Skip to main content

กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน

มักง่ายแรก ผมเจอ รถหกล้อมักง่าย คิดจะเปลี่ยนใจจากขับตรงผ่านแยกเป็นเลี้ยวซ้าย ก็หักพวงมาลัยมันกลางสี่แยก เกี่ยวจักรยานและตัวผมล้มกลิ้งไปใต้รถ ดีไม่ถูกทับตาย   รอดมาได้หวุดหวิดครับ ไม่แตก ไม่หัก แต่ถลอกปอกเปิกไปหมด จักรยานพัง กล้องข้าวผมแตกเสียหาย แกงส้ม คั่วกลิ้งกระจายเละเทะ
คนขับบอก  "ผมผิดเอง พอดีหลงทาง จะไปซ้ายแต่ดันอยู่ตรง เลยไม่ได้เลี้ยวตรงทางเบี่ยงก่อนหน้านี้" (มาหักใส่ตอนเลยแยกแล้ว เกี่ยวรถผมที่ชิดซ้ายไม่รู้จะชิดไงแล้ว)

มักง่ายสอง รถฉุกเฉินพาตัวผมไปโรงพยาบาลบาล เจ้าหน้าที่ก็ทำๆกันไป เสมือนว่า ผมมาทำให้หมอพยาบาลเสียเวลามากที่เกิดอุบัติเหตุ แต่อันนี้พอเข้าใจได้ เนื่องจาก คนเจ็บก็ล้นโรงพยาบาล เช่นกัน

มักง่ายสาม เจ้าพนักงานโทรมาบอกว่าให้ยอมๆความไป อย่าไปเอาเรื่องอะไรเลย ค่าเสียหายก็อย่าไปเรียกอะไรเลย คนขับไม่ค่อยมีตังค์ ประวัติก่อคดีก็ไม่มี  พอผมถามว่า

มักง่ายสี่ สารวัตรเรียกไปโรงพัก แต่ดันไม่อยู่ ให้รออยู่นานก็ไม่มา แต่ปล่อย คนขับหกล้อกลับบ้านไปแล้ว

มักง่ายห้า คนขับให้เมียโทรมาอ้อนวอน ขอให้ "ทำบุญร่วมกัน" อย่าเอาผิด หรือเรียกร้องค่าเสียหายอะไรทั้งสิ้น เพราะ รถจะถูกยึดเพราะขาดส่งไฟแนนซ์ ส่วนที่ดินและบ้านก็กำลังประกาศขาย   ซึ่งจริงรึเปล่าก็ไม่รู้

มักง่ายหก เว็บข่าวเอาไปลงว่า มาปั่นออกกำลังกายบนทางหลวง เสมือนว่าเกิดเหตุเพราะ ประมาทร่วม  และมีคนมาคอมเม้นต์มักง่ายว่า ถนนไม่ใช่ที่ของจักรยาน ไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะไป โดยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าที่ต้องปั่นมาเพราะ ไม่มีรถยนต์ขับ แต่มีธุระต้องมากดโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องออกจากถนนซอยที่ตู้ใกล้สี่แยก

กล่าวโดยสรุป คนที่ไม่มีรถขับ ต้องปั่นจักรยานมาซื้อข้าวกินสามมื้อ เพื่อประหยัดเวลา ประหยัดพลังงานโลก และได้สุขภาพไปในเวลาเดียวกัน  ผิด!!!
สภาพตอนนี้ คือ จักรยานโครงหักกลาง ล้อแบะเละทั้งคัน คนรอด ทัปเปอร์แวร์แตกเสียหายหมด และกลายเป็น คนใจร้าย และเกะกะบนท้องถนน

หากประเทศไทยจะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ยังไม่คิดเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนร่วมกันของ ยานพาหนะทุกประเภท  มันดูจะมักง่ายเกินไปไหมล่ะครับ

เมื่อบวกเข้ากับอารมณ์ของคนจำนวนมากที่มักจะเหมารวมว่า พวกปั่นจักรยานเป็นอีกชนชั้นน่าหมั่นไส้  มาปั่นจักรยานเพื่อความรื่นรมย์ แย่งชิงพื้นที่ถนนซึ่งคนทำมาหากินต้องเร่งขับขนส่งสินค้า หรือสัญจรไปกลับที่พัก   ก็ดูเหมือนการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันกลายเป็นกิจกรรมเสี่ยงอันตรายไปทันที ทั้งที่มีคนจำนวนมากใช้จักรยานเพราะ “ไม่มี”


คนที่คิดปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน หรือนักท่องเที่ยวที่ใช้จักรยาน โดยถูกเหมารวมเข้าไปใน อคติแห่งความหมั่นไส้ จึงกลายเป็น คนที่มักง่ายเกิดไปที่คิดว่าสามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขับรถยนต์คันใหญ่ เสียอย่างนั้น

 

แต่ใช่ว่าขับรถยนต์ในประเทศไทยจะปลอดภัยอีกเช่นกัน เนื่องจากโครงสร้างเส้นทางคมนาคมไทยยังมีหลายจุดที่ไม่ได้มาตรฐานและสร้างอันตรายให้กับผู้สัญจรซ้ำซาก ไม่ว่าจะผู้ขับขี่จะใช้ความระมัดระวังมากขนาดไหน ดังปรากฏเรื่องเล่าโค้งร้อยศพกระจายไปหลายจังหวัด ทั้งที่จริงเกิดจากการออกแบบและสร้างถนนที่สร้างความเสี่ยงขึ้นมา เช่น โค้งไม่ยกระดับให้รับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เป็นทางน้ำไหล มีดินทรายสไลด์ มีหลุมบ่อ แสงไม่พอ จุดหักและระยะวิกฤต ฯลฯ

และเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ถนน ก็กลับกลายเป็นประชาชนอาจตกเป็นจำเลยคดีอาญา เพราะทำให้ของหลวงเสียหาย  โดยที่มิได้มีการตั้งคำถามกลับว่าใครเป็นผู้สร้างอันตรายให้เกิดกับประชาชน บางครั้งเสียชีวิต หลายครั้งพิการ กล่าวโดยรวม ประชาชนต้องแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว เพราะรัฐและผู้สร้างถนนผลักภาระความรับผิดด้วยสถานะที่เหนือกว่า และอำนาจในการใช้กลไกของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างช่ำชองกว่านั่นเอง

 

หากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความมักง่าย พยายามเปิดประเด็นหรือเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรม ก็จะโดนโต้กลับด้วยการอ้างบุญกรรมแบบตื้นเขินนี่พุดกันกระจายไปทั่วจริงๆ   ถึงขนาดที่บุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมเอง ยังหลุดพูดว่า "ปล่อยให้เป็นไปตามเวรตามกรรม ใครทำอะไรไว้กรรมจะตามสนอง" อยู่เป็นระยะ   จนชวนให้ประชาชนสงสัยว่าเราจะเสียภาษีจ้างและสร้างกระบวนการยุติธรรมที่แพงมหาศาลไปทำไม ถ้ากลไกไม่ได้ปกป้องสิทธิของเรา หนำซ้ำยังให้เรากลับไปรอ “ผลกรรม” ที่ไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่

 

ครับ กระบวนการยุติธรรมที่มาทันการและคาดเดาได้ นี่ล่ะครับที่จะเป็นตัวชี้ว่า ใครเป็นผู้สร้างอันตราย ความเสี่ยงกระจายไปอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หากเกิดความเสียหายใครต้องรับผิดชดใช้ และต้องมีไว้เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชน

 

หาไม่แล้วต้นทุนในการดำเนินชีวิต ประกอบธุรกิจของคนในสังคมนี้จะสูงขึ้น เพราะมีความเสี่ยงในระหว่างการคมนาคมสูงมหาศาล   ชนิดที่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา อาจสิ้นเนื้อประดาตัว ชีวิตพังกันไปแถบๆ ดังที่เห็นกันในหลายครอบครัว

 

ความเสี่ยงที่เกิดจากความมักง่ายเหล่านี้ แม้รัฐอาจจะมองไม่เห็น แต่ผู้ที่มองเห็นมานานหลายร้อยปี ก็คือ ธุรกิจประกันภัย เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มักเกิดขึ้นจากการ “ขยายเส้นทางคมนาคมขนส่ง” รวมไปถึง “การลดความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง นั่นเอง

 

บริษัทเอกชนที่เคยประกอบกิจการด้านอื่นๆ จึงหันมาจับธุรกิจประกันภัยเป็นอันมาก ถึงขนาดระดมดาราดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คับคั่ง ด้วยค่าตัวระดับแปดหลัก

ท่านที่อยู่ในแวดวงธุรกิจประกันภัย ก็บอกว่าธุรกิจมีแนวโน้มระดับร้อยเปอร์เซ็นต์ในไม่กี่ปีด้วย

ก็แน่ล่ะครับ ในเมื่อถนนหนทาง บ้านเมือง ร้านตลาด ขยายออกไปไกลมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างคมนาคมที่ไม่ได้มาตรฐาน และกระบวนการยุติธรรมที่ผลักภาระไปให้ประชาชนแบกกันเอง ก็ยิ่งมากตามไปด้วย

จึงน่าสงสัยว่า สาเหตุที่สังคมไทยมีความเสี่ยงสูง เป็นเพราะรัฐด้อยประสิทธิภาพด้วยระบบราชการที่อ่อนล้า หรือว่าต้องการให้คนทั้งสังคมรู้สึกเสี่ยงภัย จนเร่งไปซื้อหาสารพัดประกันภัยจากเหล่าบริษัทเอกชนนะครับ

หากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจก้าวหน้า แข็งแรงมั่นคง จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมาจัดการสิ่งที่เป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐ นั่นคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นี่ล่ะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2