Skip to main content

สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่อเหมือนเดิมล่ะ?

นักคิดนักกิจกรรมชื่อดัง สโลวอย ซีเซ็ก (Slovoj ZIzek) ได้ย่อยเอาปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมลงเป็นประโยคสั้นๆ คือ คุณไม่ได้เกลียดวันจันทร์คุณแค่ชังการเริ่มสัปดาห์ทำงานในระบบทุนนิยม (You don’t hate Monday, You hate Capitalism!) อันมีที่มาจากเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกในใจของคนที่อยู่ในวัฏจักรการผลิตแบบทุนนิยมที่วนเวียนซ้ำซากเหมือนหนูติดจั่น

สำหรับคนที่รักงานที่ทำ ชอบทำสิ่งที่มีคนจ่ายเงินให้ทำ ก็คงไม่รู้สึกแปลกแยกต้อยต่ำ หรือตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่”  แต่หากคนต้องทำอะไรที่ขัดกับความปรารถนา ไม่ตรงกับความถนัด หรือมีความซ้ำซากจำเจ จนเบื่อหน่ายถึงขีดสุด ก็หนีไม่พ้นต้องถามใจตัวเองว่ายังอยากทำงานนี้อยู่หรือไม่ แล้วจะไปทำอย่างอื่นได้รึเปล่า?  

สำหรับหลายคนทางเลือกไม่ได้มีมากนัก!

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนในสังคมทุนนิยมจึงเกี่ยวข้องกับ “การทำงาน” โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลตอบแทนต่ำ ความมั่นคงน้อย สภาพการทำงานแย่ ไปจนถึง ตกงาน                  สภาพในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่อยู่ตัวแล้วมักจะมีสวัสดิการมารองรับคนที่ตกงาน แต่คนที่ว่างงานเรื้อรังย่อมหลีกไม่พ้นกับความรู้สึกจิตใจตกต่ำยาวนาน

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยที่สมาทานตัวเองเข้าไปในสายพานการผลิตของตลาดโลก และสังคมค่อยๆปรับเข้ามาในลักษณะเมืองทุนนิยม ก็ทำให้คนจำนวนมหาศาลตกอยู่ในภาวะ ไม่ชอบแต่ก็ต้องทำ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นที่ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นวงกว้างแต่กลับไม่ได้งานตามที่คาดหวัง ซ้ำยังไม่เห็นวี่แววของการก้าวหน้า ขยับเลื่อนสถานะทางสังคม

การหลุดลอยไปจากสังคม ความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า ไร้คุณค่า ไม่มีตัวตนในสายตาของคนรอบข้าง เป็นภาระให้กับคนที่ตนรัก ย่อมบันดาลความทุกข์ให้เกิดขึ้นมหาศาล   แต่ต้องไม่ลืมว่า มันอาจจะไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคลของเขา แต่เขาอาจเป็นผู้พ่ายแพ้ สูญเสียจากการปรับเปลี่ยนสังคมไปตามการกำหนดของตลาด   ทักษะหรือความเก่งกาจที่เขามีอาจไม่เป็นที่ต้องการ หรือได้ค่าตอบแทนไม่มาก จนกลายเป็นไร้ค่าเมื่อวัดด้วย “เงิน” ที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนในตลาด คนที่ไม่สามารถแปลงความถนัดของตนเป็นสินค้าหรือบริการเพื่ออยู่รอดจึงทุกข์

คำถาม คือ เราจะจัดการกับความทุกข์ของคนที่อยู่ในสังคมทุนนิยมนี้อย่างไร ?

บางกรณีเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองจริง แต่กระแสปัจจุบันเหมือนจะผลักให้ทุกกรณีเป็นเรื่องสารเคมีไปหมดแล้วแก้ด้วยการจ่ายยา ซึ่ง "เหมารวม" เกินไป 

ในประเทศทุนนิยมเก่าจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ หยุดทำให้โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสารเคมี หยุดแก้ปัญหาด้วยยา 
วิพากษ์บรรษัทยาที่ค้ากำไรกับความเศร้าโดยทำปัญหาจิตเวชให้เป็นเงิน    โดยอยากให้แก้ปัญหาโดยรับฟังสาเหตุ และบริบททางเศรษฐกิจสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุด้วยยาอย่างเดียว

อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่หายโดยไม่ต้องกินยาก็มีอยู่ครับ แต่อย่างที่บอก ปัญหาอยู่ที่ "การเหมารวม" ว่า "ต้องใช้ยา" มากกว่า เหมือนเมื่อก่อนบอกว่า เลิกยาเสพติด ต้องใช้สารเคมีช่วย เดี๋ยวนี้กระแสตีกลับกันอีกแล้วว่าต้องชนะใจตน และคนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความเข้าใจไม่ให้หวนกลับไปใช้อีก

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์เสนอสถิติว่าการใช้ยา สารเคมีรักษาได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจเป็นวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทขายยา เมื่อเถียงกันไม่เสด็จน้ำ แต่เอาวิธีการจากผลข้างเดียวมาปฏิบัติกันเป็นวงกว้าง แบบ "เหมารวม" 

หมอไม่เคยมีการตรวจหาสารเคมีในร่างกายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเลยครับ จึงย้อนแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ณ จุดนี้   มีงานวิจัยสังคมวิทยาการแพทย์ด้านจิตเวช บอกว่าความคิดเรื่อง “สารเคมีก่อความเศร้า” มาพร้อมกับช่วงโหมการตลาดเรื่องยากรักษาซึมเศร้าของบรรษัทพอดี และมีเรื่องวิจัยผลข้างเคียง เรื่องยาแก้ซึมเศร้าทำให้ชายหลั่งช้าลง ด้วย ซึ่งมันคิดไปได้ว่า...โฆษณาแฝง

ที่สำคัญ มีปัจเจก จำนวนไม่น้อยหัวเสียกับการไปพบแพทย์แล้ว แต่บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ให้คำปรึกษา หรือตั้งใจวินิจฉัยมากมาก ยิ่งมีการทำให้โรคซึมเศร้าเป็น “อาการ” ที่รักษาด้วยการจ่ายยาไปกิน โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้พบกับที่ปรึกษาหรือใช้เวลาในการพูดคุยบำบัดก็ยิ่งน้อยลง เพราะรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่อยากสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างจิตแพทย์ รึนักจิตวิทยาบำบัด และไม่ต้องพูดถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ “สภาพการทำงาน” หรือ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน”

ถ้าปัญหาเป็นเรื่องเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็จะนำไปสู่การสร้างแนวร่วมผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างขบวนการมวลชนต่อต้านเสรีนิยมใหม่ โดยไม่คลั่งชาติ ไม่เหยียด ไม่กีดกัน แต่รวบรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันเข้ามาร่วมเดิน

 

คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า คุณแค่ผิดหวังจากทุนนิยม!
You don't have depression, Capitalism fails you

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว