Skip to main content

เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเหล่านี้อยู่เนืองๆ
                แต่ถ้าลองไปทบทวนตัวเลขสถิติทั้งหลายจะพบความเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรไทยมานับสิบปีแล้ว   กล่าวคือ   ชาวนา ไม่ใช่เกษตรกรส่วนใหญ่   และเกษตรกรมิใช่คนส่วนใหญ่ของคนในประเทศ    ที่พูดเช่นนี้ มิได้หมายความว่า เกษตรกร หรือชาวนาไม่สำคัญ   แต่ต้องการย้ำว่า หากจะสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับเกษตรกรจะต้องเข้าใจ ภาคเกษตร เสียใหม่ให้ตรงกับความเป็นไปในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน รสนิยมในการกินข้าวหรือแป้ง ลดลงตามกระแสการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับ คนที่ทำอาชีพใช้แรงงานที่ต้องบริโภคแป้งจำนวนมากในแต่ละวันก็ลดลง    สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ การบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป    หากไปดูจำนวนสัดส่วนเกษตรกรจะพบว่า เกษตรกรในพืชหรือปศุสัตว์เชิงพาณิชย์มีมากขึ้น   และชาวนารายย่อย/เพื่อยังชีพอย่างเดียว   น้อยลงไปมาก   ชาวนาที่มีลักษณะเป็นผู้จัดการนา เจ้าของที่นา หรือคนเช่านา หรือแรงงานเกษตรรับจ้าง มีมากขึ้น

                ยิ่งในช่วงนอกหน้าเกษตรกรรม เกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานหรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จึงมักออกไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่เสมอ ทำให้ตัวเลขแรงงานภาคเกษตรกับบริการในประเทศไทยเหวี่ยงไปมา   

                ทั้งที่ นักคิดนโยบายทั้งหลาย ก็รู้ว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจยืนอยู่บนภาคบริการ หรือการประกอบการรายย่อยไปตั้งนานแล้ว    การทำเกษตรก็อยู่ในลักษณะเกษตรเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมการเกษตร

                หากจะทบทวนสถานการณ์ด้านการเกษตร จึงหนีไม่พ้นที่ต้องตอบเรื่องดังต่อไปนี้

  1. หากมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในสินค้าหนึ่ง แล้วจะทำให้เกษตรกรในสินค้าอื่นๆ สงบได้อย่างไร   เช่น   การมีนโยบายเน้นช่วยเหลือชาวนา  จะทำให้ชาวสวนยาง ผู้ปลูกพืชไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ อีกมากมายที่จ้องตาไม่กระพริบรู้สึกอย่างไร   เกษตรกรคงมีคำถามว่าทำไมตนไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ตนไม่ใช่ประชาชน ไม่มีคะแนนเสียงหรืออยางไร   ก็เป็นปัญหาการจัดการมวลชนที่อาจเดินทางเข้ามาอีกในอนาคต
  2. หากมีการอุดหนุนสินค้าเกษตรหนึ่ง  เช่น   ข้าว และยางพารา   ก็กลายเป็น “สัญญาณ” ทำให้เกษตรกรเห็นว่า นี่คือ สินค้าที่ควรผลิต   การปลูกข้าวจะไม่ลดลง การปลูกยางพารา อาจจะมากขึ้น   ซึ่งไปถมทับปัญหาเดิมที่คนแก้ไขปัญหาต้องเจออยู่แล้ว คือ สินค้าที่รัฐเข้ามาอุ้มมีการผลิต “มากกว่าความต้องการของตลาด” นั่นเอง
  3. การลดต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งที่เกษตรกรปรารถนาเสมอ เมื่อลงพื้นที่ไปทำวิจัย หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ   เช่น   อยากให้ลดค่าปุ๋ย ค่ายา หรือว่าค่าเช่าที่ดิน ไปจนถึงดอกเบี้ยเงินกู้   ซึ่งทุกรัฐบาลก็รู้และได้เรียกเจ้าของกิจการต่างๆ เข้ามาหารือ แต่ยังการบังคับใช้กฎหมายด้านการเกษตรอย่างเข้มข้น   ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางเลือกของรัฐบาล หากมุ่งหวังจะเพิ่มตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยการเอาใจนักลงทุน
  4. การช่วยเหลือด้านที่ดินทำกิน และชลประทาน อาจไม่พออีกต่อไป เมื่อ สิ่งสำคัญยังไม่ถูกแก้ไขนั่น คือ กรรมสิทธิ์ในพันธุกรรมพืช และสัตว์   การแก้ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์พืช หรือตัวอ่อนสัตว์   กลายเป็นเรื่องสำคัญในโลกที่มีเทคโนโลยีพันธุกรรม เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ไปแล้ว    ความหวังยังมีในชุมชนที่รักษาพันธุ์และนักพัฒนาสายพันธุ์ของรัฐที่ยังมีอุดมการณ์
  5. หากนโยบายเกษตรกรรมมีเป้าหมายในเชิงการเมือง หวังเพิ่มความนิยมในรัฐบาล ก็ต้องตั้งคำถามว่า มีคนที่ได้รับประโยชน์ที่ปลายทางของนโยบายมากขนาดไหน   โครงการที่มีเงินอัดฉีดเข้ามา อาจไปไม่ถึงมือชาวนาและเกษตรกรที่รออย่างมีความหวังก็ได้   คนที่ฝันแล้วผิดหวัง ก็มักมีความเดือดดาลอยู่ในใจ ทำให้นโยบายได้ผลมุมกลับ
  6. การเพิ่มความสามารถทางการธุรกิจให้เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร   การผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเรื่องการผลิตเพื่อขาย มิใช่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน(แบบสังคมชาวนาดั้งเดิม)   ดังนั้นทางรอดจริงๆ แบบที่รัฐไม่ต้องเข้าไปอุ้มตลอด คือ การพัฒนาสหกรณ์หรือยกระดับเป็นการตั้ง “บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแห่งประเทศไทย”   เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้เกษตรกร และถ่วงดุลผูกขาดที่เป็นปัญหาบ่อนเซาะ “ประสิทธิภาพ” ในตลาดสินค้าเกษตรไทย มาอย่างยาวนาน
  7. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาการกระจายสินค้า ตั้งแต่ ระบบราง ระบบเชื่อมท้องถิ่นเข้ากับราง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กลุ่มเกษตรกรติดต่อโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น   และเป็นโอกาสที่จะสร้างงานให้คนจบใหม่ด้านเทคโนโลยีได้มีงานทำ ผ่านโครงการพัฒนาระบบในชุมชนท้องถิ่นต่างๆไปด้วย
  8. การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาการคุกคามจากผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย   เพื่อให้เสียงของเกษตรกรในท้องถิ่นดังมาถึงผู้สร้างนโยบายสาธารณะในส่วนกลางให้ได้
  9. การทำโครงการส่งเสริมการเข้าครัวปรุงอาหารของร้านตามสั่ง หรือในครัวเรือน ให้นำสินค้าเกษตรทั้งหลายมาปรุงเพื่อทำให้เกิด รสนิยมในการใช้สินค้าไทย   มิใช่เพียงแต่ทำแคมเปญให้กินของไทย  แต่ไม่บอกว่าทำยังไง   รายการทำอาหารต่างๆ เป็นช่องทางในการริเริ่มโครงการเอาสินค้าเกษตรไทยมาปรุง กระตุ้นยอดซื้อ

สิ่งที่นำเสนอไปอาจไม่ใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลไหนทำได้ คงกำชัยชนะเหนือใจเกษตรกรเป็นแน่

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,