Skip to main content

การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช. เป็นผู้ผลักดัน  บทความนี้จะไม่พูดถึงเนื้อหา เพราะได้มีข่าวเจาะจำนวนมากตีแผ่กันไปแล้ว แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้เจาะลึกให้สะเด็ดน้ำ คือ ทำไมคนจำนวนมากจึงตื่นตระหนกกับการผลักดันร่างแก้ไขฉบับนี้  และประเด็นไหนที่ “จุดติด” ในหมู่มวลมหาประชาชาวเน็ต

ขบวนการที่ผลักดันและมีมาตรการรุนแรงต่อเนื่อง คือ กลุ่มชาวเน็ตที่เกรงว่า พรบ.คอมพ์ จะก้าวล่วงล้วงมาดู “ชีวิตส่วนตัว” ในโลกออนไลน์มากที่สุด  มากกว่าประเด็น การเซ็นเซอร์ หรือการใช้ พรบ.คอมพ์ฯ ปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองเสียอีก   ดังปรากฏว่า มีการลากประเด็นการแก้ไข พรบ.คอมพ์ไปเชื่อมโยงกับโครงการรวบประตูไหลเวียนการจราจรอินเตอร์เน็ตมาอยู่ที่ช่องทางเดียว (พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์) ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง

แต่ประเด็น คือ ทำไมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตระหนกกับการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว มากกว่า การจำกัดการแสดงออก นั่นเอง

ทำไมคนไทยกลัว การสอดส่องด้วย Single Gateway ซึ่งละเมิดความเป็นส่วนตัว/ข้อมูลส่วนบุคคล มากกว่า การเซ็นเซอร์โดย พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ ที่กระเทือนเสรีภาพในการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิตัลและสังคมอุดมปัญญาพัฒนาเพราะความสร้างสรรค์เกิดจากการทำลายกรอบ หรือไร้กรอบ  นั่นคือ “ไม่ถูกจับจ้องควบคุม”
จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องลองวิเคราะห์ว่า ใคร ทำอะไร ในอินเตอร์เน็ต ถึงไม่อยากให้รัฐสอดส่อง
กลุ่มคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ (New Generation) ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก   คนกลุ่มนี้มีกิจกรรมเชิงผลประโยชน์ในโลกออนไลน์มหาศาล และไม่ต้องการให้ใครทราบถึงรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินการลงทุนผ่านโลกไซเบอร์

กลุ่มหลักๆ ที่เติบโตมากในระบบเศรษฐกิจไทย คือ
1) พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของวัฒนธรรม “ฝากร้านด้วยจ้า”

2) นักลงทุนดิจิตัล ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกที อาทิ เทรดเดอร์ FOREX, หุ้น, กองทุน, ตราสาร, เงิน, ทอง, น้ำมัน, สินค้าเกษตรล่วงหน้า

พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากธรรมชาติเดิมของการรณรงค์ประเด็นความเป็นธรรมทางสังคม ที่เน้นไปจับ กลุ่มคนที่มีสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะพลเมืองที่ตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งนับวันจะมีอัตราส่วนน้อย เพราะโดนตลาดบีบให้ทุ่มเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการ ดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ในสังคมทุนนิยมที่มีความอ่อนแอเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเช่นไทย   ความเสี่ยงในชีวิตส่วนตัวนี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาก พุ่งความสนใจไปที่เรื่อง “ผลประโยชน์ส่วนตน” มากกว่า “สำนึกเกี่ยวกับสาธารณะ” ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้อื่น หรือการสร้างสังคมในอุดมคติเพื่อปวงชนเลย

การสนใจเรื่องส่วนตัวนี่แหละที่ทำให้ประเด็น “ความเป็นส่วนตัว” สำคัญมากกับชาวเน็ต มากกว่า “ประเด็นสาธารณะ” ที่ต้องการคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม   การรณรงค์ต่างๆ ที่จะได้รับความนิยม มีผู้ติดตามเข้าร่วมผลักดันประเด็นด้วยจำนวนมาก จึงต้องขยายไปทำงานกับคนกลุ่มหลักๆที่เป็นคนที่มีส่วนได้เสียในโลกออนไลน์อย่างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักเทรดดิจิตัลมากขึ้น นั่นเอง

นี่ยังไม่รวมถึงคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเชิงสันทนาการที่ต้องการความปลอดโปร่งโล่งสบาย ไร้คนจดจ้องในยามพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่า
1) เกมเมอร์ส
2) นักดูหนังและซีรีส์
3) นักเสพสื่อสายดาร์ค
4) นักปฏิบัติการด้านลิขสิทธิซ้ายและส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะวัฒนธรรมแม้ฐานะยากจน (นักอัพ/โหลด)

ก็อย่างที่รู้กัน ขบวนการที่สำเร็จมักมีลักษณะรวมแม่น้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน นั่นเอง (Inclusive Stake-Holders) การผลิตสื่อและเคลื่อนขบวนให้โดนกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 

กลับกันหากรัฐจะลดกระแสต่อต้านก็ต้องสนองตอบความกังวลของคนกลุ่มนี้ในประเด็นประกันความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

หากรัฐบาลต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลให้สตาร์ทอัพด้านไอทีมีลู่ทางในการเติบโตทางธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   การพร่ำพูดซ้ำๆว่าให้เชื่อใจว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้เข้าไปจับจ้องท่าน หรือพูดทำนองว่า “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” ถือว่าไม่เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง

เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาก ย่อมรู้ดีว่าการนำเข้าข้อมูลเท็จมาฝากในเครื่องมือสื่อสารโดยอาศัยซอฟแวร์และมัลแวร์ต่างๆ เป็นไปได้หากมีทรัพยากรมากแบบรัฐ   ยิ่งถ้ารัฐล่วงรู้หมดว่า ใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไหร่ ถี่แค่ไหน ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใด  ย่อมเป็นที่สยดสยองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแน่นอน

ยิ่งไปพ่วงกับการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลหลายอย่าง อาทิ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ เลขบัญชี ข้อมูลทางการเงิน การเสียภาษี แล้วผูกเข้าไปกับกิจกรรมในเครื่องมือสื่อสาร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตย่อมรู้สึกถูกต้นจนมุม ไม่เหลือพื้นที่สบายๆ ไว้ให้ผ่อนคลายอีกเลย

ความผ่อนคลายนี่แหละ คือ ที่มาของการจับจ่ายใช้สอยในอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และโครงการซิงเกิลเกตเวย์โดยตรง อย่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องออกแบบให้ ความไว้ใจของพลเมืองเน็ตเป็นที่ตั้ง  มิใช่ทำตัวเป็น #เทศกิจออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์ #มาเฟียดิจิตัล

หาไม่แล้ว เศรษฐกิจดิจตัล ก็เป็นเพียงอีกโวหารที่ผลาญงบประมาณแต่ไม่สร้างงานสร้างรายได้ให้คนรุ่นใหม่แต่อย่างใด
 

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม