Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว

                แต่เมื่อถึงมหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิก เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และตอนนี้ก็คือฟุตบอลโลก ก็ดูเหมือนสีสันของธงชาติกลับโบกสะบัดพลิ้วไหวให้คึกคักไปกับภาวะชาตินิยมกลายๆไปด้วย

                ในอารยประเทศ นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่ประชาชนสามารถแสดงออกความคลั่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพราะถือว่าเป็นกิจกรรมบันเทิงส่วนตัวที่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น และไม่นำไปสู่การเหยียดหยามเชื้อชาติ   จะเป็นก็แต่เพียงการล้อเล่นเย้ยหยันเพื่อความบันเทิงเท่านั้น โดยมีกติการ่วมกันในใจว่า นี่คือ กีฬา จบแล้วก็เหลือเพียงน้ำใจในฐานะคอกีฬาเดียวกัน 

                แต่หากอารมณ์ไม่จบในสนามลุกลามออกมานอกพื้นที่จำกัด แล้วแสดงออกมาด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยวาจาเหยียดหยาม อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สินแล้วล่ะก็ อันธพาลเหล่านั้นจำต้องได้รับโทษทัณฑ์จากบ้านเมืองและถูกประณามจากสังคมเป็นแน่แท้

                สิ่งหนึ่งที่ใกล้เคียงและจำต้องพูดเพราะเป็นปัญหาที่เกิดควบคู่กับทุนนิยมแบบโลกาภิวัฒน์นั่นก็คือ การเคลื่อนย้ายของผู้คนในนามของ ผู้อพยพ หรือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกระจายเข้าไปรับงานสกปรก ด้อยศักดิ์ศรี และอันตรายในประเทศที่มีรายได้หรือคุณภาพชีวิตดีกว่า   และในทางกลับกันพลเมืองของประเทศพัฒนาแล้วก็กำลังสูญเสียอาชีพและรายได้เนื่องจากกลุ่มทุนได้ย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศไปแสวงหาต้นทุนราคาถูกในประเทศที่มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า

                เมื่อคนสองกลุ่มเผชิญหน้ากันบนพื้นฐานของ “การได้เสีย” ย่อมเกิดการเปรียบเทียบและเดียดฉันท์กันขึ้นมาหากไม่อาจวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการบีบคั้นของทุนข้ามชาติได้อย่างถ่องแท้  โวหาร “แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนท้องถิ่น”  หรือ “ผู้อพยพเข้ามาก่อปัญหาสังคม”  ที่ดังก้องย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการขาดไร้จินตนาการในการพิเคราะห์ปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง

                สิ่งที่เกิด ณ ขณะปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนของเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต แลกเปลี่ยน บริโภคภายใต้ตรรกะของทุนนิยมแบบตลาดที่ได้กระจายเข้าไปอยู่ในชีวิตจิตใจของใครหลายคน   ดังปรากฏการสร้างภาพฝันเรื่องการ ลงทุนโดยไม่ต้องลงแรง เป็นอิสระจากการเข้างานเป็นเวลาตอกบัตร หรือติดแหง็กอยู่ในที่ทำงาน และแน่นอนจะต้องรวยเร็วด้วย เพื่อจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุขไปด้วยการกิน เที่ยว และเอ็นเตอร์เทนตัวเองด้วยการโชว์ออฟผ่านสื่อ

                ภาพฝันเหล่านี้ได้ผลักดันให้เกิดงานใหม่ๆที่กระจายไปตามครัวเรือน และร้านกาแฟอย่างรวดเร็ว แต่เดิมที่ผู้ประกอบการต้องลงทุนสร้าง/เช่าสำนักงานเพื่อให้ทุกคนมาทำงานร่วมกันแล้วควบคุมตารางเวลางานเพื่อจ่ายค่าจ้างตามเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจน   กลายเป็นคนรุ่นใหม่ยินดีรับงานไปทำเอง บนค่าใช้จ่ายของตัวเอง และแบกรับภาระงานเข้าไปผสมกับเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันหามรุ่งหามค่ำเพื่อให้ได้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย โดยรายได้ก็ต้องบี้กับคู่แข่งรายอื่นที่ล่องลอยอยู่ในตลาดแรงงานอิสระอีกมากมายเช่นกัน

                คนรุ่นใหม่อีกไม่น้อยก็ใช้ทักษะทุกอย่างที่ตนมีผลักดันให้ตนขึ้นเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการออนไลน์โดยไม่ต้องอยู่ใต้นายจ้างคนไหนแต่ข้อมูลที่ตนผลิตและเรียกลูกค้าเข้ามาใช้เวลาในสื่อโซเชียลเหล่านั้นเข้ากระเป๋าเจ้าของแพลตฟอร์มเต็มๆ 

เช่นเดียวกับ ผู้รับจ้างขับรถภายใต้แอพพลิเคชั่น หรือการนำที่อยู่อาศัยของตนมาปล่อยเช่าในเว็บไซต์ระดับโลก  โดยที่ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่ง และข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดให้กับผู้ประกอบการที่อยู่จุดใดของโลกก็ไม่อาจทราบได้

ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดต้องการสะท้อนว่า “ไม่มีของฟรีในโลกฉันใด ไม่มีงานประจำก็ไม่มีสวัสดิการฉันนั้น”   ความอิสระและความสุขที่เกิดจากการไร้เจ้านายไม่ผูกติดกับสถานประกอบการนั้น แท้จริงคือ การอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ต้องแบกรับความเสี่ยงในชีวิตและสุขภาพเอาเอง และเมื่อยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเร็ววันก็ยิ่งไปเพิ่มความเครียดสะสมจนกลายเป็นความเครียดและซึมเศร้านั่นเอง

ประสบการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นทศวรรษในประเทศพัฒนาแล้ว จนคนท้องถิ่นที่สูญเสียงานและคนรุ่นใหม่ที่รู้สึกชีวิตเสี่ยง หันไปชี้เป้าที่คนอพยพแรงงานข้ามชาติว่าเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์   โดยที่ไม่ได้มองไปยังสาเหตุที่แท้นั่นคือ การขูดรีดของกลุ่มทุนข้ามชาติ ผสมโรงด้วยการผลักภาระในการดูแลสวัสดิการแรงงานทั้งจากผู้ประกอบการและรัฐ นั่นเอง

ความเจ็บแค้นนี้นำไปสู่ภาวะเหยียดผู้ที่มาใหม่แล้วไปเร้าอารมณ์คลั่งชาติที่สะท้อนผ่านการตัดสินใจทางการเมืองจำนวนมากที่น่าตกใจ เช่น การลงคะแนนเอาสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป การเลือกผู้นำขวาจัดที่มีนโยบายชาตินิยมรุนแรง ซึ่งล้วนแต่สร้างปัญหาเพิ่มเติม โดยที่ไม่ได้แก้ปัญหาต้นทางที่เกิดจากระบบทุนนิยมที่มิได้กระจายโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างเท่าเทียม และไม่มีระบบเปลี่ยนผลกำไรของกลุ่มทุนให้ย้อนมาเป็นสวัสดิการของคนในสังคม

พลเมืองโลกควรควบคุมความคลั่งชาติให้อยู่ในสนามก่อนเกมส์จบเท่านั้น

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2