Skip to main content

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง

บทความนี้มิได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” หรือมุ่งทำลายโจมตีไสยศาสตร์ แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่า ทำไมไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับสังคมไทย และยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น เชื่อมโยงกับโลกโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางไสยศาสตร์กลับเพิ่มตาม แถมยังมีสินค้าและบริการต่างๆออกมาให้เห็นตามกระแสอยู่มากมาย

การแปะป้ายว่าคนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ล้าหลัง ไม่ทันโลก น่าจะไม่ถูก เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เสียเงินไปกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปจนถึงจ้างผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อชี้นำในเรื่องต่างๆ อยู่เนืองๆ รวมไปถึงเรื่อง “ขอฤกษ์ทำรัฐประหาร” หรือแม้กระทั่ง “เลขมงคลจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “ลูกเทพ”

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์มีแนวโน้ม “เอาทุกทาง” มากกว่าหมกมุ่นกับสายไสยอย่างเดียว  เช่น ถ้าทำธุรกิจก็ดูทีวีอ่านหนังสือฟังกูรูทั้งหลาย พ่วงไปกับการลงเรียนหลักสูตรต่างๆเพื่อหาเส้นสาย ไปปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทางศาสนา เรื่อยมาถึงบูชาเครื่องรางของขลัง หรือเข้าลัทธิพิธีของสำนักต่างๆ ฯลฯ

อะไรทำให้คนไทยยังต้องใช้ไสยศาสตร์เป็นที่พึ่ง มิใช่แค่ที่ยึดเหนี่ยวทางใจ       หลายคนคิดว่าเป็น “หลักประกัน” กล่าวคือ ในประเทศไทยนี้ หากวันดีคืนดีเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจฝืดเคืองตกงาน เกิดเรื่องซวยๆขึ้นกับชีวิต  คนคนหนึ่งล้มทั้งยืนเป็นหนี้เป็นสินได้ทันที เพราะรัฐไทยมิได้สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานในชีวิตมากนัก

แม้ด้านสุขภาพจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีข้อกังขาในเรื่องความสะดวกรวดเร็วและคุณภาพอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่แทบไม่มีเบาะรองรับเลย คือ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

มองภาคเกษตรกรรมจะเห็นว่า เราไม่มีระบบประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ที่เคยเพาะพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารกันเอง ยังต้องผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ เกษตรกรแบบรับความเสี่ยงแทนผ่านระบบ “เกษตรพันธสัญญา”   ก็ด้วยดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดไม่เข้าใครออกใคร

ประเพณีจำนวนมากของชุมชนเกษตรกรรมจึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทพยาดาฟ้าดิน เจ้าพ่อเจ้าแม่ ดลบันดาลดินฟ้าอากาศและยับยั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาดแทนให้   การด่าเกษตรกรจึงอาจผิดเป้าหมาย การพยายามหา วิธีรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ คาดเดาได้ วางแผนรับสถานการณ์ได้ น่าจะทำให้กิจกรรมทางไสยศาสตร์หายไป แล้ววิทยาศาสตร์เข้ามาแทน ...แต่ ก็ไม่มีนั่นเอง

เมื่อมองเข้ามาในภาคบริการและพาณิชยกรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากก็ยังไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บูชาเกจิอาจารย์ หรือหาเครื่องรางของขลังจากสายต่างๆ มาเสริมดวงหนุนโชค หรือจ้างซินแสจัดฮวงจุ้ยร้านค้า/ที่พัก แข่งกันดูดเงินดูดทองเข้าตัว แล้วไม่รู้ว่าคนที่มัวพัฒนาสินค้าและการบริการจะสู้ได้หรือไม่ถ้าไม่ใช้พลังภายในแบบนี้สู้

แม้กระทั่งบรรษัทใหญ่หรือไปจนถึงการพิจารณาโหงวเฮ้งและธาตุ พื้นฐานดวง ก่อนที่จะรับคนเข้าทำงาน  เรื่อยไปถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็ยังต้องดูฤกษ์ยามการเดินสายผลิต หรือเจิมเครื่องจักรกลกันให้เห็นเป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับความรู้สึก “ไม่วางใจ” ของคนในภาคธุรกิจ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะไม่อาจคาดเดาอะไรได้ เนื่องจากเราอยู่ในรัฐทุนนิยมที่กำหมายไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “กติกาของการแข่งขัน”  แต่กลับมีพลังลึกลับหลายอย่าง “อุ้ม” เอาคู้แข่งหลายรายหายไปในตลาด หรือบางโอกาสก็มีคนขายตัดราคาได้เพราะว่าเอาเงิน “ดำๆมืดๆ” มาฟอกผ่านธุรกิจให้กลายเป็นเงินสะอาดจนมิอาจสู้ราคาแข่งขันได้

เมื่อมาดูภาพใหญ่สุดระดับประเทศ เราคงคุ้นกันดีว่าประเทศไทยอาจก้าวหน้าไปแล้วก็อาจจะสะดุดหยุดอยู่หรือไหลย้อนกลับ ด้วยเหตุที่มีการตัดสลับโดยอำนาจ “นอกกฎหมาย” 

กฎหมายไม่ได้มีความหมายอะไรสลักสำคัญ มันเป็นเพียง “กติกา” ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคาดเดาได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร รัฐส่งเสริมอะไร ห้ามอะไร ให้แข่งกันยังไง สินค้าแบบไหนผลิตออกมาขายได้ หรือบริการแบบไหนห้ามนำเสนอสู่ตลาด   เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในสายตาของรัฐหรือผู้มีอำนาจจะต้องเคารพยึดถือปฏิบัติ ระดับล่างลงไปก็ไม่ทำตาม

การวิ่งเต้นหาเส้นไล่สาย จึงกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทย กลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิด “เจ้าพ่อ” “เจ้าแม่” หลายรายที่กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชีวิตและลมหายใจ ต้องเซ่นไหว้ด้วยอะไรก็แล้วแต่เจ้าสำนักกำหนด   ดีลใหญ่ทางธุรกิจหรือความขัดแย้งทางธุรกิจจึงปัดเป่าด้วยกำลังภายใน มากกว่า “การระงับข้อพิพาทด้วยกฎหมาย” ที่อาจคาดเดาผลได้ชัดเจนตามตัวบทบัญญัติ แต่อาจจะขัดกับผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้ง

ยิ่งมีพลังนอกกฎหมาย ไร้กติกามากเท่าไหร่ ความไม่แน่นอนในจิตใจของ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ยิ่งเพิ่มทวีคูณ จนต้องพยายามแสวงหาทุกวิถีทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง

หากคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องกำจัดต้นตอของความเสี่ยง นั่นคือ “พลังนอกกฎหมาย”

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที