Skip to main content

ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว

โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ แฉหลักฐานว่ารัฐบาลสหรัฐดักข้อมูลคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต และดักดูดสัญญาณในสายเคเบิ้ลใต้น้ำของบรรษัทชั้นนำ เช่น Google MSN FACEBOOK ฯลฯ   ทำให้ยอดการใช้งานบริการของบริษัทเหล่านั้นตกลง จนบริษัทต้องรวมตัวกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกายุติโครงการเหล่านั้น   เช่นเดียวกับรัฐบาลต่างๆที่ผู้นำและประชาชนถูกลักดักข้อมูล เช่น EU ก็กดดันสหรัฐอย่างหนัก

                แก่นกลางของการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน คือ การสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้เกิดในใจผู้บริโภค เพราะหาไม่แล้วประชาชนที่หวาดกลัวการถูกสอดส่องก็จะลดกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตลง

                จากข่าว ท่านสิทธิชัย โภไคยอุดม บอกว่า พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ได้มาตรฐานกฎหมาย Homeland Security Act ของ US นั้น ท่านไม่ทราบจริงๆหรือว่า ปีก่อน ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป ตัดสินให้ Directive on Data Retention (ว่าด้วยการเก็บกักข้อมูลไว้) ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของ EU ร่วมมือกับทางการ US ใช้เก็บข้อมูลประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง นั้น "สิ้นสภาพทางกฎหมาย" ไปแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน

ทำให้ EU ต้องร่างกฎหมายเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ และทำความตกลงกับสหรัฐในเรื่องการเก็บกักข้อมูลด้วยเหตุผลทางความมั่นคงใหม่ที่ชื่อว่า Umbrella Agreement ซึ่งสหรัฐก็ต้องปรับตาม เพราะมาตรฐานของ Homeland Security ต่ำกว่ามากนั่นเอง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาของ Homeland Security ไม่ได้มาตรฐานสากล หากเราไปลอกกฎหมายเขา ก็ต้องตามมาแก้กฎหมายอีก เพราะเดี๋ยวเขาต้องมีมาตรฐานใหม่ตามที่ EU ร่างขึ้นและ US รับลูกต่อมาอีกที

การอ้างว่า กฎหมายไทยได้มาตรฐาน Homeland Security Act. จึงล้าสมัย! และทำลายความมั่นใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   ยิ่งหากจะผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดิจิตัลของไทย โกอินเตอร์ หรือ ดึงดูดบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจะยิ่งมีปัญหา
                เนื่องจากการมีกฎหมายภายในไม่ได้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกกีดกันทางการค้าตามข้อตกลง GATS ข้อ 14(c) (III) ว่าด้วยข้อยกเว้นให้ปิดกั้นการข้ามแดนได้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

จากข้อตกลงของ GATS  และ การคำนึงถึงความเชื่อมั่นของประชาชนนี่เองที่ทำให้ล่าสุด US จะขยายความคุ้มครองสิทธิไปถึงพลเมืองEU ให้ประชาชนยุโรปฟ้องคดีต่อผู้ละเมิดการคุ้มครองข้อมูลในศาลสหรัฐได้ตามคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ US Privacy Act. 
 

การขยายความคุ้มครองสิทธินี้ก็เป็นไปตามการเจรจาความตกลงระหว่าง EU-US ชุด Umbrella Agreement ที่ว่าไป   เช่นเดียวกับ โอบาม่า ที่ออกประกาศ “ปฏิรูประบบข่าวกรองด้านดักสัญญาณ” ไปหลังเจอพายุ Snowden Revelations เพื่อสร้างความมั่นใจให้พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองเน็ตทั่วโลก ไม่งั้น Google Yahoo MSN หรือ FACEBOOK คงกระอัก

ย้อนมาดูไทย เราจะย้อนยุคไปหลังเหตุการณ์ 9/11 ใหม่ๆ เลยหรือ ถ้าไม่รีบปรับ บรรษัท IT และธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล นี่ล่ะครับ ที่จะบี้รัฐบาลอย่างหนัก

รายงานของคณะอนุกรรมมาธิการศึกษาความมั่นคงสังคมออนไลน์ ภายใต้คณะกรรมาธิการทหารวุฒิสภา ว่าไว้ตั้งแต่ปี 2555 ให้ผู้ประกอบการและสื่อเป็นห่วงหลายจุด เช่น ทัศนคติของรัฐที่ว่า "ผู้ให้บริการ (ISP) กระทําเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากเกินไป กระทั่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง"   รวมไปถึงการโจมตีนโยบายการให้ประชาชนเข้าถึง Free Wi-Fi แบบกลัวไว้ก่อน ทั้งที่นโยบายแบบนี้จะเพิ่มปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ความเร็วขั้นต่ำ – แต่ช้า)

ซึ่งสวนทางกับรัฐมนตรีปรีดิยาธร ที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยจะต้องทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดในต้นทุนที่ต่ำ มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้

การลงทะเบียนหลายต่อ จับตามองคนทุกฝีเก้า ด้วยมาตรการความมั่นคงแบบรัฐราชการ  ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับการส่งเสริม Digital Economy ที่ต้องส่งเสริมให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่า และรู้สึกปลอดภัยไม่มีใครคอยจับจ้องตลอดเวลา   แต่ถ้าท่านจะให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ก็น่าห่วงว่าจะแถมเทคโนโลยีสอดส่องมากับอุปกรณ์อะไรแบบที่ สหรัฐกล่าวหาจีน และสุดท้ายมาความแตกว่าสหรัฐก็ทำเช่นกัน

ถ้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการขยายตัวของ เศรษฐกิจ Informal Sector ประเภทการจับจ่ายที่หมิ่นเหม่ศีลธรรม หรือ สินค้า/บริการ ที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำกิจกรรมเหล่านั้นเฟื่องฟู แต่ในความเป็นจริงมีธุรกรรมอีกมากมายที่หันไปใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย

การออกกฎหมายแบบเหวี่ยงแห คลุมเครือ ตีขลุมไว้ก่อนว่า คนใช้อินเตอร์เน็ต อาจเป็น "อาชญากร" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมอะไรที่ต้องสอดส่อง  จึงเป็นการเอา "ความกลัว" เดินนำหน้าความ "กล้า" ที่จะนำพาเศรษฐกิจหลุดพ้นจากสภาวะเดิมๆ ที่พิสูจน์ตัวเองอยู่นานปีว่ามีแต่ "ย่ำอยู่กับที่"

การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด จึงต้องกีดกันฝ่ายความมั่นคงมิให้แทรกแซงเรื่องเศรษฐกิจ  ถ้าคิดจะทำให้อินเตอร์เน็ตไทยเป็นระบบปิดแบบจีน (The Great China Firewall)   ก็ไม่คุ้มเพราะตลาดภายในไทยเล็กเกินไป เทียบตลาดภายในจีน ไม่ได้    

ไทยจึงควรรอดูท่าทีของโลกผ่านการตกลงของ สหภาพยุโรป สหรัฐ ในกลางปีนี้จะได้ไม่ต้องแก้อีก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว