Skip to main content

การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช. เป็นผู้ผลักดัน  บทความนี้จะไม่พูดถึงเนื้อหา เพราะได้มีข่าวเจาะจำนวนมากตีแผ่กันไปแล้ว แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้เจาะลึกให้สะเด็ดน้ำ คือ ทำไมคนจำนวนมากจึงตื่นตระหนกกับการผลักดันร่างแก้ไขฉบับนี้  และประเด็นไหนที่ “จุดติด” ในหมู่มวลมหาประชาชาวเน็ต

ขบวนการที่ผลักดันและมีมาตรการรุนแรงต่อเนื่อง คือ กลุ่มชาวเน็ตที่เกรงว่า พรบ.คอมพ์ จะก้าวล่วงล้วงมาดู “ชีวิตส่วนตัว” ในโลกออนไลน์มากที่สุด  มากกว่าประเด็น การเซ็นเซอร์ หรือการใช้ พรบ.คอมพ์ฯ ปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองเสียอีก   ดังปรากฏว่า มีการลากประเด็นการแก้ไข พรบ.คอมพ์ไปเชื่อมโยงกับโครงการรวบประตูไหลเวียนการจราจรอินเตอร์เน็ตมาอยู่ที่ช่องทางเดียว (พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์) ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง

แต่ประเด็น คือ ทำไมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตระหนกกับการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว มากกว่า การจำกัดการแสดงออก นั่นเอง

ทำไมคนไทยกลัว การสอดส่องด้วย Single Gateway ซึ่งละเมิดความเป็นส่วนตัว/ข้อมูลส่วนบุคคล มากกว่า การเซ็นเซอร์โดย พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ ที่กระเทือนเสรีภาพในการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิตัลและสังคมอุดมปัญญาพัฒนาเพราะความสร้างสรรค์เกิดจากการทำลายกรอบ หรือไร้กรอบ  นั่นคือ “ไม่ถูกจับจ้องควบคุม”
จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องลองวิเคราะห์ว่า ใคร ทำอะไร ในอินเตอร์เน็ต ถึงไม่อยากให้รัฐสอดส่อง
กลุ่มคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ (New Generation) ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก   คนกลุ่มนี้มีกิจกรรมเชิงผลประโยชน์ในโลกออนไลน์มหาศาล และไม่ต้องการให้ใครทราบถึงรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินการลงทุนผ่านโลกไซเบอร์

กลุ่มหลักๆ ที่เติบโตมากในระบบเศรษฐกิจไทย คือ
1) พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของวัฒนธรรม “ฝากร้านด้วยจ้า”

2) นักลงทุนดิจิตัล ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกที อาทิ เทรดเดอร์ FOREX, หุ้น, กองทุน, ตราสาร, เงิน, ทอง, น้ำมัน, สินค้าเกษตรล่วงหน้า

พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากธรรมชาติเดิมของการรณรงค์ประเด็นความเป็นธรรมทางสังคม ที่เน้นไปจับ กลุ่มคนที่มีสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะพลเมืองที่ตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งนับวันจะมีอัตราส่วนน้อย เพราะโดนตลาดบีบให้ทุ่มเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการ ดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ในสังคมทุนนิยมที่มีความอ่อนแอเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเช่นไทย   ความเสี่ยงในชีวิตส่วนตัวนี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาก พุ่งความสนใจไปที่เรื่อง “ผลประโยชน์ส่วนตน” มากกว่า “สำนึกเกี่ยวกับสาธารณะ” ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้อื่น หรือการสร้างสังคมในอุดมคติเพื่อปวงชนเลย

การสนใจเรื่องส่วนตัวนี่แหละที่ทำให้ประเด็น “ความเป็นส่วนตัว” สำคัญมากกับชาวเน็ต มากกว่า “ประเด็นสาธารณะ” ที่ต้องการคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม   การรณรงค์ต่างๆ ที่จะได้รับความนิยม มีผู้ติดตามเข้าร่วมผลักดันประเด็นด้วยจำนวนมาก จึงต้องขยายไปทำงานกับคนกลุ่มหลักๆที่เป็นคนที่มีส่วนได้เสียในโลกออนไลน์อย่างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักเทรดดิจิตัลมากขึ้น นั่นเอง

นี่ยังไม่รวมถึงคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเชิงสันทนาการที่ต้องการความปลอดโปร่งโล่งสบาย ไร้คนจดจ้องในยามพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่า
1) เกมเมอร์ส
2) นักดูหนังและซีรีส์
3) นักเสพสื่อสายดาร์ค
4) นักปฏิบัติการด้านลิขสิทธิซ้ายและส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะวัฒนธรรมแม้ฐานะยากจน (นักอัพ/โหลด)

ก็อย่างที่รู้กัน ขบวนการที่สำเร็จมักมีลักษณะรวมแม่น้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน นั่นเอง (Inclusive Stake-Holders) การผลิตสื่อและเคลื่อนขบวนให้โดนกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 

กลับกันหากรัฐจะลดกระแสต่อต้านก็ต้องสนองตอบความกังวลของคนกลุ่มนี้ในประเด็นประกันความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

หากรัฐบาลต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลให้สตาร์ทอัพด้านไอทีมีลู่ทางในการเติบโตทางธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   การพร่ำพูดซ้ำๆว่าให้เชื่อใจว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้เข้าไปจับจ้องท่าน หรือพูดทำนองว่า “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” ถือว่าไม่เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง

เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาก ย่อมรู้ดีว่าการนำเข้าข้อมูลเท็จมาฝากในเครื่องมือสื่อสารโดยอาศัยซอฟแวร์และมัลแวร์ต่างๆ เป็นไปได้หากมีทรัพยากรมากแบบรัฐ   ยิ่งถ้ารัฐล่วงรู้หมดว่า ใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไหร่ ถี่แค่ไหน ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใด  ย่อมเป็นที่สยดสยองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแน่นอน

ยิ่งไปพ่วงกับการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลหลายอย่าง อาทิ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ เลขบัญชี ข้อมูลทางการเงิน การเสียภาษี แล้วผูกเข้าไปกับกิจกรรมในเครื่องมือสื่อสาร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตย่อมรู้สึกถูกต้นจนมุม ไม่เหลือพื้นที่สบายๆ ไว้ให้ผ่อนคลายอีกเลย

ความผ่อนคลายนี่แหละ คือ ที่มาของการจับจ่ายใช้สอยในอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และโครงการซิงเกิลเกตเวย์โดยตรง อย่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องออกแบบให้ ความไว้ใจของพลเมืองเน็ตเป็นที่ตั้ง  มิใช่ทำตัวเป็น #เทศกิจออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์ #มาเฟียดิจิตัล

หาไม่แล้ว เศรษฐกิจดิจตัล ก็เป็นเพียงอีกโวหารที่ผลาญงบประมาณแต่ไม่สร้างงานสร้างรายได้ให้คนรุ่นใหม่แต่อย่างใด
 

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ