Skip to main content

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้จึงเพิ่มความสามารถในการปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ทันท่วงที โดยกำหนดให้มีหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันและรับมือได้ทันสถานการณ์

ยิ่งไปกว่านั้นยังพยายามวางแนวทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการตอบสนองด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ รวมทั้งมีการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

รัฐจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์

หากพิจารณาประเทศและภูมิภาคต่างๆจะพบระบอบที่ใช้กันอยู่ 4 แบบ

แบบแรก คือ แบบอิสรเสรี ไม่มีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือกำกับดูแลโลกอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อใหม่ที่เพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น อาศัยกลไกตลาดให้ผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกันปกป้องดูแลความปลอดภัยให้ลูกค้าเองเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ซึ่งประเทศไทยก็เริ่มจากแบบนี้ก่อน

แบบที่สอง คือ ให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเภทเดียวกันมาตกลงกันเองเพื่อหากฎกติกา หรือ การควบคุมกำกับดูแลกันเอง (Self-regulation) ของผู้ให้บริการ

แบบที่สาม คือ รัฐเริ่มเห็นความสำคัญ โดยมีบางหน่วยงาน เช่น หน่วยงานความมั่นคง เริ่มมองว่ากิจกรรมในโลกไซเบอร์ อาจจะกระทบต่อความมั่นคง จึงมีการออกกฎมาย เช่น พระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ ในการกำกับดูแล และให้ภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทในการกำหนดรายละเอียดภายใต้กรอบใหญ่ของรัฐ (Co-regulation)

แบบที่สี่ คือ รัฐอยากจะเป็นผู้ควบคุมเอง (State-centralized regulation) หรือรัฐถืออำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจสั่งการ หรือกำหนดมาตรฐานในรายละเอียด แล้วให้คนอื่นทำ ระบบแบบนี้จะรัฐพยายามจะทำงานในทางเทคนิคโดยจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาลงมือทำด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ประเทศจีน หรือมีการพยายามสร้างพื้นที่หรือประเด็นเฉพาะที่รัฐสร้างให้เป็น เขตเข้มงวดหรือประเด็นอ่อนไหวพิเศษเพื่อควบคุมอย่างเคร่งครัด เช่น รัสเซีย และนี่เป็นอาจเป็นแนวทางที่รัฐไทยอยากจะเป็นหากดูจากเนื้อหาใน ร่าง พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ

                เนื่องจากกลไกเชิงองค์กรที่ใช้ในการออกกฎและบังคับให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐนั้นออกแบบให้

- นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติด้วยตัวเอง
- ยกให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานความมั่นคงเป็นผู้ชี้นำนโยบายรักษาความมั่นคงไซเบอร์
- วางกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเป็น "ฝ่ายอำนวยการ" เพื่อผลักดันนโยบายนั้น (ผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ

การใช้อำนาจผ่านกฎหมายนี้ได้มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีบังคับบัญชาและสั่งการได้ครอบคลุมเขตแดนราชอาณาจักรไทย (มาตรา 33)  หากนายกรัฐมนตรีไม่อยู่ รัฐมนตรีกลาโหม (รองประธานคนที่หนึ่ง) สามารถทำหน้าที่แทน แต่ถ้ารัฐมนตรีกลาโหมไม่อยู่อีก จึงเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจดิจิทัล (รองประธานคนที่สอง) (มาตรา 11) ซึ่งเป็นการเน้นเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” มากกว่า “ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์”

การทำงานของคณะกรรมการความมั่นคงไซเบอร์ภายใต้ พรบ.นี้ จะอยู่ภายใต้แผนแม่บทของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลและแผนแม่บทของสภาความมั่นคง (มาตรา 5) โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจเสนอแนะไปยังคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลได้ แต่กลับไม่มีอำนาจเสนอแนะต่อสภาความมั่นคง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจสูงสุด คือ ฝ่ายสภาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 7)

หากมองวิธีแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามกฎหมายจะเห็นว่า นายกฯสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ (มาตรา 49) หรือใช้วิธีแต่งตั้งทหารที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติโดยภารกิจทั่วไปที่ทหารเหล่านั้นดูแลความมั่นคงไซเบอร์อยู่แล้ว (มาตรา 50)

คณะกรรมการฯ สามารถเพิ่มศักยภาพได้ด้วยการขอข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานเอกชนโดยขอคำสั่งศาล (มาตรา 43)  แต่หากขอข้อมูลจากหน่วยงานรัฐก็ไม่ต้องใช้คำสั่งศาล โดยหน่วยงานรัฐตามมาตรา 3 นั้นให้รวมถึงนิติบุคคลและบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้นอาจจะมากกว่าหน่วยงานราชการ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ หรือผู้รับเหมาช่วงที่รัฐจัดจ้าง ฯล

หากเจ้าพนักงานต้องการดักข้อมูล (มาตรา 47) จะต้องขอหมายศาล เว้นแต่มีเหตุเร่งด่วนก็ให้ทำไปก่อนโดยขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯได้ ซึ่งเงื่อนไขที่ให้ทำโดยไม่ขอศาลนั้นก็กว้างและคลุมเครือจนไม่อาจวางใจได้ ซึ่งก็ปรากฏในมาตรา 40 เช่นกันว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่คุกคามความมั่นคงไซเบอร์นั้นคืออะไร เพราะอนุญาตให้ใช้อำนาจบนพื้นฐานของการ "สันนิษฐาน" "คาดว่าจะ" "ซึ่งน่าเชื่อว่า" มีเหตุเสี่ยงภัย

หากหน่วยงานรัฐ/ผู้มีหน้าที่ ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการฯ ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา (มาตรา 32) มีความผิดวินัย (มาตรา 34)   ยิ่งถ้าหน่วยงานเอกชนไม่ทำตามที่ขอความร่วมมือ ให้พิจารณาลงโทษโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย ประกาศ ข้อบังคับอื่นใดที่มีอยู่ก็ได้ (มาตรา 47)

ทั้งนี้ในหมวด 6 ที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษ ยังมิได้ระบุระยะเวลาจำคุกหรือโทษปรับเอาไว้

ต้นทุนของการประกอบธุรกิจดิจิตอลจึงวางอยู่บนอนาคตที่ ร่าง พรบ. ฉบับนี้เขียนขึ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2