Skip to main content

กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน

มักง่ายแรก ผมเจอ รถหกล้อมักง่าย คิดจะเปลี่ยนใจจากขับตรงผ่านแยกเป็นเลี้ยวซ้าย ก็หักพวงมาลัยมันกลางสี่แยก เกี่ยวจักรยานและตัวผมล้มกลิ้งไปใต้รถ ดีไม่ถูกทับตาย   รอดมาได้หวุดหวิดครับ ไม่แตก ไม่หัก แต่ถลอกปอกเปิกไปหมด จักรยานพัง กล้องข้าวผมแตกเสียหาย แกงส้ม คั่วกลิ้งกระจายเละเทะ
คนขับบอก  "ผมผิดเอง พอดีหลงทาง จะไปซ้ายแต่ดันอยู่ตรง เลยไม่ได้เลี้ยวตรงทางเบี่ยงก่อนหน้านี้" (มาหักใส่ตอนเลยแยกแล้ว เกี่ยวรถผมที่ชิดซ้ายไม่รู้จะชิดไงแล้ว)

มักง่ายสอง รถฉุกเฉินพาตัวผมไปโรงพยาบาลบาล เจ้าหน้าที่ก็ทำๆกันไป เสมือนว่า ผมมาทำให้หมอพยาบาลเสียเวลามากที่เกิดอุบัติเหตุ แต่อันนี้พอเข้าใจได้ เนื่องจาก คนเจ็บก็ล้นโรงพยาบาล เช่นกัน

มักง่ายสาม เจ้าพนักงานโทรมาบอกว่าให้ยอมๆความไป อย่าไปเอาเรื่องอะไรเลย ค่าเสียหายก็อย่าไปเรียกอะไรเลย คนขับไม่ค่อยมีตังค์ ประวัติก่อคดีก็ไม่มี  พอผมถามว่า

มักง่ายสี่ สารวัตรเรียกไปโรงพัก แต่ดันไม่อยู่ ให้รออยู่นานก็ไม่มา แต่ปล่อย คนขับหกล้อกลับบ้านไปแล้ว

มักง่ายห้า คนขับให้เมียโทรมาอ้อนวอน ขอให้ "ทำบุญร่วมกัน" อย่าเอาผิด หรือเรียกร้องค่าเสียหายอะไรทั้งสิ้น เพราะ รถจะถูกยึดเพราะขาดส่งไฟแนนซ์ ส่วนที่ดินและบ้านก็กำลังประกาศขาย   ซึ่งจริงรึเปล่าก็ไม่รู้

มักง่ายหก เว็บข่าวเอาไปลงว่า มาปั่นออกกำลังกายบนทางหลวง เสมือนว่าเกิดเหตุเพราะ ประมาทร่วม  และมีคนมาคอมเม้นต์มักง่ายว่า ถนนไม่ใช่ที่ของจักรยาน ไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะไป โดยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าที่ต้องปั่นมาเพราะ ไม่มีรถยนต์ขับ แต่มีธุระต้องมากดโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องออกจากถนนซอยที่ตู้ใกล้สี่แยก

กล่าวโดยสรุป คนที่ไม่มีรถขับ ต้องปั่นจักรยานมาซื้อข้าวกินสามมื้อ เพื่อประหยัดเวลา ประหยัดพลังงานโลก และได้สุขภาพไปในเวลาเดียวกัน  ผิด!!!
สภาพตอนนี้ คือ จักรยานโครงหักกลาง ล้อแบะเละทั้งคัน คนรอด ทัปเปอร์แวร์แตกเสียหายหมด และกลายเป็น คนใจร้าย และเกะกะบนท้องถนน

หากประเทศไทยจะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ยังไม่คิดเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนร่วมกันของ ยานพาหนะทุกประเภท  มันดูจะมักง่ายเกินไปไหมล่ะครับ

เมื่อบวกเข้ากับอารมณ์ของคนจำนวนมากที่มักจะเหมารวมว่า พวกปั่นจักรยานเป็นอีกชนชั้นน่าหมั่นไส้  มาปั่นจักรยานเพื่อความรื่นรมย์ แย่งชิงพื้นที่ถนนซึ่งคนทำมาหากินต้องเร่งขับขนส่งสินค้า หรือสัญจรไปกลับที่พัก   ก็ดูเหมือนการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันกลายเป็นกิจกรรมเสี่ยงอันตรายไปทันที ทั้งที่มีคนจำนวนมากใช้จักรยานเพราะ “ไม่มี”


คนที่คิดปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน หรือนักท่องเที่ยวที่ใช้จักรยาน โดยถูกเหมารวมเข้าไปใน อคติแห่งความหมั่นไส้ จึงกลายเป็น คนที่มักง่ายเกิดไปที่คิดว่าสามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขับรถยนต์คันใหญ่ เสียอย่างนั้น

 

แต่ใช่ว่าขับรถยนต์ในประเทศไทยจะปลอดภัยอีกเช่นกัน เนื่องจากโครงสร้างเส้นทางคมนาคมไทยยังมีหลายจุดที่ไม่ได้มาตรฐานและสร้างอันตรายให้กับผู้สัญจรซ้ำซาก ไม่ว่าจะผู้ขับขี่จะใช้ความระมัดระวังมากขนาดไหน ดังปรากฏเรื่องเล่าโค้งร้อยศพกระจายไปหลายจังหวัด ทั้งที่จริงเกิดจากการออกแบบและสร้างถนนที่สร้างความเสี่ยงขึ้นมา เช่น โค้งไม่ยกระดับให้รับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เป็นทางน้ำไหล มีดินทรายสไลด์ มีหลุมบ่อ แสงไม่พอ จุดหักและระยะวิกฤต ฯลฯ

และเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ถนน ก็กลับกลายเป็นประชาชนอาจตกเป็นจำเลยคดีอาญา เพราะทำให้ของหลวงเสียหาย  โดยที่มิได้มีการตั้งคำถามกลับว่าใครเป็นผู้สร้างอันตรายให้เกิดกับประชาชน บางครั้งเสียชีวิต หลายครั้งพิการ กล่าวโดยรวม ประชาชนต้องแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว เพราะรัฐและผู้สร้างถนนผลักภาระความรับผิดด้วยสถานะที่เหนือกว่า และอำนาจในการใช้กลไกของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างช่ำชองกว่านั่นเอง

 

หากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความมักง่าย พยายามเปิดประเด็นหรือเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรม ก็จะโดนโต้กลับด้วยการอ้างบุญกรรมแบบตื้นเขินนี่พุดกันกระจายไปทั่วจริงๆ   ถึงขนาดที่บุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมเอง ยังหลุดพูดว่า "ปล่อยให้เป็นไปตามเวรตามกรรม ใครทำอะไรไว้กรรมจะตามสนอง" อยู่เป็นระยะ   จนชวนให้ประชาชนสงสัยว่าเราจะเสียภาษีจ้างและสร้างกระบวนการยุติธรรมที่แพงมหาศาลไปทำไม ถ้ากลไกไม่ได้ปกป้องสิทธิของเรา หนำซ้ำยังให้เรากลับไปรอ “ผลกรรม” ที่ไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่

 

ครับ กระบวนการยุติธรรมที่มาทันการและคาดเดาได้ นี่ล่ะครับที่จะเป็นตัวชี้ว่า ใครเป็นผู้สร้างอันตราย ความเสี่ยงกระจายไปอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หากเกิดความเสียหายใครต้องรับผิดชดใช้ และต้องมีไว้เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชน

 

หาไม่แล้วต้นทุนในการดำเนินชีวิต ประกอบธุรกิจของคนในสังคมนี้จะสูงขึ้น เพราะมีความเสี่ยงในระหว่างการคมนาคมสูงมหาศาล   ชนิดที่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา อาจสิ้นเนื้อประดาตัว ชีวิตพังกันไปแถบๆ ดังที่เห็นกันในหลายครอบครัว

 

ความเสี่ยงที่เกิดจากความมักง่ายเหล่านี้ แม้รัฐอาจจะมองไม่เห็น แต่ผู้ที่มองเห็นมานานหลายร้อยปี ก็คือ ธุรกิจประกันภัย เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มักเกิดขึ้นจากการ “ขยายเส้นทางคมนาคมขนส่ง” รวมไปถึง “การลดความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง นั่นเอง

 

บริษัทเอกชนที่เคยประกอบกิจการด้านอื่นๆ จึงหันมาจับธุรกิจประกันภัยเป็นอันมาก ถึงขนาดระดมดาราดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คับคั่ง ด้วยค่าตัวระดับแปดหลัก

ท่านที่อยู่ในแวดวงธุรกิจประกันภัย ก็บอกว่าธุรกิจมีแนวโน้มระดับร้อยเปอร์เซ็นต์ในไม่กี่ปีด้วย

ก็แน่ล่ะครับ ในเมื่อถนนหนทาง บ้านเมือง ร้านตลาด ขยายออกไปไกลมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างคมนาคมที่ไม่ได้มาตรฐาน และกระบวนการยุติธรรมที่ผลักภาระไปให้ประชาชนแบกกันเอง ก็ยิ่งมากตามไปด้วย

จึงน่าสงสัยว่า สาเหตุที่สังคมไทยมีความเสี่ยงสูง เป็นเพราะรัฐด้อยประสิทธิภาพด้วยระบบราชการที่อ่อนล้า หรือว่าต้องการให้คนทั้งสังคมรู้สึกเสี่ยงภัย จนเร่งไปซื้อหาสารพัดประกันภัยจากเหล่าบริษัทเอกชนนะครับ

หากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจก้าวหน้า แข็งแรงมั่นคง จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมาจัดการสิ่งที่เป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐ นั่นคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นี่ล่ะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต