Skip to main content

นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  

                กระแสของการควบคุมสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้วผ่านการผลักดันชุดกฎหมายเกี่ยวกับดิจิทัล และล่าสุดก็มาถึงการเตรียมประกาศกฎของ กสทช. ในการควบคุมการนำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆในอินเตอร์เน็ต

                ทำไมรัฐต้องขยับมาคุมอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มงวด ถึงขั้นต้องควบคุมการสตรีมมิ่ง ไลฟ์ จัดรายการผ่านเน็ต และบังคับจดทะเบียนตรีตราเพื่อควบคุม  จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาก่อนเพื่อให้เห็ตเจตนารมณ์ที่แท้ของ ยุทธศาสตร์ยึดพื้นที่สื่อของรัฐบาล

                ก่อนยุคนักข่าวพลเมืองอินเตอร์เน็ตหรือนักสืบไซเบอร์นั้น พื้นที่สื่อสารการเมืองหลักๆ ก็จะยึดโยงอยู่กับสื่อหลัก อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า วิทยุ โทรทัศน์นั้นถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยระบบใบอนุญาต และการผูกขาดการจัดสรรคลื่นความถี่มาแต่ไหนแต่ไร แม้รัฐธรรมนูญพยายามแก้ไข ให้มี กสช. ขึ้นมากระจายความถี่ไปให้ประชาสังคมเข้าถึง มีพื้นที่แสดงออกมากขึ้น แต่ก็จบลงด้วยการรัฐประหารกระชับอำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั้งสองระลอกในปี 2549 และ 2557

                สื่อที่วิจารณ์รัฐอย่างหนักหน่วงมาเสมอ จึงอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า ซึ่งก็เป็นที่รับรู้ว่าว่าสื่อกระดาษก็เริ่มปรับไปสู่สื่อออนไลน์มากขึ้น   เช่นเดียวกับผู้จัดรายการเสียง ภาพเคลื่อนไหว ก็กระโดดไปสู่สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะต้นทุนถูกกว่ามาก สะดวก และยังมีการแทรกแซงควบคุมจากรัฐน้อยกว่า

                แต่สาเหตุที่รัฐวิตกมากและเป็นจุดเปลี่ยนที่รัฐต้องมาคุมโลกไซเบอร์มากขึ้น ผมว่ามี 2 ประเด็น

                1) สื่อแบบเดิม มักอยู่ด้วยงบโฆษณาและใบอนุญาต ถ้ามีปัญหากับรัฐ วิจารณ์มากๆ รัฐสั่งปิดยึดใบอนุญาต หรือถอนโฆษณาภาครัฐ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นถึงขั้นต้องปรับตัว เขาเลยวิจารณ์กันพอประมาณหรือเลี่ยงประเด็นไป ต่างจากสื่อออนไลน์ หรือนักรบไซเบอร์ ล้วงละเลงกันบนเน็ต ไม่ต้องเกรงใจใคร ยิ่งแรงยิ่งหนัก คนยิ่งอ่านยิ่งแชร์ ยอดไลค์กระฉูด รัฐเลยต้องเชือดไก่ให้ลิงดู สอยด้วยกฎหมาย

                2) เดิมถ้ารัฐจะฟ้องนักข่าวอาชีพ ก็จะมีสำนักข่าวตัวเองปกป้อง หรือจ้างทนายสู้คดี ไหนจะสมาคมนักข่าวอีก หากรัฐจะเล่นงานก็ฟ้องยาก ต่างจากฟ้อง นักข่าวพลเมืองเน็ต เมื่อโดนฟ้องทีก็รู้สึกได้ถึงอันตราย และไม่ใช่แค่คนโดนฟ้อง ชาวเน็ตที่อ่านข่าวพลอยสะดุ้งไปด้วยเพราะรัฐก็ออกมาขู่ว่า “แค่กดไลค์” ก็เป็นความผิดอาญา  ซึ่งบิดเบือนหลักกฎหมายมาก

                ผลกระทบ 3 ส่วนหลักๆ
                1) พลเมืองผู้ตื่นตัวทางการเมืองและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศหายไป เพราะต้องระมัดระวังตัวกลายเป็นเซ็นเซอร์ตัวเองไป ดีกว่าต้องเสี่ยงกับคุกตะราง    ยุทธศาสตร์เงียบทั้งแผ่นดิน (พูดได้ฝ่ายเดียว)

                2) เกิดกลุ่มลับ ขบวนการเฉพาะกิจ รวมกลุ่มกระจายข้อมูลกันในวงแคบๆ ไม่เกิดการกระจายข้อมูลสู่วงกว้าง ไม่เกิดการขยายตัวเป็นประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะใหญ่ๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างยาก

                3) หน่วยงานและบรรษัทเกิดลัทธิเอาอย่าง เลียนแบบวิธีการสะกดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมของตนที่มีลักษณะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้คนอื่น โดยการใช้กฎหมายสารพัดหมิ่นมาประเคนใส่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

                ล่าสุด ทำไมรัฐโหมข่าวไวรัส wannacry หนักหน่วง ทั้งที่วิธีป้องกันนั้นง่ายมาก และจริงๆแล้วมันไม่กระทบคนทั่วไปเท่าระบบขององค์กรและหน่วยงานที่เป็นเป้าหมายหลัก

                ครับ ก็เขากำลังจะผลักดัน พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ผ่าน สนช. แล้วไง
ซึ่งเนื้อหาหนักกว่า พรบ.ความผิดคอมพ์ฯ ด้วย ซึ่ง พรบ.นี้แหละครับ ที่จะให้อำนาจรัฐบังคับผู้ดูแลระบบ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งหลายส่องข้อมูลเรา และหนักสุดคือ สร้างซิงเกิ้ลเกตเวย์ขึ้นมา

                คำถามที่สำคัญกว่า คือ เมื่อรัฐสอดส่องข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เน็ตของประชาชนเข้าไปถึงเนื้อในการสื่อสารแล้ว (Content)  ข้อมูลที่รัฐได้เห็น จะถูกนำมาใช้ต่อหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นมาตรฐานสากล ข้อมูลเหล่านี้ห้ามใช้ห้ามอ่านเด็ดขาด รวมถึงห้ามนำมาเป็นหลักฐานปรักปรำในคดีอาญาอยู่แล้ว

                ข้อมูลที่รัฐจะใช้ประโยชน์ได้ต้องจำกัดอยู่ที่เพียงข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสาร หรือ Big Data เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลทั่วไปที่ผู้ประกอบการทั่วไปมีการเก็บบันทึกไว้อยู่แล้ว เช่น ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต/ใช้บริการเมื่อไหร่ นานแค่ไหน ผ่านอุปกรณ์ใด จากที่ใด ถี่แค่ไหน   ซึ่งถ้าขยายไปถึงการใช้สมาร์ทโฟน ก็อาจทราบไปถึงว่าใช้ติดต่อสื่อสารกับใคร

                ส่วนประเด็นที่มีเหล่าคนฉลาดพูดว่า “จะตื่นเต้นอะไร เขาล้วงตับเรามานานแล้ว”  นั้นก็สะท้อนถึงความอ่อนด้อยประสบการณ์ทางกฎหมายและการเมืองอยู่มาก  เนื่องจากแต่เดิมข้อมูลที่ดักฟัง ดักเก็บมาโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือเป็นการได้ข้อมูลมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดอาญาที่มีโทษถึงจำคุก 

                เนื้อหาที่ได้มาไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจนำมาปรักปรำใครให้รับผิดในชั้นศาล  กลับกันผู้ที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่จะต้องรับผิดหากมีผู้เสียหายฟ้องร้องดำเนินคดี   เช่นเดียวกับผู้ให้บริการที่ดูแลระบบหากปล่อยให้ข้อมูลหลุดรั่วออกไปก็ต้องรับโทษทางอาญาเช่นเดียวกันด้วย หากมิเชื่อลองเปิดประมวลกฎหมายอาญา ม.322-325 ดูกันเองเถิด

                แต่คราวนี้ล้วงตับแล้วเอามาปรักปรำในชั้นศาลได้โดยออกกฎหมายมารองรับ เมื่อบวกกับการเร่งแก้ ป.วิ.อ. ดักข้อมูลฯ ก็...

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ