Skip to main content

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว

การแก้ไขข้อจำกัดในส่วนของการดำเนินธุรกิจของบรรษัทและภาคเอกชน  เช่น การปรับปรุงกฎหมายเรื่องตราสารหนี้ ตราสารทุน การเปิดช่องให้การบริหารจัดการสตาร์ทอัพดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงานในรูปผลตอบแทนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ล้วนสะท้อนให้เห็นความตื่นตัวในการอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจเอกชน

แต่สิ่งที่สำคัญเบื้องต้น คือ การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการในตลาดอิเล็กทรอนิคส์ (E-Market) โดยมิได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่หมายรวมถึงผู้ชี้บริการจากทั่วทุกมุมโลก หากต้องการขยายศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาดของไทยให้ก้าวหน้า

การสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งไทยและต่างประเทศย่อมต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่มีการใช้กันอยู่ในตลาดชั้นนำของโลก เพราะผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงความคุ้นเคยที่ได้รับการประกันสิทธิตามมาตรฐานที่ตนเคยได้รับอยู่ในโลกของตนเป็นหลัก  

ประเทศไทยเลือกมาตรฐานใด? จะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มไหน?  จึงเป็นคำถามหลักที่ต้องตอบ

โลกมีกลุ่มประเทศที่ใช้ระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์หรือจัดการกับตลาดดิจิทัลที่แตกต่างกันอยู่ โดยแบ่งออกเป็นกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

1)       กลุ่มที่ไม่มีมาตรฐานหรือระบอบใดๆเลย เช่น ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาที่ความก้าวหน้าของเอกชนและเทคโนโลยีนำสังคม รัฐยังมิได้ออกมาตรการหรือกฎหมายใดๆมาสร้างกรอบกำกับดูแล

2)       กลุ่มที่รัฐมีมาตรฐานในใจและผลักดันนโยบายที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ(บาล) เป็นที่ตั้ง เช่น ประเทศมหาอำนาจและประเทศที่อยู่นอกระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย

3)       กลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดและใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืน

 

จริงอยู่ที่รัฐทุกรัฐ รวมถึงรัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยในการเลือกระบอบและนโยบายได้เองโดยไม่ต้องเชื่อฟังรัฐอื่นใด  แต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่า คือ เราต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร อยากเจาะตลาดไหน ย่อมต้องสมาทานกฎหมายและนโยบายของประเทศเหล่านั้นเข้ามาเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองของผู้บริโภคในตลาดนั้นด้วย

หากประเทศไทยมุ่งไปในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา หรือไร้มาตรการดูแลผู้บริโภคในตลาด สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ ความไม่แน่นอนของตลาด เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนมั่นคง  การบุกไปตลาดเหล่านั้นก็จะมีต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนแอบแฝง เนื่องจากต้องคอยประสานกับรัฐ หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลในตลาดเหล่านั้น  หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง โดยที่ไม่แน่ใจว่าวันนึงจะถูกสั่งปิด หรือสั่งให้ทำอะไรที่ทำลายแบรนด์และความน่าเชื่อถือของบริษัทตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลประเทศที่ไปลงทุนหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตกไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไร้มาตรการปกป้องผู้บริโภค และไม่มีหลักประกันสิทธิผู้ใช้บริการที่คำนึงสิทธิมนุษยชนแล้ว  ตลาดของประเทศไทยก็จะเป็น “ท่าเรือที่ไม่น่าเข้าเทียบจอด” เพราะไม่อาจประกันความปลอดภัยให้กับชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการทางดิจิทัลได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามโครงการ ดิจิทัลฮับ ของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้  

หากประเทศไทยอยากดึงดูดบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลกให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์หรือวางระบบปฏิบัติการของตนในประเทศไทย   ที่ปรึกษาของบรรษัททั้งหลายก็จะพิจารณาก่อนว่าหากนำ “ทรัพย์สินและระบบ” ของตนไปวางในราชอาณาจักรไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง?

ประเด็นกฎหมายที่กำลังมาแรงและเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาของธุรกิจดิจิทัล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เนื่องจากผู้บริโภคตื่นตัวหลังจากมีเปิดเผยให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐแฮ็ค ดักข้อมูล หรือมีข้อตกลงกับบรรษัท โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อเทคโนโลยีลดลง และมีการเลิกใช้บริการของบางบริษัทที่มีข่าวว่าร่วมมือกับรัฐบาล หรือไม่มีมาตรการที่ดีพอในการปกป้องประชาชน  นั่นคือ แบรนด์ของบริษัทเสียหาย

ในทางกลับกัน ถ้ากฎหมายภายในของไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่ำ บริษัทสัญชาติไทยก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาดที่มาตรฐานสูงกว่าไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไข “ห้ามส่งข้อมูลไปยังดินแดนที่มาตรฐานต่ำกว่า” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย และหน่วยงานที่ผลักดันโครงการดิจิทัลฮับทราบหรือไม่!!!

หากประเทศไทยอยากจะเป็น ดิจิทัลฮับระดับโลก ที่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุน หรือส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติไทย หรือบริษัทที่มาฝากระบบไว้ในดินแดนไทย สามารถเจาะตลาดอื่นได้ โดยเฉพาะตลาดที่ยั่งยืนมั่นคงและมีกำลังซื้อสูงแล้วอย่าง ตลาดประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย

การมีกฎหมายและนโยบายที่ประกันสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นทั้งเสาหลักและสปริงบอร์ดให้สตาร์ทอัพดิจิทัลของไทย และเป็นหลักประกันความมั่นใจให้บริษัทดิจิทัลใหญ่ๆทั่วโลกตัดสินใจมาฝากระบบไว้ในประเทศ

การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยในปี 2016 จึงเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมารฐานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับโลก

คำถามคือไทยมีพระราชาบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “ที่ได้มาตรฐานสากล” หรือไม่?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต