Skip to main content

ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว

โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ แฉหลักฐานว่ารัฐบาลสหรัฐดักข้อมูลคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต และดักดูดสัญญาณในสายเคเบิ้ลใต้น้ำของบรรษัทชั้นนำ เช่น Google MSN FACEBOOK ฯลฯ   ทำให้ยอดการใช้งานบริการของบริษัทเหล่านั้นตกลง จนบริษัทต้องรวมตัวกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกายุติโครงการเหล่านั้น   เช่นเดียวกับรัฐบาลต่างๆที่ผู้นำและประชาชนถูกลักดักข้อมูล เช่น EU ก็กดดันสหรัฐอย่างหนัก

                แก่นกลางของการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน คือ การสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้เกิดในใจผู้บริโภค เพราะหาไม่แล้วประชาชนที่หวาดกลัวการถูกสอดส่องก็จะลดกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตลง

                จากข่าว ท่านสิทธิชัย โภไคยอุดม บอกว่า พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ได้มาตรฐานกฎหมาย Homeland Security Act ของ US นั้น ท่านไม่ทราบจริงๆหรือว่า ปีก่อน ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป ตัดสินให้ Directive on Data Retention (ว่าด้วยการเก็บกักข้อมูลไว้) ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของ EU ร่วมมือกับทางการ US ใช้เก็บข้อมูลประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง นั้น "สิ้นสภาพทางกฎหมาย" ไปแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน

ทำให้ EU ต้องร่างกฎหมายเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ และทำความตกลงกับสหรัฐในเรื่องการเก็บกักข้อมูลด้วยเหตุผลทางความมั่นคงใหม่ที่ชื่อว่า Umbrella Agreement ซึ่งสหรัฐก็ต้องปรับตาม เพราะมาตรฐานของ Homeland Security ต่ำกว่ามากนั่นเอง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาของ Homeland Security ไม่ได้มาตรฐานสากล หากเราไปลอกกฎหมายเขา ก็ต้องตามมาแก้กฎหมายอีก เพราะเดี๋ยวเขาต้องมีมาตรฐานใหม่ตามที่ EU ร่างขึ้นและ US รับลูกต่อมาอีกที

การอ้างว่า กฎหมายไทยได้มาตรฐาน Homeland Security Act. จึงล้าสมัย! และทำลายความมั่นใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   ยิ่งหากจะผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดิจิตัลของไทย โกอินเตอร์ หรือ ดึงดูดบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจะยิ่งมีปัญหา
                เนื่องจากการมีกฎหมายภายในไม่ได้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกกีดกันทางการค้าตามข้อตกลง GATS ข้อ 14(c) (III) ว่าด้วยข้อยกเว้นให้ปิดกั้นการข้ามแดนได้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

จากข้อตกลงของ GATS  และ การคำนึงถึงความเชื่อมั่นของประชาชนนี่เองที่ทำให้ล่าสุด US จะขยายความคุ้มครองสิทธิไปถึงพลเมืองEU ให้ประชาชนยุโรปฟ้องคดีต่อผู้ละเมิดการคุ้มครองข้อมูลในศาลสหรัฐได้ตามคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ US Privacy Act. 
 

การขยายความคุ้มครองสิทธินี้ก็เป็นไปตามการเจรจาความตกลงระหว่าง EU-US ชุด Umbrella Agreement ที่ว่าไป   เช่นเดียวกับ โอบาม่า ที่ออกประกาศ “ปฏิรูประบบข่าวกรองด้านดักสัญญาณ” ไปหลังเจอพายุ Snowden Revelations เพื่อสร้างความมั่นใจให้พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองเน็ตทั่วโลก ไม่งั้น Google Yahoo MSN หรือ FACEBOOK คงกระอัก

ย้อนมาดูไทย เราจะย้อนยุคไปหลังเหตุการณ์ 9/11 ใหม่ๆ เลยหรือ ถ้าไม่รีบปรับ บรรษัท IT และธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล นี่ล่ะครับ ที่จะบี้รัฐบาลอย่างหนัก

รายงานของคณะอนุกรรมมาธิการศึกษาความมั่นคงสังคมออนไลน์ ภายใต้คณะกรรมาธิการทหารวุฒิสภา ว่าไว้ตั้งแต่ปี 2555 ให้ผู้ประกอบการและสื่อเป็นห่วงหลายจุด เช่น ทัศนคติของรัฐที่ว่า "ผู้ให้บริการ (ISP) กระทําเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากเกินไป กระทั่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง"   รวมไปถึงการโจมตีนโยบายการให้ประชาชนเข้าถึง Free Wi-Fi แบบกลัวไว้ก่อน ทั้งที่นโยบายแบบนี้จะเพิ่มปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ความเร็วขั้นต่ำ – แต่ช้า)

ซึ่งสวนทางกับรัฐมนตรีปรีดิยาธร ที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยจะต้องทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดในต้นทุนที่ต่ำ มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้

การลงทะเบียนหลายต่อ จับตามองคนทุกฝีเก้า ด้วยมาตรการความมั่นคงแบบรัฐราชการ  ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับการส่งเสริม Digital Economy ที่ต้องส่งเสริมให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่า และรู้สึกปลอดภัยไม่มีใครคอยจับจ้องตลอดเวลา   แต่ถ้าท่านจะให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ก็น่าห่วงว่าจะแถมเทคโนโลยีสอดส่องมากับอุปกรณ์อะไรแบบที่ สหรัฐกล่าวหาจีน และสุดท้ายมาความแตกว่าสหรัฐก็ทำเช่นกัน

ถ้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการขยายตัวของ เศรษฐกิจ Informal Sector ประเภทการจับจ่ายที่หมิ่นเหม่ศีลธรรม หรือ สินค้า/บริการ ที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำกิจกรรมเหล่านั้นเฟื่องฟู แต่ในความเป็นจริงมีธุรกรรมอีกมากมายที่หันไปใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย

การออกกฎหมายแบบเหวี่ยงแห คลุมเครือ ตีขลุมไว้ก่อนว่า คนใช้อินเตอร์เน็ต อาจเป็น "อาชญากร" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมอะไรที่ต้องสอดส่อง  จึงเป็นการเอา "ความกลัว" เดินนำหน้าความ "กล้า" ที่จะนำพาเศรษฐกิจหลุดพ้นจากสภาวะเดิมๆ ที่พิสูจน์ตัวเองอยู่นานปีว่ามีแต่ "ย่ำอยู่กับที่"

การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด จึงต้องกีดกันฝ่ายความมั่นคงมิให้แทรกแซงเรื่องเศรษฐกิจ  ถ้าคิดจะทำให้อินเตอร์เน็ตไทยเป็นระบบปิดแบบจีน (The Great China Firewall)   ก็ไม่คุ้มเพราะตลาดภายในไทยเล็กเกินไป เทียบตลาดภายในจีน ไม่ได้    

ไทยจึงควรรอดูท่าทีของโลกผ่านการตกลงของ สหภาพยุโรป สหรัฐ ในกลางปีนี้จะได้ไม่ต้องแก้อีก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2