Skip to main content

จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา

                วิธียับยั้งการเติบโตตื่นตัวของชุมชนสามารถกระทำได้โดยการคุกคามด้วยความรุนแรงสารพัดรูปแบบ ไล่ไปตั้งแต่ การส่งคนไปด้อมๆมองๆ การบันทึกภาพบันทึกเสียง คลิปวิดีโอ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไปจนถึงการก่อกวนด้วยวาจา ขัดขวางการจัดกิจกรรม และข่มขู่ทำลายร่างกายและทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินและชีวิตในท้ายที่สุด

                เนื่องจากเราไม่สามารถพูดถึงเรื่อง มาเฟีย และการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธวิธีและมีความเชี่ยวชาญด้านจรยุทธ์ได้โดยตรง แม้จะมีสิ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า หน่วยงานรัฐและบรรษัทขนาดใหญ่มีเส้นสายสัมพันธ์กับผู้มีอิทธิพล มากบารมี จะมีสีหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ขอให้ท่านผู้อ่านไปไล่ชื่อผู้ถือหุ้น กรรมการบริหารและที่ปรึกษาของบรรษัทอุตสาหกรรมที่มีปัญหากับชุมชนกันเอาเองก็พอทราบได้ แต่จะไม่พูดถึงในบทความนี้

                มาตรการทางกฎหมาย คือ ความรุนแรงสูงสุด ที่จะกล่าวถึงมาในรูปแบบของการฟ้องคดีหมิ่นฯ ตั้งแต่ฟ้องคดีอาญาให้ผู้นำหรือชุมชนหวาดกลัวต่อโทษทัณฑ์ และต้องเผชิญกับกระบวนการขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลาเสียกำลังใจแล้ว ยังมีการฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งเรียกค่าเสียหายหลายร้อยหลายพันล้านให้นอนไม่หลับด้วย  แต่จะไม่พูดถึงการฟ้องคดีหมิ่นฯอีกประเภทที่มีการนำมาใช้จัดการกับผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวในระยะหลัง

                เป็นที่ทราบดีว่าการเล่าเรื่องอะไรแล้วมีชื่อพ่วงนามสกุลของคนจริงๆ จะกลายเป็นข้อหาและอาจต้องรับผิดได้ในชั้นศาล ประชาชนชาวไทยจึงเสียโอกาสไปมากในการได้รู้ “ความจริง” หลายเรื่องในประเทศ เพราะนักข่าวอาชีพหรือนักข่าวพลเมืองจำต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะพูดความจริงให้โลกรู้หรือไม่ ถ้าต้องแรกกับการติดคุก เพราะ “ยิ่งพูดเรื่องจริงก็ยิ่งผิด” หากผู้เสียหายฟ้องร้อง

                การเลือกใช้ มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือปาก จึงเป็นที่แพร่หลายมากในช่วงหลัง เพราะบริษัทและหน่วยงานรัฐมีทีมทนาย และนิติกรที่พร้อมทำหน้าที่ฟ้องแหลกเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ให้องค์กรอยู่แล้ว

                ความสามารถในการใช้กระบวนการทางกฎหมายของทีมทนายอาชีพ และนิติกรชำนาญการจึงถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องภาพลักษณ์องค์กร หรือตัวผู้นำองค์กรที่ริเริ่มโครงการจนเกิดความขัดแย้งกับประชาชน ชุมชน

                ต้นทุนของประชาชนในการใช้กฎหมายนั้นก็ต่ำ เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับการค้าความ ส่วนทนายที่รับสู้คดีกับหน่วยงานรัฐ หรือบรรษัทใหญ่ก็มีไม่มาก เพราะนอกจากทำไปแล้วอาจไม่ได้สตางค์ ยังต้องเอาเส้นทางอาชีพมาเสี่ยงกับการถูกหมายหัว หรือโดนโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ไม่ต้องพูดถึงการขึ้นแบล็คลิสต์โดยหน่วยงานความมั่นคง หรือเครือข่ายบรรษัท/นายทุน

                แม้นักกฎหมายทั้งปวงจะได้ปฏิญาณต่อหน้าพระบิดากฎหมาย และบรรพชนนักกฎหมายว่าจะใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อผดุงความยุติธรรม แต่เมื่อถึงทางแยกอันตราย ก็หาคนที่จะเลือกอุดมการณ์เพื่อแสดงตัวตน ให้หลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ในชนชั้น เครือข่ายอุปถัมภ์ได้ง่ายๆไม่

                วาทกรรมการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ชาติ จึงกลายเป็นสิ่งที่บดบังอุดมการณ์ของบุคลากรทางกฎหมายมิให้ยืนเคียงข้างประชาชนอยู่ไม่น้อย  เพราะต่างก็ต้องพยายามรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้เสียประวัติตกเป็น “แกะดำ” เป็น “ทนายเอ็นจีโอ” หรือ “พวกถ่วงความเจริญ” ให้คนเขาตราหน้า

                เมื่อมิกล้ายืนเคียงข้างประชาชน จึงเห็นแต่ความเป็น “อื่น” ของประชาชนผู้เดือดร้อน  หนำซ้ำยังมอง “นักกฎหมายภาคประชาชน” เป็นคนอื่นไปเสียโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็มิอาจทราบได้

                ความรุนแรง และร้ายแรงของการใช้กฎหมายฟ้องปิดปาก (SLAPP - Strategic Lawsuit against Public Participation) แม้จะฟ้องปิดปากเพื่อประโยชน์ของบางกลุ่มบางองค์กร แต่ได้ขยายไปครอบคลุมสติปัญญาของคนทั้งสังคม ให้ตกอยู่ในภาวะ “มืดบอด”  

                เมื่อประชาชนไม่กล้าพูด สื่อไม่กล้านำเสนอ แล้วสังคมจะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างไร ในหลายประเทศจึงมีการริเริ่มระบบ Anti-SLAPP คัดกรองมิให้มีการฟ้องปิดปากหากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเป็นสิทธิในปกป้องฐานทรัพยากร หรือสิทธิตามกฎหมายของประชาชน 

                บางประเทศมีองค์กรคัดกรองคดีก่อนมีการประทับรับฟ้องโดยศาล หรือสั่งฟ้องโดยอัยการ ด้วยซ้ำ  ทำให้ประชาชนไม่ต้องตกเป็นจำเลยโดยไม่จำเป็น และสร้างความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นในความเดือดร้อน และสามารถใช้เหตุผลสนับสนุนหรือคัดค้านโครงการ/นโยบายทั้งหลายได้อย่างเสรี

                แต่ในไทยกลับตรงกันข้าม นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจำนวนมากถูกฟ้องดำเนินคดี คนหนึ่งอาจต้องโดนหลายคดี หรือโดนคดีหมิ่นครบทุกประเภททุกศาล

                สิ่งเหล่านี้สะท้อนความเสื่อมอำนาจนำของกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงการเมืองการปกครองในการระงับข้อพิพาทแทบทุกระดับในประเทศไทย   เวลามีปัญหาคนไทยเริ่มไม่นึกทางแก้ที่ถูกครรลองคลอง(นิติ)ธรรม กันเสียแล้ว

                เมื่อชาวบ้านประชาชนตัวเล็กตัวน้อยไม่ได้รับการอำนายความยุติธรรม การเพาะบ่มความขัดแย้งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสร้างสำนึก “สองมาตรฐาน” ในใจคนจำนวนมาก

                กลายเป็นว่า สถาบันทางกฎหมาย คือ เป้าหมายหลักในการปฏิวัติประชาชนเสียแล้ว #กระบวนการยุติธรรมมีไว้ทำไม?

                จะปฏิรูปจากภายใน หรือ ปฏิวัติจากภายนอก อะไรจะมาถึงก่อนกัน

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ