Skip to main content

การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช. เป็นผู้ผลักดัน  บทความนี้จะไม่พูดถึงเนื้อหา เพราะได้มีข่าวเจาะจำนวนมากตีแผ่กันไปแล้ว แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้เจาะลึกให้สะเด็ดน้ำ คือ ทำไมคนจำนวนมากจึงตื่นตระหนกกับการผลักดันร่างแก้ไขฉบับนี้  และประเด็นไหนที่ “จุดติด” ในหมู่มวลมหาประชาชาวเน็ต

ขบวนการที่ผลักดันและมีมาตรการรุนแรงต่อเนื่อง คือ กลุ่มชาวเน็ตที่เกรงว่า พรบ.คอมพ์ จะก้าวล่วงล้วงมาดู “ชีวิตส่วนตัว” ในโลกออนไลน์มากที่สุด  มากกว่าประเด็น การเซ็นเซอร์ หรือการใช้ พรบ.คอมพ์ฯ ปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองเสียอีก   ดังปรากฏว่า มีการลากประเด็นการแก้ไข พรบ.คอมพ์ไปเชื่อมโยงกับโครงการรวบประตูไหลเวียนการจราจรอินเตอร์เน็ตมาอยู่ที่ช่องทางเดียว (พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์) ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง

แต่ประเด็น คือ ทำไมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตระหนกกับการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว มากกว่า การจำกัดการแสดงออก นั่นเอง

ทำไมคนไทยกลัว การสอดส่องด้วย Single Gateway ซึ่งละเมิดความเป็นส่วนตัว/ข้อมูลส่วนบุคคล มากกว่า การเซ็นเซอร์โดย พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ ที่กระเทือนเสรีภาพในการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิตัลและสังคมอุดมปัญญาพัฒนาเพราะความสร้างสรรค์เกิดจากการทำลายกรอบ หรือไร้กรอบ  นั่นคือ “ไม่ถูกจับจ้องควบคุม”
จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องลองวิเคราะห์ว่า ใคร ทำอะไร ในอินเตอร์เน็ต ถึงไม่อยากให้รัฐสอดส่อง
กลุ่มคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ (New Generation) ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก   คนกลุ่มนี้มีกิจกรรมเชิงผลประโยชน์ในโลกออนไลน์มหาศาล และไม่ต้องการให้ใครทราบถึงรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินการลงทุนผ่านโลกไซเบอร์

กลุ่มหลักๆ ที่เติบโตมากในระบบเศรษฐกิจไทย คือ
1) พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของวัฒนธรรม “ฝากร้านด้วยจ้า”

2) นักลงทุนดิจิตัล ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกที อาทิ เทรดเดอร์ FOREX, หุ้น, กองทุน, ตราสาร, เงิน, ทอง, น้ำมัน, สินค้าเกษตรล่วงหน้า

พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากธรรมชาติเดิมของการรณรงค์ประเด็นความเป็นธรรมทางสังคม ที่เน้นไปจับ กลุ่มคนที่มีสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะพลเมืองที่ตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งนับวันจะมีอัตราส่วนน้อย เพราะโดนตลาดบีบให้ทุ่มเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการ ดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ในสังคมทุนนิยมที่มีความอ่อนแอเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเช่นไทย   ความเสี่ยงในชีวิตส่วนตัวนี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาก พุ่งความสนใจไปที่เรื่อง “ผลประโยชน์ส่วนตน” มากกว่า “สำนึกเกี่ยวกับสาธารณะ” ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้อื่น หรือการสร้างสังคมในอุดมคติเพื่อปวงชนเลย

การสนใจเรื่องส่วนตัวนี่แหละที่ทำให้ประเด็น “ความเป็นส่วนตัว” สำคัญมากกับชาวเน็ต มากกว่า “ประเด็นสาธารณะ” ที่ต้องการคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม   การรณรงค์ต่างๆ ที่จะได้รับความนิยม มีผู้ติดตามเข้าร่วมผลักดันประเด็นด้วยจำนวนมาก จึงต้องขยายไปทำงานกับคนกลุ่มหลักๆที่เป็นคนที่มีส่วนได้เสียในโลกออนไลน์อย่างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักเทรดดิจิตัลมากขึ้น นั่นเอง

นี่ยังไม่รวมถึงคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเชิงสันทนาการที่ต้องการความปลอดโปร่งโล่งสบาย ไร้คนจดจ้องในยามพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่า
1) เกมเมอร์ส
2) นักดูหนังและซีรีส์
3) นักเสพสื่อสายดาร์ค
4) นักปฏิบัติการด้านลิขสิทธิซ้ายและส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะวัฒนธรรมแม้ฐานะยากจน (นักอัพ/โหลด)

ก็อย่างที่รู้กัน ขบวนการที่สำเร็จมักมีลักษณะรวมแม่น้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน นั่นเอง (Inclusive Stake-Holders) การผลิตสื่อและเคลื่อนขบวนให้โดนกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 

กลับกันหากรัฐจะลดกระแสต่อต้านก็ต้องสนองตอบความกังวลของคนกลุ่มนี้ในประเด็นประกันความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

หากรัฐบาลต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลให้สตาร์ทอัพด้านไอทีมีลู่ทางในการเติบโตทางธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   การพร่ำพูดซ้ำๆว่าให้เชื่อใจว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้เข้าไปจับจ้องท่าน หรือพูดทำนองว่า “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” ถือว่าไม่เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง

เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาก ย่อมรู้ดีว่าการนำเข้าข้อมูลเท็จมาฝากในเครื่องมือสื่อสารโดยอาศัยซอฟแวร์และมัลแวร์ต่างๆ เป็นไปได้หากมีทรัพยากรมากแบบรัฐ   ยิ่งถ้ารัฐล่วงรู้หมดว่า ใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไหร่ ถี่แค่ไหน ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใด  ย่อมเป็นที่สยดสยองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแน่นอน

ยิ่งไปพ่วงกับการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลหลายอย่าง อาทิ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ เลขบัญชี ข้อมูลทางการเงิน การเสียภาษี แล้วผูกเข้าไปกับกิจกรรมในเครื่องมือสื่อสาร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตย่อมรู้สึกถูกต้นจนมุม ไม่เหลือพื้นที่สบายๆ ไว้ให้ผ่อนคลายอีกเลย

ความผ่อนคลายนี่แหละ คือ ที่มาของการจับจ่ายใช้สอยในอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และโครงการซิงเกิลเกตเวย์โดยตรง อย่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องออกแบบให้ ความไว้ใจของพลเมืองเน็ตเป็นที่ตั้ง  มิใช่ทำตัวเป็น #เทศกิจออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์ #มาเฟียดิจิตัล

หาไม่แล้ว เศรษฐกิจดิจตัล ก็เป็นเพียงอีกโวหารที่ผลาญงบประมาณแต่ไม่สร้างงานสร้างรายได้ให้คนรุ่นใหม่แต่อย่างใด
 

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา