Skip to main content

เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเหล่านี้อยู่เนืองๆ
                แต่ถ้าลองไปทบทวนตัวเลขสถิติทั้งหลายจะพบความเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรไทยมานับสิบปีแล้ว   กล่าวคือ   ชาวนา ไม่ใช่เกษตรกรส่วนใหญ่   และเกษตรกรมิใช่คนส่วนใหญ่ของคนในประเทศ    ที่พูดเช่นนี้ มิได้หมายความว่า เกษตรกร หรือชาวนาไม่สำคัญ   แต่ต้องการย้ำว่า หากจะสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับเกษตรกรจะต้องเข้าใจ ภาคเกษตร เสียใหม่ให้ตรงกับความเป็นไปในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน รสนิยมในการกินข้าวหรือแป้ง ลดลงตามกระแสการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับ คนที่ทำอาชีพใช้แรงงานที่ต้องบริโภคแป้งจำนวนมากในแต่ละวันก็ลดลง    สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ การบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป    หากไปดูจำนวนสัดส่วนเกษตรกรจะพบว่า เกษตรกรในพืชหรือปศุสัตว์เชิงพาณิชย์มีมากขึ้น   และชาวนารายย่อย/เพื่อยังชีพอย่างเดียว   น้อยลงไปมาก   ชาวนาที่มีลักษณะเป็นผู้จัดการนา เจ้าของที่นา หรือคนเช่านา หรือแรงงานเกษตรรับจ้าง มีมากขึ้น

                ยิ่งในช่วงนอกหน้าเกษตรกรรม เกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานหรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จึงมักออกไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่เสมอ ทำให้ตัวเลขแรงงานภาคเกษตรกับบริการในประเทศไทยเหวี่ยงไปมา   

                ทั้งที่ นักคิดนโยบายทั้งหลาย ก็รู้ว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจยืนอยู่บนภาคบริการ หรือการประกอบการรายย่อยไปตั้งนานแล้ว    การทำเกษตรก็อยู่ในลักษณะเกษตรเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมการเกษตร

                หากจะทบทวนสถานการณ์ด้านการเกษตร จึงหนีไม่พ้นที่ต้องตอบเรื่องดังต่อไปนี้

  1. หากมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในสินค้าหนึ่ง แล้วจะทำให้เกษตรกรในสินค้าอื่นๆ สงบได้อย่างไร   เช่น   การมีนโยบายเน้นช่วยเหลือชาวนา  จะทำให้ชาวสวนยาง ผู้ปลูกพืชไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ อีกมากมายที่จ้องตาไม่กระพริบรู้สึกอย่างไร   เกษตรกรคงมีคำถามว่าทำไมตนไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ตนไม่ใช่ประชาชน ไม่มีคะแนนเสียงหรืออยางไร   ก็เป็นปัญหาการจัดการมวลชนที่อาจเดินทางเข้ามาอีกในอนาคต
  2. หากมีการอุดหนุนสินค้าเกษตรหนึ่ง  เช่น   ข้าว และยางพารา   ก็กลายเป็น “สัญญาณ” ทำให้เกษตรกรเห็นว่า นี่คือ สินค้าที่ควรผลิต   การปลูกข้าวจะไม่ลดลง การปลูกยางพารา อาจจะมากขึ้น   ซึ่งไปถมทับปัญหาเดิมที่คนแก้ไขปัญหาต้องเจออยู่แล้ว คือ สินค้าที่รัฐเข้ามาอุ้มมีการผลิต “มากกว่าความต้องการของตลาด” นั่นเอง
  3. การลดต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งที่เกษตรกรปรารถนาเสมอ เมื่อลงพื้นที่ไปทำวิจัย หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ   เช่น   อยากให้ลดค่าปุ๋ย ค่ายา หรือว่าค่าเช่าที่ดิน ไปจนถึงดอกเบี้ยเงินกู้   ซึ่งทุกรัฐบาลก็รู้และได้เรียกเจ้าของกิจการต่างๆ เข้ามาหารือ แต่ยังการบังคับใช้กฎหมายด้านการเกษตรอย่างเข้มข้น   ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางเลือกของรัฐบาล หากมุ่งหวังจะเพิ่มตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยการเอาใจนักลงทุน
  4. การช่วยเหลือด้านที่ดินทำกิน และชลประทาน อาจไม่พออีกต่อไป เมื่อ สิ่งสำคัญยังไม่ถูกแก้ไขนั่น คือ กรรมสิทธิ์ในพันธุกรรมพืช และสัตว์   การแก้ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์พืช หรือตัวอ่อนสัตว์   กลายเป็นเรื่องสำคัญในโลกที่มีเทคโนโลยีพันธุกรรม เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ไปแล้ว    ความหวังยังมีในชุมชนที่รักษาพันธุ์และนักพัฒนาสายพันธุ์ของรัฐที่ยังมีอุดมการณ์
  5. หากนโยบายเกษตรกรรมมีเป้าหมายในเชิงการเมือง หวังเพิ่มความนิยมในรัฐบาล ก็ต้องตั้งคำถามว่า มีคนที่ได้รับประโยชน์ที่ปลายทางของนโยบายมากขนาดไหน   โครงการที่มีเงินอัดฉีดเข้ามา อาจไปไม่ถึงมือชาวนาและเกษตรกรที่รออย่างมีความหวังก็ได้   คนที่ฝันแล้วผิดหวัง ก็มักมีความเดือดดาลอยู่ในใจ ทำให้นโยบายได้ผลมุมกลับ
  6. การเพิ่มความสามารถทางการธุรกิจให้เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร   การผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเรื่องการผลิตเพื่อขาย มิใช่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน(แบบสังคมชาวนาดั้งเดิม)   ดังนั้นทางรอดจริงๆ แบบที่รัฐไม่ต้องเข้าไปอุ้มตลอด คือ การพัฒนาสหกรณ์หรือยกระดับเป็นการตั้ง “บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแห่งประเทศไทย”   เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้เกษตรกร และถ่วงดุลผูกขาดที่เป็นปัญหาบ่อนเซาะ “ประสิทธิภาพ” ในตลาดสินค้าเกษตรไทย มาอย่างยาวนาน
  7. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาการกระจายสินค้า ตั้งแต่ ระบบราง ระบบเชื่อมท้องถิ่นเข้ากับราง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กลุ่มเกษตรกรติดต่อโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น   และเป็นโอกาสที่จะสร้างงานให้คนจบใหม่ด้านเทคโนโลยีได้มีงานทำ ผ่านโครงการพัฒนาระบบในชุมชนท้องถิ่นต่างๆไปด้วย
  8. การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาการคุกคามจากผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย   เพื่อให้เสียงของเกษตรกรในท้องถิ่นดังมาถึงผู้สร้างนโยบายสาธารณะในส่วนกลางให้ได้
  9. การทำโครงการส่งเสริมการเข้าครัวปรุงอาหารของร้านตามสั่ง หรือในครัวเรือน ให้นำสินค้าเกษตรทั้งหลายมาปรุงเพื่อทำให้เกิด รสนิยมในการใช้สินค้าไทย   มิใช่เพียงแต่ทำแคมเปญให้กินของไทย  แต่ไม่บอกว่าทำยังไง   รายการทำอาหารต่างๆ เป็นช่องทางในการริเริ่มโครงการเอาสินค้าเกษตรไทยมาปรุง กระตุ้นยอดซื้อ

สิ่งที่นำเสนอไปอาจไม่ใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลไหนทำได้ คงกำชัยชนะเหนือใจเกษตรกรเป็นแน่

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี