Skip to main content

ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว

โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ แฉหลักฐานว่ารัฐบาลสหรัฐดักข้อมูลคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต และดักดูดสัญญาณในสายเคเบิ้ลใต้น้ำของบรรษัทชั้นนำ เช่น Google MSN FACEBOOK ฯลฯ   ทำให้ยอดการใช้งานบริการของบริษัทเหล่านั้นตกลง จนบริษัทต้องรวมตัวกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกายุติโครงการเหล่านั้น   เช่นเดียวกับรัฐบาลต่างๆที่ผู้นำและประชาชนถูกลักดักข้อมูล เช่น EU ก็กดดันสหรัฐอย่างหนัก

                แก่นกลางของการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน คือ การสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้เกิดในใจผู้บริโภค เพราะหาไม่แล้วประชาชนที่หวาดกลัวการถูกสอดส่องก็จะลดกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตลง

                จากข่าว ท่านสิทธิชัย โภไคยอุดม บอกว่า พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ได้มาตรฐานกฎหมาย Homeland Security Act ของ US นั้น ท่านไม่ทราบจริงๆหรือว่า ปีก่อน ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป ตัดสินให้ Directive on Data Retention (ว่าด้วยการเก็บกักข้อมูลไว้) ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของ EU ร่วมมือกับทางการ US ใช้เก็บข้อมูลประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง นั้น "สิ้นสภาพทางกฎหมาย" ไปแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน

ทำให้ EU ต้องร่างกฎหมายเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ และทำความตกลงกับสหรัฐในเรื่องการเก็บกักข้อมูลด้วยเหตุผลทางความมั่นคงใหม่ที่ชื่อว่า Umbrella Agreement ซึ่งสหรัฐก็ต้องปรับตาม เพราะมาตรฐานของ Homeland Security ต่ำกว่ามากนั่นเอง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาของ Homeland Security ไม่ได้มาตรฐานสากล หากเราไปลอกกฎหมายเขา ก็ต้องตามมาแก้กฎหมายอีก เพราะเดี๋ยวเขาต้องมีมาตรฐานใหม่ตามที่ EU ร่างขึ้นและ US รับลูกต่อมาอีกที

การอ้างว่า กฎหมายไทยได้มาตรฐาน Homeland Security Act. จึงล้าสมัย! และทำลายความมั่นใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   ยิ่งหากจะผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดิจิตัลของไทย โกอินเตอร์ หรือ ดึงดูดบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจะยิ่งมีปัญหา
                เนื่องจากการมีกฎหมายภายในไม่ได้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกกีดกันทางการค้าตามข้อตกลง GATS ข้อ 14(c) (III) ว่าด้วยข้อยกเว้นให้ปิดกั้นการข้ามแดนได้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

จากข้อตกลงของ GATS  และ การคำนึงถึงความเชื่อมั่นของประชาชนนี่เองที่ทำให้ล่าสุด US จะขยายความคุ้มครองสิทธิไปถึงพลเมืองEU ให้ประชาชนยุโรปฟ้องคดีต่อผู้ละเมิดการคุ้มครองข้อมูลในศาลสหรัฐได้ตามคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ US Privacy Act. 
 

การขยายความคุ้มครองสิทธินี้ก็เป็นไปตามการเจรจาความตกลงระหว่าง EU-US ชุด Umbrella Agreement ที่ว่าไป   เช่นเดียวกับ โอบาม่า ที่ออกประกาศ “ปฏิรูประบบข่าวกรองด้านดักสัญญาณ” ไปหลังเจอพายุ Snowden Revelations เพื่อสร้างความมั่นใจให้พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองเน็ตทั่วโลก ไม่งั้น Google Yahoo MSN หรือ FACEBOOK คงกระอัก

ย้อนมาดูไทย เราจะย้อนยุคไปหลังเหตุการณ์ 9/11 ใหม่ๆ เลยหรือ ถ้าไม่รีบปรับ บรรษัท IT และธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล นี่ล่ะครับ ที่จะบี้รัฐบาลอย่างหนัก

รายงานของคณะอนุกรรมมาธิการศึกษาความมั่นคงสังคมออนไลน์ ภายใต้คณะกรรมาธิการทหารวุฒิสภา ว่าไว้ตั้งแต่ปี 2555 ให้ผู้ประกอบการและสื่อเป็นห่วงหลายจุด เช่น ทัศนคติของรัฐที่ว่า "ผู้ให้บริการ (ISP) กระทําเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากเกินไป กระทั่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง"   รวมไปถึงการโจมตีนโยบายการให้ประชาชนเข้าถึง Free Wi-Fi แบบกลัวไว้ก่อน ทั้งที่นโยบายแบบนี้จะเพิ่มปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ความเร็วขั้นต่ำ – แต่ช้า)

ซึ่งสวนทางกับรัฐมนตรีปรีดิยาธร ที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยจะต้องทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดในต้นทุนที่ต่ำ มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้

การลงทะเบียนหลายต่อ จับตามองคนทุกฝีเก้า ด้วยมาตรการความมั่นคงแบบรัฐราชการ  ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับการส่งเสริม Digital Economy ที่ต้องส่งเสริมให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่า และรู้สึกปลอดภัยไม่มีใครคอยจับจ้องตลอดเวลา   แต่ถ้าท่านจะให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ก็น่าห่วงว่าจะแถมเทคโนโลยีสอดส่องมากับอุปกรณ์อะไรแบบที่ สหรัฐกล่าวหาจีน และสุดท้ายมาความแตกว่าสหรัฐก็ทำเช่นกัน

ถ้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการขยายตัวของ เศรษฐกิจ Informal Sector ประเภทการจับจ่ายที่หมิ่นเหม่ศีลธรรม หรือ สินค้า/บริการ ที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำกิจกรรมเหล่านั้นเฟื่องฟู แต่ในความเป็นจริงมีธุรกรรมอีกมากมายที่หันไปใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย

การออกกฎหมายแบบเหวี่ยงแห คลุมเครือ ตีขลุมไว้ก่อนว่า คนใช้อินเตอร์เน็ต อาจเป็น "อาชญากร" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมอะไรที่ต้องสอดส่อง  จึงเป็นการเอา "ความกลัว" เดินนำหน้าความ "กล้า" ที่จะนำพาเศรษฐกิจหลุดพ้นจากสภาวะเดิมๆ ที่พิสูจน์ตัวเองอยู่นานปีว่ามีแต่ "ย่ำอยู่กับที่"

การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด จึงต้องกีดกันฝ่ายความมั่นคงมิให้แทรกแซงเรื่องเศรษฐกิจ  ถ้าคิดจะทำให้อินเตอร์เน็ตไทยเป็นระบบปิดแบบจีน (The Great China Firewall)   ก็ไม่คุ้มเพราะตลาดภายในไทยเล็กเกินไป เทียบตลาดภายในจีน ไม่ได้    

ไทยจึงควรรอดูท่าทีของโลกผ่านการตกลงของ สหภาพยุโรป สหรัฐ ในกลางปีนี้จะได้ไม่ต้องแก้อีก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ