Skip to main content

            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด
            ศรัทธาต่อกฎหมาย เกิดขึ้นได้ ด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
            Fidelity to the Law

            นัยยะของมันจริงๆ คือ ฝ่ายสำนักกฎหมายธรรมชาติเถียงว่า หากกฎหมายเป็นเพียงกฎใดๆที่ออกมาด้วยอำนาจของผู้ปกครองโดยไม่เชื่อมโยงกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมตามธรรมชาติแล้ว ย่อมทำให้ความมุ่งมาดปรารถนาในการเคารพกฎหมายของประชาชนเสื่อมลงไปได้

            การออก/สร้างกฎหมายให้คนไว้ใจแหล่ะศรัทธานั้น จึงต้องการมากกว่าการเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่ผู้ปกครองต้องสร้างกฎหมายให้ประชาชนศรัทธาด้วยการสอดคล้องกับความยุติธรรมด้วย

            ซึ่งตอนหลัง ฮาร์ท ก็จะมาอธิบาย ที่ทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองไม่ได้บอกว่ากฎหมายเป็น คำสั่งอะไรก็ได้ของผู้ปกครอง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นๆ เช่น ออก พรบ.ก็ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายภายในก็ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้กระทั่งจะเขียนสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังต้องอยู่ภายใต้กรอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Erga Omnes ด้วยซ้ำ

             หรือ รัฐสมาชิกอียูจะออกกฎหมายภายในก็ต้องดูระบบกฎหมาย Supra National ของ EU ด้วย

            ความเข้าใจผิดต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครอง (เฉยๆ) นั้นตกยุคไปนานมาแล้ว ที่ชัดสุดก็คือ หลังชัยชนะของการปลดแอกประเทสอาณานิคมทั้งหลาย เช่น การต่อสู้ของมหาตมะคานธีด้วยวิถีแห่งสันติอหิงสา เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำสั่งของรัฐธิปัตย์ที่ไร้ความยุติธรรม ย่อมไม่นำมาสู่การเคารพกฎหมายโดยประชาชน

การกำหนดอนาคตตนเองของประชานด้วยอารยะขัดขืนได้รับการยอมรับตามระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในยุคปลดแอกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ดู http://www.un-documents.net/a25r2625.htm)

นี่ตอบได้ด้วยว่าทำไม มหาตมะ คานธี ไม่ได้โนเบลสันติภาพ ก็เพราะตอนที่ทำ โลกตะวันตกมองว่านี่คือ คนที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ(ผู้ปกครอง) แต่เมื่อประชาชนชนะ รัฐอาณานิคมทยอยปลดแอกสำเร็จ จนเกิดปฏิญญา และ กติการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนยอมรับ

            "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของปวงชน" 

จึงเป็นการเริ่มต้นของ การยอมรับวิธีการต่อต้านรัฐโดยสันติวิธีตามเจตจำนงของประชาชน

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงได้รับโนเบลสาขาสันติภาพ แม้จะตกเป็นจำเลยในประเทศตนเองก็ตาม
 

            https://www.youtube.com/watch?v=ZzbKaDPMoDU

            เวลาพูดถึงความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน จึงพูดในประสบการณ์และความสัตย์ซื่อต่อกฎหมายและหลักการโดยเฉพาะในยุโรป

ส่วนสหรัฐเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ามุ่งมั่นผลักดันสิทธิมนุษยชนเฉพาะนอกเขตอำนาจของตัวเอง

 

การซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชน

 

            โดยประชาชนจะต่อต้านต่อผู้ปกครองเฉพาะกฎหมาย/นโยบายที่ไร้ความยุติธรรมเท่านั้น มิใช่มุ่งล้มการปกครองทั้งหมด จึงต้องยอมรับผลของกฎหมายในการกระทำต่อต้านนั้น และยอมอยู่ใต้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมหลัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพกฎหมายอย่างสุดซึ้ง มิได้มุ่งทำลายกฎหมาย โครงสร้างทั้งมวลของรัฐทิ้งเสียทั้งหมด แบบ "อนาธิปไตย"

 

ศรัทธาต่อกฎหมาย จึงเกิดขึ้นได้ด้วย กฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม (สำนักกฎหมายธรรมชาติ) และยึดโยงกับกฎหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำนักกฎหมายบ้านเมือง)
            ซึ่งไม่อยากพูดอะไรเยอะน่ะครับ เพราะหนังสือนิติปรัชญาจำนวนมาก ของอาจารย์ที่เคารพก็เขียนทำให้เกิดความเข้าใจต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

            รศ.ดร.ไชยันตร์ รัชชะกูล ผู้สอน นิติปรัชญา ระดับมหาบัณฑิต จึงมีดำริว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ ควรเขียนนิติปรัชญารุ่นใหม่ ที่ไม่ตกหลุม

            คู่ตรงข้ามของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง Vs สำนักกฎหมายธรรมชาติ
            เพราะในยุคหลังที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของโลก ทั้งสองสำนักได้เดินทางมาบรรจบกันแล้ว แม้ในเบื้องต้นจะมีจุดเริ่มคนละฟากฝั่งกัน

พวกบอกว่า คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมาย จึงเป็นพวกสำนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 19 

ครับ นักกฎหมายไทยล้าหลังไปเกือบ 2 ศตวรรษ

อย่างไรก็ดีการทำให้คนทั้งสังคมเชื่อมมั่นศรัทธาและอยากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปได้ยาก การเอากำลังหรืออำนาจกฎหมายเข้าไปบังคับปิดปากก็เป็นการขัดหลักการประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ดังนั้น "ทุกคน" คงยาก ทำได้มากสุด คือ โดดเดี่ยวพวกสุดโต่ง อะครับ 
คือ ต้องทำให้ความ คลั่ง........ เป็นสิ่งที่ไม่ "ชิค ชิค คูล คูล" ให้ได้ในท้ายที่สุด
เพราะในยุคโพสต์แมทีเรียล เซลฟ์รีเฟรกชั่นสำคัญสุด ถ้าทำแล้วดูไม่ดี ไม่เท่ห์ คนอื่นไม่สนใจ ก็อายกันเลยทีเดียว เพราะ หน้าตาภาพลักษณ์ คือต้นทุนสำคัญในการอยู่กับสังคมไทย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2