Skip to main content

หลังจากรัฐบาล คสช. ได้อนุญาตให้มีกิจกรรมทางการเมืองแบบพรรคได้ ก็ปรากฏการเปิดตัวเข้าสู่สนามการเมืองของหลากหลายกลุ่มการเมือง ทั้งที่เป็นกลุ่มการเมืองเดิม และหน้าใหม่ที่พยายามเข้ามาเสนอทางเลือกให้แหวกแนวไปกว่าเดิม  แต่พรรคที่ดึงดูดความสนใจในทิศทางทวนกระแส มีแง่คิดผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น เห็นจะไม่พ้น พรรคเกรียน ของคุณสมบัติ บุญงามองค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ที่ได้ก่อตั้งพรรค “เกรียน” ขึ้นมาแล้วไปขอจดทะเบียนตั้งพรรคกับ กกต. อย่างเป็นทางการเสียด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนพรรคเกรียนโดยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของชื่อพรรค ซึ่งดุลยพินิจของ กกต. นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกรียน” ในความหมายร่วมสมัยหรือดิจิทัลอาจหมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก่อกวนทำให้เกิดความสับสนโกลาหลขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่ง กกต. คิดว่าต้องขึงขังจริงจังและเป็นทางการอย่าง สนามการเมือง

เรื่องจึงต้องย้อนกลับมาคิดว่า “ความเป็นทางการ” หรือแม้กระทั่ง “ความสำคัญ” ของการเมืองในระบบเลือกตั้งผ่านตัวแทนแบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกด้วยท่าที “ขรึมขลัง” “ศักดิ์สิทธิ์” “จริงจัง” กันขนาดไหน จะมีที่ว่างให้กับการ ล้อเลียน เสียดสี หรือความตลกได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่จะขบให้แตกในบทความนี้

ย้อนไปในอดีตว่า “ความตลก” หรือ “ตัวตลก” มีที่ทางอย่างไรในสังคมการเมือง เท่าที่ผมค้นเจอก็จะมีเรื่องตลกหลวงในวังทั้งของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ที่ทำหน้าที่ในการล้อเลี่ยนชนชั้นสูงที่เข้าร่วมงานในวัง มิใช่แค่เพียงเพื่อการสังสรรค์เฮฮา แต่ว่ามีหน้าที่ในการหยิบเอา “ข้อด้อย” หรือ “ข้อบกพร่อง” ของคนเหล่านั้นมาขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น เพื่อที่เจ้าตัวที่คุ้นชินกับนิสัยเดิม ได้หันมาเพิ่มการพิจารณาตนเองว่าสิ่งที่เขาล้อนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือไม่

เช่นเดียวกับวรรณกรรมหรืองานทางศิลปวัฒนธรรมอีกจำนวนมากที่ใช้เรื่องตลกขำขัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านวิธีการชวนหัว เพื่อยั่วให้คนดูคนฟังและคนถูกล้อต้องกลับมาคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าเหล่านั้นมันมีประเด็นให้ต้องขบคิดจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น พรรคเกรียน หากมองด้วยสาตาของประชาชนทั่วไปอย่างผม สิ่งที่ บ.ก.ลายจุด นำเสนอหรือจุดประเด็นทางการเมืองผ่านเรื่องการสถาปนาพรรคขึ้นมาแล้วเสนอนโยบายทางการเมือง หรือคำคม ความคิด หรือเนื้อหาที่มีทีท่าล้อเลียน เสียดสี หรือบางท่านอาจจะคิดไปได้ว่าแดกดัน เย้ยหยันนั้น ล้วนกระตุกให้สาธารณชนต้องฉุกคิดว่า เรากำลังโดนครอบงำความคิดด้วยการเมืองชุดเก่าๆเดิมๆ ที่มีผู้ลงสมัครและพรรคการเมืองจำนวนมาก แสดงภาพลักษณ์จริงจัง เรียกร้องความน่าเชื่อถือจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอนโยบายพรรคที่ดูดี มีความหวัง เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้ได้ดังตั้งใจไว้  แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียง ความฝัน หรือลมปาก

ในทางกลับกัน การเล่า “ความจริง” กระทุ้งถามหา “แก่นแท้” ด้วยการลดทอนความขรึมขลังโดยอาศัยกลวิธีหยอกล้อ ยั่วเย้า อาจกลายเป็นวิธีการทำให้คนร่วมสังคมเราจำนวนมากที่คุ้นชินกับการเมืองแบบเก่า เริ่มมาสนใจการเมืองในมุมมองใหม่ ด้วยการหันมาใส่ใจกับประเด็นสำคัญ บุคคลสาธารณะ เพราะมีภาษา ท่าทาง วิธีการสื่อสาร แบบตลก อันเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย

ถ้าใครเถียงว่า “ความตลก” ไม่ใช่กระแสหลักของสังคมไทย ก็ลองไปดูเรตติ้งของรายการโทรทัศน์ หรือยอดติดตาม ไลค์ แชร์ ในอินเตอร์เน็ต ว่าเนื้อหาตลก หรือปนตลกนี่ไม่ใช่หรือที่ถือครองคะแนนนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่

หากมองผู้นำประเทศเผด็จกการอำนาจนิยมในอดีต อย่างระบอบฟาสซิสม์ด้วยสายตาปัจจุบัน แบบมองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะเห็นว่ามีตลกในตำนานอย่าง ชาร์ลี แช็ปลิน เอามาล้อจนหัวเราะท้องงอแข็ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนมีคนยึดถือเอาเป็นเอาตาย ขนาดว่าใครคัดค้านหรือต่อต้านจะได้รับภัยกับชีวิต  

ความตลกจึงเป็นเหมือนอาวุธทรงพลังในการลดทอนบารมีครอบงำจิตใจมวลชน ซึ่งทีมงานของเหล่าผู้นำเผด็จการจำนวนมากทราบดีจึงมีกุศโลบายในการสกัดกั้นการแสดงออกที่นำมาสู่การล้อเลียนผู้นำ  เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ที่จริงจัง แข็งขันของท่านผู้นำ เสื่อมบารมีลง

ความตลก จึงเป็นเหมือนอาวุธสำคัญที่เสริมพลังอำนาจให้คนธรรมดาสำคัญที่มีเพียงสมองและสองมือสามารถหยิบฉวยเอามาใช้แต่งเติมเสริมความคิดของตนให้แหลมคมและส่งไปยังมวลมหาชน หากเป็นมุขตลกที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในห้วงขณะนั้นก็จะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามถึงความจริงที่ผู้นำกลบซ่อนความบกพร่องไว้ภายใต้หน้ากากแห่งความขึงขลังดั่งกำแพงให้พังทลายลงมาได้

 บ่อยครั้งที่รัฐและผู้มีอำนาจจึงใช้วิธีการจำกัดการแสดงออกของประชาชนที่มาในรูปแบบของความตลกเฮฮา เพราะว่ามันมาพร้อมการเสียดสี แดกดัน เย้ยหยัน ให้ความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลต้องเสื่อมสลายลงไป   ยิ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์มากกว่าเนื้อหาสาระ การคงสถานะสูงส่ง หรือจริงจัง ศักดิ์สิทธิ์ เล่นไม่ได้ ก็ยิ่งกลายเป็นเสมือนป้ายห้ามขนาดใหญ่ไม่ให้มีการล้อเลียน

ดังนั้นกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีและผูกมัดรัฐไว้จึงได้ให้หลักประกันการแสดงออกของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง การล้อเลียน เล่นตลก ที่มิได้ใส่ความอันเป็นเท็จ หรือการพูดเรื่องจริงที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะมาในท่าทีล้อเล่น จึงพึงได้รับการรับรอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว