Skip to main content

หลังจากรัฐบาล คสช. ได้อนุญาตให้มีกิจกรรมทางการเมืองแบบพรรคได้ ก็ปรากฏการเปิดตัวเข้าสู่สนามการเมืองของหลากหลายกลุ่มการเมือง ทั้งที่เป็นกลุ่มการเมืองเดิม และหน้าใหม่ที่พยายามเข้ามาเสนอทางเลือกให้แหวกแนวไปกว่าเดิม  แต่พรรคที่ดึงดูดความสนใจในทิศทางทวนกระแส มีแง่คิดผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น เห็นจะไม่พ้น พรรคเกรียน ของคุณสมบัติ บุญงามองค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ที่ได้ก่อตั้งพรรค “เกรียน” ขึ้นมาแล้วไปขอจดทะเบียนตั้งพรรคกับ กกต. อย่างเป็นทางการเสียด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนพรรคเกรียนโดยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของชื่อพรรค ซึ่งดุลยพินิจของ กกต. นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกรียน” ในความหมายร่วมสมัยหรือดิจิทัลอาจหมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก่อกวนทำให้เกิดความสับสนโกลาหลขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่ง กกต. คิดว่าต้องขึงขังจริงจังและเป็นทางการอย่าง สนามการเมือง

เรื่องจึงต้องย้อนกลับมาคิดว่า “ความเป็นทางการ” หรือแม้กระทั่ง “ความสำคัญ” ของการเมืองในระบบเลือกตั้งผ่านตัวแทนแบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกด้วยท่าที “ขรึมขลัง” “ศักดิ์สิทธิ์” “จริงจัง” กันขนาดไหน จะมีที่ว่างให้กับการ ล้อเลียน เสียดสี หรือความตลกได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่จะขบให้แตกในบทความนี้

ย้อนไปในอดีตว่า “ความตลก” หรือ “ตัวตลก” มีที่ทางอย่างไรในสังคมการเมือง เท่าที่ผมค้นเจอก็จะมีเรื่องตลกหลวงในวังทั้งของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ที่ทำหน้าที่ในการล้อเลี่ยนชนชั้นสูงที่เข้าร่วมงานในวัง มิใช่แค่เพียงเพื่อการสังสรรค์เฮฮา แต่ว่ามีหน้าที่ในการหยิบเอา “ข้อด้อย” หรือ “ข้อบกพร่อง” ของคนเหล่านั้นมาขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น เพื่อที่เจ้าตัวที่คุ้นชินกับนิสัยเดิม ได้หันมาเพิ่มการพิจารณาตนเองว่าสิ่งที่เขาล้อนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือไม่

เช่นเดียวกับวรรณกรรมหรืองานทางศิลปวัฒนธรรมอีกจำนวนมากที่ใช้เรื่องตลกขำขัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านวิธีการชวนหัว เพื่อยั่วให้คนดูคนฟังและคนถูกล้อต้องกลับมาคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าเหล่านั้นมันมีประเด็นให้ต้องขบคิดจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น พรรคเกรียน หากมองด้วยสาตาของประชาชนทั่วไปอย่างผม สิ่งที่ บ.ก.ลายจุด นำเสนอหรือจุดประเด็นทางการเมืองผ่านเรื่องการสถาปนาพรรคขึ้นมาแล้วเสนอนโยบายทางการเมือง หรือคำคม ความคิด หรือเนื้อหาที่มีทีท่าล้อเลียน เสียดสี หรือบางท่านอาจจะคิดไปได้ว่าแดกดัน เย้ยหยันนั้น ล้วนกระตุกให้สาธารณชนต้องฉุกคิดว่า เรากำลังโดนครอบงำความคิดด้วยการเมืองชุดเก่าๆเดิมๆ ที่มีผู้ลงสมัครและพรรคการเมืองจำนวนมาก แสดงภาพลักษณ์จริงจัง เรียกร้องความน่าเชื่อถือจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอนโยบายพรรคที่ดูดี มีความหวัง เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้ได้ดังตั้งใจไว้  แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียง ความฝัน หรือลมปาก

ในทางกลับกัน การเล่า “ความจริง” กระทุ้งถามหา “แก่นแท้” ด้วยการลดทอนความขรึมขลังโดยอาศัยกลวิธีหยอกล้อ ยั่วเย้า อาจกลายเป็นวิธีการทำให้คนร่วมสังคมเราจำนวนมากที่คุ้นชินกับการเมืองแบบเก่า เริ่มมาสนใจการเมืองในมุมมองใหม่ ด้วยการหันมาใส่ใจกับประเด็นสำคัญ บุคคลสาธารณะ เพราะมีภาษา ท่าทาง วิธีการสื่อสาร แบบตลก อันเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย

ถ้าใครเถียงว่า “ความตลก” ไม่ใช่กระแสหลักของสังคมไทย ก็ลองไปดูเรตติ้งของรายการโทรทัศน์ หรือยอดติดตาม ไลค์ แชร์ ในอินเตอร์เน็ต ว่าเนื้อหาตลก หรือปนตลกนี่ไม่ใช่หรือที่ถือครองคะแนนนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่

หากมองผู้นำประเทศเผด็จกการอำนาจนิยมในอดีต อย่างระบอบฟาสซิสม์ด้วยสายตาปัจจุบัน แบบมองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะเห็นว่ามีตลกในตำนานอย่าง ชาร์ลี แช็ปลิน เอามาล้อจนหัวเราะท้องงอแข็ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนมีคนยึดถือเอาเป็นเอาตาย ขนาดว่าใครคัดค้านหรือต่อต้านจะได้รับภัยกับชีวิต  

ความตลกจึงเป็นเหมือนอาวุธทรงพลังในการลดทอนบารมีครอบงำจิตใจมวลชน ซึ่งทีมงานของเหล่าผู้นำเผด็จการจำนวนมากทราบดีจึงมีกุศโลบายในการสกัดกั้นการแสดงออกที่นำมาสู่การล้อเลียนผู้นำ  เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ที่จริงจัง แข็งขันของท่านผู้นำ เสื่อมบารมีลง

ความตลก จึงเป็นเหมือนอาวุธสำคัญที่เสริมพลังอำนาจให้คนธรรมดาสำคัญที่มีเพียงสมองและสองมือสามารถหยิบฉวยเอามาใช้แต่งเติมเสริมความคิดของตนให้แหลมคมและส่งไปยังมวลมหาชน หากเป็นมุขตลกที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในห้วงขณะนั้นก็จะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามถึงความจริงที่ผู้นำกลบซ่อนความบกพร่องไว้ภายใต้หน้ากากแห่งความขึงขลังดั่งกำแพงให้พังทลายลงมาได้

 บ่อยครั้งที่รัฐและผู้มีอำนาจจึงใช้วิธีการจำกัดการแสดงออกของประชาชนที่มาในรูปแบบของความตลกเฮฮา เพราะว่ามันมาพร้อมการเสียดสี แดกดัน เย้ยหยัน ให้ความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลต้องเสื่อมสลายลงไป   ยิ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์มากกว่าเนื้อหาสาระ การคงสถานะสูงส่ง หรือจริงจัง ศักดิ์สิทธิ์ เล่นไม่ได้ ก็ยิ่งกลายเป็นเสมือนป้ายห้ามขนาดใหญ่ไม่ให้มีการล้อเลียน

ดังนั้นกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีและผูกมัดรัฐไว้จึงได้ให้หลักประกันการแสดงออกของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง การล้อเลียน เล่นตลก ที่มิได้ใส่ความอันเป็นเท็จ หรือการพูดเรื่องจริงที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะมาในท่าทีล้อเล่น จึงพึงได้รับการรับรอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา