Skip to main content

จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้าอยากผลิตก็ให้ทำตามกฎหมาย   ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่า พรบ.สุราฯ นั้นเอื้อต่อผู้ผลิตรายใหญ่

                กรณีนี้มิได้มีอะไรใหม่ในแง่กฎหมาย เพราะเคยมีคดีสุราชุมชนที่ถูกดำเนินคดีจนต่อสู้กันไปจนถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วเช่นกัน  แต่ประเด็นที่ทำให้รัฐยังหวงอำนาจในการกำหนดผู้ผลิตได้อยู่ที่ข้ออ้างว่า “สินค้านี้หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดี” รัฐต้องเข้ามาควบคุม

                ประเด็นอยู่ที่ รัฐไทยควรมีบทบาทอย่างไรต่อการประกอบธุรกิจของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อ “เส้นศีลธรรม” นั่นเอง

                หากวิเคราะห์ตามปรัชญากฎหมายสมัยใหม่นั้นง่าย เพราะเถียงจบไปเกือบสามทศวรรษแล้วว่า “รัฐไม่ควรใช้กฎหมายกำหนดมาตรฐานศีลธรรมของประชาชน”   แต่เป็น “สิทธิและหน้าที่” ต่างหากที่กฎหมายทำหน้าที่กำหนด

สินค้า/บริการ ที่มีความต้องการสูงแต่รัฐทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น Criminalize เหล้า กัญชา และการค้าบริการทางเพศ นำไปสู่ การเกิดผู้ค้าสิ่งของ/บริการผิดกฎหมาย

                ความเสี่ยงในการถูกจับ และกฎหมายไม่คุ้มครองการทำนิติกรรม ถ้าผู้ซื้อ/ผู้ขายเบี้ยวหนี้ หรือเกิดอันตรายความเสียหายจากสินค้า/บริการ ก็ไปเรียกร้องเอาจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรมไม่ได้

เป็นที่มาให้ต้องใช้กำลังในการบังคับหนี้ และรักษาความปลอดภัย หากผู้ผลิตไม่มีความสามารถก็ต้องการใช้นักเลงมาเฟียคุ้มครองความปลอดภัย

                ต่อมานักเลงและมาเฟียกลายเป็นเสือนอนกินเก็บค่าคุ้มครอง หรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แล้วเปลี่ยนผู้ค้ารายย่อยให้กลายเป็น แรงงาน หรือดาวน์ไลน์ภายใต้ตัวเอง มีเงินทองมหาศาล

                เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน ใช้ความรุนแรง จัดหาอาวุธและจัดจ้างมือปืน ไปจนถึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ปราบปรามอาชญากรรม แต่เก็บกินรายได้จากสินค้าและบริการผิดกฎหมาย ทำให้สินค้าและบริการผิดกฎหมายมีอย่างแพร่หลาย เพราะกลายเป็นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเพื่อให้แหล่งรายได้ยังงอกงามเช่นเดิม

                พอมีคนเห็นช่องทางทำกิน พยายามขยายเขตเข้ามาแข่งขัน ก็จะไม่ใช้วิธีพัฒนาสินค้าบริการ แต่อาจใช้วิธีการผิดกฎหมาย เช่น ฆ่า ทำร้าย ข่มขู่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดึงนักฆ่าที่มีใบอนุญาตเข้ามาช่วยสนับสนุน

ฆ่ากันไปฆ่ากันมา หรือว่าดึงทุกกลุ่มเข้ามาเคลียร์อยู่ใต้บารมีคุ้มครอง ของโคตรอภิมหามาเฟียเพียงกลุ่มเดียว แล้วส่งส่วยขึ้นไปเป็นทอดๆ

                ดังนั้น การทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า/บริการผิดกฎหมาย จึงกลายเป็น "สถาบันไม่เป็นทางการ" เพราะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีการปกป้องคุ้มครองและมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และสามารถนำบุคลากรและอาวุธที่มาจากเงินภาษีของประชาชน มาปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

                หากมีใครอยากล้มล้างองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ก็ต้องปะทะกับผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้โดยตรง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ นั่นคือ ประชาชนทำงานสุจริตเสียภาษีเพื่อให้รัฐเอาไปฝึกคนและจัดหาอาวุธให้อาชญากร(มาเฟียมีสี) มาก่ออาชญากรรมกับเรา หรือบีบให้เราลุกขึ้นสู้ แล้วอาจถูกจับเข้าไปอยู่ในเรือนจำ

                ฤาเรือนจำ มีแต่ ผู้พยายามเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ที่ไม่ยอมส่งส่วย หรือสยบยอมโคตรอภิมหามาเฟีย กันแน่

                ถามกลับกันว่า ถ้า Legalize สินค้า/บริการ ผิดกฎหมายที่มี Demand สูง แล้วมีระบบควบคุมความปลอดภัยและจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบ และเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าบริการเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร

                ส่วนอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ก็ต้องถามว่า เขาเหล่านั้นซึมซับ "ความรุนแรง" การใช้อำนาจดิบเถื่อนมาจากไหน "ใครเป็นแบบอย่าง" หรือทำให้เขาคิดว่าทำผิดยังไงก็ลอยนวลได้?

                ไม่ว่าจะลอยนวลเพราะเส้นใหญ่ หรือความสามารถในการหาหลักฐานมาปรักปรำอาชญากรต่ำ หรือมีการอภัยโทษแบบมิได้พิจารณาก่อนปล่อยอย่างถี่ถ้วนและไม่มีระบบบำบัดในขณะจองจำ

                แต่มันก็นำมาสู่คำถามที่ว่า "กล้าพูดความจริง" กันรึเปล่าล่ะ  เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในชีวิตทรัพย์สินจะได้รับการปกป้องหรือไม่

                ในทางกลับกัน การก่ออาชญากรรมเล็กๆน้อยๆ ใช้ความรุนแรงด้วยความคึกคะนอง แบบ "เกรียน" ของเยาวชน ทำไมเขามาทำแบบนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าให้เขาไปทำกันบ้างหรือ แก๊งค์สปาร์ต้าซามูไร ในเขตภาคเหนือหายไปไหน ใครเคยไปหาคำตอบไหมว่าคนเหล่านั้นโดนดูดซับเข้าไปกับการขยายตัวของธุรกิจบริการ/การท่องเที่ยว ที่ขยายตัวมากแค่ไหน

                ใครจะอยากไปก่ออาชญากรรม ถ้า "เสี่ยง" ว่าจะเสียทุกอย่างที่มีไป รวมถึง "อนาคต"
คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่การสร้างสังคมที่ คนมีความหวัง มีเป้าหมาย จะได้เดินไปสู่อนาคต

มิใช่ ไร้อนาคต หมดหวัง ดังที่รู้สึกได้แพร่กระจายไปทั่ว

                ในประเทศพัฒนาแล้ว มีทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรอีกเยอะแยะ และถ้าเขาจะใช้พลังงานไปกับเรื่องอะไร รัฐและองค์กรทั้งหลายก็ช่วยได้โดยการชี้ทาง และเป็นสปริงบอร์ดให้เขากระโดดไป พอหันมาดูเมืองไทย สงสัยต้องฝึกร้องเพลง หรือไปศัลยกรรมถ่ายเดียวละครับ

                คุก กับ ความตาย คือ ปลายทางสังคมหรือ?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ