Skip to main content

จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้าอยากผลิตก็ให้ทำตามกฎหมาย   ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่า พรบ.สุราฯ นั้นเอื้อต่อผู้ผลิตรายใหญ่

                กรณีนี้มิได้มีอะไรใหม่ในแง่กฎหมาย เพราะเคยมีคดีสุราชุมชนที่ถูกดำเนินคดีจนต่อสู้กันไปจนถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วเช่นกัน  แต่ประเด็นที่ทำให้รัฐยังหวงอำนาจในการกำหนดผู้ผลิตได้อยู่ที่ข้ออ้างว่า “สินค้านี้หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดี” รัฐต้องเข้ามาควบคุม

                ประเด็นอยู่ที่ รัฐไทยควรมีบทบาทอย่างไรต่อการประกอบธุรกิจของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อ “เส้นศีลธรรม” นั่นเอง

                หากวิเคราะห์ตามปรัชญากฎหมายสมัยใหม่นั้นง่าย เพราะเถียงจบไปเกือบสามทศวรรษแล้วว่า “รัฐไม่ควรใช้กฎหมายกำหนดมาตรฐานศีลธรรมของประชาชน”   แต่เป็น “สิทธิและหน้าที่” ต่างหากที่กฎหมายทำหน้าที่กำหนด

สินค้า/บริการ ที่มีความต้องการสูงแต่รัฐทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น Criminalize เหล้า กัญชา และการค้าบริการทางเพศ นำไปสู่ การเกิดผู้ค้าสิ่งของ/บริการผิดกฎหมาย

                ความเสี่ยงในการถูกจับ และกฎหมายไม่คุ้มครองการทำนิติกรรม ถ้าผู้ซื้อ/ผู้ขายเบี้ยวหนี้ หรือเกิดอันตรายความเสียหายจากสินค้า/บริการ ก็ไปเรียกร้องเอาจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรมไม่ได้

เป็นที่มาให้ต้องใช้กำลังในการบังคับหนี้ และรักษาความปลอดภัย หากผู้ผลิตไม่มีความสามารถก็ต้องการใช้นักเลงมาเฟียคุ้มครองความปลอดภัย

                ต่อมานักเลงและมาเฟียกลายเป็นเสือนอนกินเก็บค่าคุ้มครอง หรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แล้วเปลี่ยนผู้ค้ารายย่อยให้กลายเป็น แรงงาน หรือดาวน์ไลน์ภายใต้ตัวเอง มีเงินทองมหาศาล

                เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน ใช้ความรุนแรง จัดหาอาวุธและจัดจ้างมือปืน ไปจนถึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ปราบปรามอาชญากรรม แต่เก็บกินรายได้จากสินค้าและบริการผิดกฎหมาย ทำให้สินค้าและบริการผิดกฎหมายมีอย่างแพร่หลาย เพราะกลายเป็นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเพื่อให้แหล่งรายได้ยังงอกงามเช่นเดิม

                พอมีคนเห็นช่องทางทำกิน พยายามขยายเขตเข้ามาแข่งขัน ก็จะไม่ใช้วิธีพัฒนาสินค้าบริการ แต่อาจใช้วิธีการผิดกฎหมาย เช่น ฆ่า ทำร้าย ข่มขู่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดึงนักฆ่าที่มีใบอนุญาตเข้ามาช่วยสนับสนุน

ฆ่ากันไปฆ่ากันมา หรือว่าดึงทุกกลุ่มเข้ามาเคลียร์อยู่ใต้บารมีคุ้มครอง ของโคตรอภิมหามาเฟียเพียงกลุ่มเดียว แล้วส่งส่วยขึ้นไปเป็นทอดๆ

                ดังนั้น การทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า/บริการผิดกฎหมาย จึงกลายเป็น "สถาบันไม่เป็นทางการ" เพราะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีการปกป้องคุ้มครองและมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และสามารถนำบุคลากรและอาวุธที่มาจากเงินภาษีของประชาชน มาปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

                หากมีใครอยากล้มล้างองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ก็ต้องปะทะกับผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้โดยตรง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ นั่นคือ ประชาชนทำงานสุจริตเสียภาษีเพื่อให้รัฐเอาไปฝึกคนและจัดหาอาวุธให้อาชญากร(มาเฟียมีสี) มาก่ออาชญากรรมกับเรา หรือบีบให้เราลุกขึ้นสู้ แล้วอาจถูกจับเข้าไปอยู่ในเรือนจำ

                ฤาเรือนจำ มีแต่ ผู้พยายามเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ที่ไม่ยอมส่งส่วย หรือสยบยอมโคตรอภิมหามาเฟีย กันแน่

                ถามกลับกันว่า ถ้า Legalize สินค้า/บริการ ผิดกฎหมายที่มี Demand สูง แล้วมีระบบควบคุมความปลอดภัยและจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบ และเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าบริการเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร

                ส่วนอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ก็ต้องถามว่า เขาเหล่านั้นซึมซับ "ความรุนแรง" การใช้อำนาจดิบเถื่อนมาจากไหน "ใครเป็นแบบอย่าง" หรือทำให้เขาคิดว่าทำผิดยังไงก็ลอยนวลได้?

                ไม่ว่าจะลอยนวลเพราะเส้นใหญ่ หรือความสามารถในการหาหลักฐานมาปรักปรำอาชญากรต่ำ หรือมีการอภัยโทษแบบมิได้พิจารณาก่อนปล่อยอย่างถี่ถ้วนและไม่มีระบบบำบัดในขณะจองจำ

                แต่มันก็นำมาสู่คำถามที่ว่า "กล้าพูดความจริง" กันรึเปล่าล่ะ  เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในชีวิตทรัพย์สินจะได้รับการปกป้องหรือไม่

                ในทางกลับกัน การก่ออาชญากรรมเล็กๆน้อยๆ ใช้ความรุนแรงด้วยความคึกคะนอง แบบ "เกรียน" ของเยาวชน ทำไมเขามาทำแบบนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าให้เขาไปทำกันบ้างหรือ แก๊งค์สปาร์ต้าซามูไร ในเขตภาคเหนือหายไปไหน ใครเคยไปหาคำตอบไหมว่าคนเหล่านั้นโดนดูดซับเข้าไปกับการขยายตัวของธุรกิจบริการ/การท่องเที่ยว ที่ขยายตัวมากแค่ไหน

                ใครจะอยากไปก่ออาชญากรรม ถ้า "เสี่ยง" ว่าจะเสียทุกอย่างที่มีไป รวมถึง "อนาคต"
คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่การสร้างสังคมที่ คนมีความหวัง มีเป้าหมาย จะได้เดินไปสู่อนาคต

มิใช่ ไร้อนาคต หมดหวัง ดังที่รู้สึกได้แพร่กระจายไปทั่ว

                ในประเทศพัฒนาแล้ว มีทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรอีกเยอะแยะ และถ้าเขาจะใช้พลังงานไปกับเรื่องอะไร รัฐและองค์กรทั้งหลายก็ช่วยได้โดยการชี้ทาง และเป็นสปริงบอร์ดให้เขากระโดดไป พอหันมาดูเมืองไทย สงสัยต้องฝึกร้องเพลง หรือไปศัลยกรรมถ่ายเดียวละครับ

                คุก กับ ความตาย คือ ปลายทางสังคมหรือ?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2