่ทำตาม

การวิ่งเต้นหาเส้นไล่สาย จึงกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทย กลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิด “เจ้าพ่อ” “เจ้าแม่” หลายรายที่กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชีวิตและลมหายใจ ต้องเซ่นไหว้ด้วยอะไรก็แล้วแต่เจ้าสำนักกำหนด   ดีลใหญ่ทางธุรกิจหรือความขัดแย้งทางธุรกิจจึงปัดเป่าด้วยกำลังภายใน มากกว่า “การระงับข้อพิพาทด้วยกฎหมาย” ที่อาจคาดเดาผลได้ชัดเจนตามตัวบทบัญญัติ แต่อาจจะขัดกับผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้ง

ยิ่งมีพลังนอกกฎหมาย ไร้กติกามากเท่าไหร่ ความไม่แน่นอนในจิตใจของ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ยิ่งเพิ่มทวีคูณ จนต้องพยายามแสวงหาทุกวิถีทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง

หากคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องกำจัดต้นตอของความเสี่ยง นั่นคือ “พลังนอกกฎหมาย”

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต