Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน สหประชาชาติได้ร่วมจัดงานประชุมการกำกับอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ หรือ Internet Governance Forum ครั้งที่ 10 (IGF 2015 Brazil) ณ เมือง Jao Pessoa ประเทศบราซิล ซึ่งน่าสนใจมากในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเมื่อสองปีก่อนเกิด “รอยร้าว” ในความสัมพันธ์ระหว่าง บราซิลเจ้าภาพ กับ สหรัฐอเมริกาผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศโลก เมื่อ เอ็ดเวิร์ด สโนเดน อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐ ได้เผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงได้ทำการดักฟังและล้วงข้อมูลจากเครื่องมือสื่อสารของประธานาธิบดีบราซิล

การจารกรรมไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ แต่เป็นที่รับรู้กันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นการทำลาย “ความไว้วางใจ” ระหว่างมิตรประเทศ และอาจนำไปสู่การดำเนินนโยบายตอบโต้ได้ตามสัดส่วนความเหมาะสม   ต่างจากระบบกฎหมายภายในหากตรวจพบจารชนที่ทำการจารกรรมข้อมูลของผู้นำรัฐ มักมีความผิดร้ายแรงฐาน “กบฏต่อความมั่นคง” มีโทษร้ายแรงสูงสุด

ดังนั้นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับทุนของรัฐ และเลี้ยงตัวเองให้อยู่ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และใช้เวทีระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น  เข้าทำนอง “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

โอกาสที่ว่ามาพร้อมกับมิตรสหายร่วมชะตากรรมเมื่อพบว่า ผู้นำอีกหลายประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การจับจ้องด้วยเทคโนโลยีจารกรรมขั้นสูงไม่ต่างกัน   ดังนั้นนับแต่ปี 2013 เป็นต้นมา บราซิลและเยอรมนีที่มีศักยภาพในการเมืองระหว่างประเทศจึงกลายมาเป็นสองรัฐที่มีบทบาทนำในการผลักดันวาระต่างๆที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัยในระบบโทรคมนาคมโลก   โดยมีการเสนอวาระเข้าสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจนมีรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองเน็ตแห่งยุคดิจิตอลออกมาอย่างต่อเนื่อง

การประชุม IGF ในปีนี้มีธีมที่สื่อเป็นนัยยะว่าวิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือก็คือ การสร้างระบบกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตจะต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกรัฐ ทุกฝ่ายที่มีประโยชน์ได้เสีย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้าง

·       ความมั่นคงในโลกไซเบอร์บนพื้นฐานของ “ความไว้วางใจ” (Trust)

·       การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเปิดให้ทุกกลุ่มเข้าไปมีส่วนกำหนดทิศทางอย่างหลากหลาย

·       สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีปากมีเสียงในการออกแบบระบบมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

·       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงระบบ เช่น การส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสาร เช่น ประเทศที่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตน้อย

·       การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์ ต้านการเซ็นเซอร์ การจับกุม/ข่มขู่ การล้วงตับ การสอดส่อง

            อย่างที่บอกไปนี่คือ ผลพวงจากการเปิดเผยข้อมูลโดย สโนวเดน โดยมีอีกโครงการที่คน “ทั้งโลก” ต้องให้ความสนใจนั่นคือ ข้อตกลงระหว่างสภาความมั่นคงสหรัฐ  กับ หน่วยข่าวกรองดักสัญญาณสื่อสารสหราชอาณาจักร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จารกรรมมาจากสายเคเบิ้ลสื่อสารใต้มหาสมุทร เรือดำน้ำสหราชอาณาจักรดักข้อมูลแล้วส่งต่อให้ระบบประมวลผลของสภาความมั่นคงสหรัฐ(NSA) ณ Fort Meade มลรัฐ Maryland เพื่อเก็บเป็นเหมืองไว้รอขุดคุ้นต่อไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองเน็ตทั่วโลก

การดักฟังผู้นำของประเทศต่างๆ และกิจกรรมจารกรรมระหว่างประเทศนั้น สหภาพยุโรปและประเทศสำคัญ เช่น บราซิลโต้กลับด้วย มาตรการทางการทูต และกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างแยบคายต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปฏิรูประบบการข่าวกรองภายในของสหรัฐผ่านคำประกาศของโอบาม่า   รวมไปถึงท่าทีและแนวปฏิบัติของบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ

แรงบีบของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่นำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองสหภาพยุโรป (มิใช่คนสัญชาติสหรัฐอเมริกา) สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องบรรษัทหรือหน่วยงานรัฐของอเมริกาได้ใน “ศาลสหรัฐอเมริกา” ภายในปี 2016    โดยสหรัฐยอมทำข้อตกลงระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นพันธมิตรนาโต้ NATO Cross Atlantic Relationship ชื่อว่าข้อตกลง “EU-US Umbrella Agreement”

การบีบโดยอาศัยการออกกฎหมายภายในของตนมาให้รัฐอื่นยอมรับนี้ดูสุภาพนุ่มนวล เสมือนว่าการยอมอ่อนข้อให้ในระดับหนึ่ง เป็นกลวิธีในการเจรจาจนได้ผลลัพธ์ออกมา  

แต่หากมองในเชิงปฏิบัติกลับเป็นว่า ยุโรปยอมตกลงให้ พลเมืองต้องลงทุนไปฟ้องเองถึงศาลสหรัฐ   ทั้งที่ในข้อเสนอ ตอนแรกEU จะเอาช่องทางฟ้องร้องแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Unit) ในดินแดนสหภาพยุโรปให้ได้ ไม่ว่าผู้ละเมิดจะเป็นรัฐบาลสหรัฐหรือบรรษัทสัญชาติสหรัฐก็ตาม

ถ้าสหรัฐและสหภาพยุโรป เคาะเรื่องนี้ออกมา ก็คงออกมาพร้อมกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลแห่งสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation) ที่สหภาพยุโรปกำลังจะออกในปลายปี 2015 เลย เพราะนี่มันประเด็นสุดท้ายแล้วที่เถียงกันไม่จบ ...แต่ว่า มันจะมีผลในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปเทียบเท่ากฎหมายภายในรัฐในอีก 2 ปีถัดไปทันทีที่ประกาศ (ระบบสหภาพยุโรปจะให้เวลารัฐปรับตัว เช่น จัดงบประมาณ บุคลากร ความพร้อมต่างๆ)

ไทยไม่ควรดันกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ อินเตอร์เน็ต ในช่วงนี้ เพราะต้องแก้ใหม่แน่นอน แต่ควรพัฒนานวัตกรรมในการระงับข้อพิพาทออนไลน์ (Online Dispute Settlement Unit) หรือ หน้าเว็บรับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ หรือกลไกรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม Class Action มากกว่า   แม้จะยังไม่พบความคืบหน้าว่า สหภาพยุโรปจะผลักดันให้มีองค์กรหรือกลไกใดในการอำนวยความสะดวกให้กับพลเมืองผู้ตกเป็นเหยื่อของการจารกรรมของสหรัฐด้วยวิธีใดก็ตาม
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2