Skip to main content

จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้าอยากผลิตก็ให้ทำตามกฎหมาย   ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่า พรบ.สุราฯ นั้นเอื้อต่อผู้ผลิตรายใหญ่

                กรณีนี้มิได้มีอะไรใหม่ในแง่กฎหมาย เพราะเคยมีคดีสุราชุมชนที่ถูกดำเนินคดีจนต่อสู้กันไปจนถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วเช่นกัน  แต่ประเด็นที่ทำให้รัฐยังหวงอำนาจในการกำหนดผู้ผลิตได้อยู่ที่ข้ออ้างว่า “สินค้านี้หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดี” รัฐต้องเข้ามาควบคุม

                ประเด็นอยู่ที่ รัฐไทยควรมีบทบาทอย่างไรต่อการประกอบธุรกิจของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อ “เส้นศีลธรรม” นั่นเอง

                หากวิเคราะห์ตามปรัชญากฎหมายสมัยใหม่นั้นง่าย เพราะเถียงจบไปเกือบสามทศวรรษแล้วว่า “รัฐไม่ควรใช้กฎหมายกำหนดมาตรฐานศีลธรรมของประชาชน”   แต่เป็น “สิทธิและหน้าที่” ต่างหากที่กฎหมายทำหน้าที่กำหนด

สินค้า/บริการ ที่มีความต้องการสูงแต่รัฐทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น Criminalize เหล้า กัญชา และการค้าบริการทางเพศ นำไปสู่ การเกิดผู้ค้าสิ่งของ/บริการผิดกฎหมาย

                ความเสี่ยงในการถูกจับ และกฎหมายไม่คุ้มครองการทำนิติกรรม ถ้าผู้ซื้อ/ผู้ขายเบี้ยวหนี้ หรือเกิดอันตรายความเสียหายจากสินค้า/บริการ ก็ไปเรียกร้องเอาจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรมไม่ได้

เป็นที่มาให้ต้องใช้กำลังในการบังคับหนี้ และรักษาความปลอดภัย หากผู้ผลิตไม่มีความสามารถก็ต้องการใช้นักเลงมาเฟียคุ้มครองความปลอดภัย

                ต่อมานักเลงและมาเฟียกลายเป็นเสือนอนกินเก็บค่าคุ้มครอง หรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แล้วเปลี่ยนผู้ค้ารายย่อยให้กลายเป็น แรงงาน หรือดาวน์ไลน์ภายใต้ตัวเอง มีเงินทองมหาศาล

                เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน ใช้ความรุนแรง จัดหาอาวุธและจัดจ้างมือปืน ไปจนถึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ปราบปรามอาชญากรรม แต่เก็บกินรายได้จากสินค้าและบริการผิดกฎหมาย ทำให้สินค้าและบริการผิดกฎหมายมีอย่างแพร่หลาย เพราะกลายเป็นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเพื่อให้แหล่งรายได้ยังงอกงามเช่นเดิม

                พอมีคนเห็นช่องทางทำกิน พยายามขยายเขตเข้ามาแข่งขัน ก็จะไม่ใช้วิธีพัฒนาสินค้าบริการ แต่อาจใช้วิธีการผิดกฎหมาย เช่น ฆ่า ทำร้าย ข่มขู่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดึงนักฆ่าที่มีใบอนุญาตเข้ามาช่วยสนับสนุน

ฆ่ากันไปฆ่ากันมา หรือว่าดึงทุกกลุ่มเข้ามาเคลียร์อยู่ใต้บารมีคุ้มครอง ของโคตรอภิมหามาเฟียเพียงกลุ่มเดียว แล้วส่งส่วยขึ้นไปเป็นทอดๆ

                ดังนั้น การทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า/บริการผิดกฎหมาย จึงกลายเป็น "สถาบันไม่เป็นทางการ" เพราะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีการปกป้องคุ้มครองและมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และสามารถนำบุคลากรและอาวุธที่มาจากเงินภาษีของประชาชน มาปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

                หากมีใครอยากล้มล้างองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ก็ต้องปะทะกับผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้โดยตรง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ นั่นคือ ประชาชนทำงานสุจริตเสียภาษีเพื่อให้รัฐเอาไปฝึกคนและจัดหาอาวุธให้อาชญากร(มาเฟียมีสี) มาก่ออาชญากรรมกับเรา หรือบีบให้เราลุกขึ้นสู้ แล้วอาจถูกจับเข้าไปอยู่ในเรือนจำ

                ฤาเรือนจำ มีแต่ ผู้พยายามเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ที่ไม่ยอมส่งส่วย หรือสยบยอมโคตรอภิมหามาเฟีย กันแน่

                ถามกลับกันว่า ถ้า Legalize สินค้า/บริการ ผิดกฎหมายที่มี Demand สูง แล้วมีระบบควบคุมความปลอดภัยและจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบ และเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าบริการเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร

                ส่วนอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ก็ต้องถามว่า เขาเหล่านั้นซึมซับ "ความรุนแรง" การใช้อำนาจดิบเถื่อนมาจากไหน "ใครเป็นแบบอย่าง" หรือทำให้เขาคิดว่าทำผิดยังไงก็ลอยนวลได้?

                ไม่ว่าจะลอยนวลเพราะเส้นใหญ่ หรือความสามารถในการหาหลักฐานมาปรักปรำอาชญากรต่ำ หรือมีการอภัยโทษแบบมิได้พิจารณาก่อนปล่อยอย่างถี่ถ้วนและไม่มีระบบบำบัดในขณะจองจำ

                แต่มันก็นำมาสู่คำถามที่ว่า "กล้าพูดความจริง" กันรึเปล่าล่ะ  เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในชีวิตทรัพย์สินจะได้รับการปกป้องหรือไม่

                ในทางกลับกัน การก่ออาชญากรรมเล็กๆน้อยๆ ใช้ความรุนแรงด้วยความคึกคะนอง แบบ "เกรียน" ของเยาวชน ทำไมเขามาทำแบบนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าให้เขาไปทำกันบ้างหรือ แก๊งค์สปาร์ต้าซามูไร ในเขตภาคเหนือหายไปไหน ใครเคยไปหาคำตอบไหมว่าคนเหล่านั้นโดนดูดซับเข้าไปกับการขยายตัวของธุรกิจบริการ/การท่องเที่ยว ที่ขยายตัวมากแค่ไหน

                ใครจะอยากไปก่ออาชญากรรม ถ้า "เสี่ยง" ว่าจะเสียทุกอย่างที่มีไป รวมถึง "อนาคต"
คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่การสร้างสังคมที่ คนมีความหวัง มีเป้าหมาย จะได้เดินไปสู่อนาคต

มิใช่ ไร้อนาคต หมดหวัง ดังที่รู้สึกได้แพร่กระจายไปทั่ว

                ในประเทศพัฒนาแล้ว มีทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรอีกเยอะแยะ และถ้าเขาจะใช้พลังงานไปกับเรื่องอะไร รัฐและองค์กรทั้งหลายก็ช่วยได้โดยการชี้ทาง และเป็นสปริงบอร์ดให้เขากระโดดไป พอหันมาดูเมืองไทย สงสัยต้องฝึกร้องเพลง หรือไปศัลยกรรมถ่ายเดียวละครับ

                คุก กับ ความตาย คือ ปลายทางสังคมหรือ?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต