Skip to main content

กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน

มักง่ายแรก ผมเจอ รถหกล้อมักง่าย คิดจะเปลี่ยนใจจากขับตรงผ่านแยกเป็นเลี้ยวซ้าย ก็หักพวงมาลัยมันกลางสี่แยก เกี่ยวจักรยานและตัวผมล้มกลิ้งไปใต้รถ ดีไม่ถูกทับตาย   รอดมาได้หวุดหวิดครับ ไม่แตก ไม่หัก แต่ถลอกปอกเปิกไปหมด จักรยานพัง กล้องข้าวผมแตกเสียหาย แกงส้ม คั่วกลิ้งกระจายเละเทะ
คนขับบอก  "ผมผิดเอง พอดีหลงทาง จะไปซ้ายแต่ดันอยู่ตรง เลยไม่ได้เลี้ยวตรงทางเบี่ยงก่อนหน้านี้" (มาหักใส่ตอนเลยแยกแล้ว เกี่ยวรถผมที่ชิดซ้ายไม่รู้จะชิดไงแล้ว)

มักง่ายสอง รถฉุกเฉินพาตัวผมไปโรงพยาบาลบาล เจ้าหน้าที่ก็ทำๆกันไป เสมือนว่า ผมมาทำให้หมอพยาบาลเสียเวลามากที่เกิดอุบัติเหตุ แต่อันนี้พอเข้าใจได้ เนื่องจาก คนเจ็บก็ล้นโรงพยาบาล เช่นกัน

มักง่ายสาม เจ้าพนักงานโทรมาบอกว่าให้ยอมๆความไป อย่าไปเอาเรื่องอะไรเลย ค่าเสียหายก็อย่าไปเรียกอะไรเลย คนขับไม่ค่อยมีตังค์ ประวัติก่อคดีก็ไม่มี  พอผมถามว่า

มักง่ายสี่ สารวัตรเรียกไปโรงพัก แต่ดันไม่อยู่ ให้รออยู่นานก็ไม่มา แต่ปล่อย คนขับหกล้อกลับบ้านไปแล้ว

มักง่ายห้า คนขับให้เมียโทรมาอ้อนวอน ขอให้ "ทำบุญร่วมกัน" อย่าเอาผิด หรือเรียกร้องค่าเสียหายอะไรทั้งสิ้น เพราะ รถจะถูกยึดเพราะขาดส่งไฟแนนซ์ ส่วนที่ดินและบ้านก็กำลังประกาศขาย   ซึ่งจริงรึเปล่าก็ไม่รู้

มักง่ายหก เว็บข่าวเอาไปลงว่า มาปั่นออกกำลังกายบนทางหลวง เสมือนว่าเกิดเหตุเพราะ ประมาทร่วม  และมีคนมาคอมเม้นต์มักง่ายว่า ถนนไม่ใช่ที่ของจักรยาน ไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะไป โดยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าที่ต้องปั่นมาเพราะ ไม่มีรถยนต์ขับ แต่มีธุระต้องมากดโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องออกจากถนนซอยที่ตู้ใกล้สี่แยก

กล่าวโดยสรุป คนที่ไม่มีรถขับ ต้องปั่นจักรยานมาซื้อข้าวกินสามมื้อ เพื่อประหยัดเวลา ประหยัดพลังงานโลก และได้สุขภาพไปในเวลาเดียวกัน  ผิด!!!
สภาพตอนนี้ คือ จักรยานโครงหักกลาง ล้อแบะเละทั้งคัน คนรอด ทัปเปอร์แวร์แตกเสียหายหมด และกลายเป็น คนใจร้าย และเกะกะบนท้องถนน

หากประเทศไทยจะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ยังไม่คิดเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนร่วมกันของ ยานพาหนะทุกประเภท  มันดูจะมักง่ายเกินไปไหมล่ะครับ

เมื่อบวกเข้ากับอารมณ์ของคนจำนวนมากที่มักจะเหมารวมว่า พวกปั่นจักรยานเป็นอีกชนชั้นน่าหมั่นไส้  มาปั่นจักรยานเพื่อความรื่นรมย์ แย่งชิงพื้นที่ถนนซึ่งคนทำมาหากินต้องเร่งขับขนส่งสินค้า หรือสัญจรไปกลับที่พัก   ก็ดูเหมือนการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันกลายเป็นกิจกรรมเสี่ยงอันตรายไปทันที ทั้งที่มีคนจำนวนมากใช้จักรยานเพราะ “ไม่มี”


คนที่คิดปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน หรือนักท่องเที่ยวที่ใช้จักรยาน โดยถูกเหมารวมเข้าไปใน อคติแห่งความหมั่นไส้ จึงกลายเป็น คนที่มักง่ายเกิดไปที่คิดว่าสามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขับรถยนต์คันใหญ่ เสียอย่างนั้น

 

แต่ใช่ว่าขับรถยนต์ในประเทศไทยจะปลอดภัยอีกเช่นกัน เนื่องจากโครงสร้างเส้นทางคมนาคมไทยยังมีหลายจุดที่ไม่ได้มาตรฐานและสร้างอันตรายให้กับผู้สัญจรซ้ำซาก ไม่ว่าจะผู้ขับขี่จะใช้ความระมัดระวังมากขนาดไหน ดังปรากฏเรื่องเล่าโค้งร้อยศพกระจายไปหลายจังหวัด ทั้งที่จริงเกิดจากการออกแบบและสร้างถนนที่สร้างความเสี่ยงขึ้นมา เช่น โค้งไม่ยกระดับให้รับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เป็นทางน้ำไหล มีดินทรายสไลด์ มีหลุมบ่อ แสงไม่พอ จุดหักและระยะวิกฤต ฯลฯ

และเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ถนน ก็กลับกลายเป็นประชาชนอาจตกเป็นจำเลยคดีอาญา เพราะทำให้ของหลวงเสียหาย  โดยที่มิได้มีการตั้งคำถามกลับว่าใครเป็นผู้สร้างอันตรายให้เกิดกับประชาชน บางครั้งเสียชีวิต หลายครั้งพิการ กล่าวโดยรวม ประชาชนต้องแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว เพราะรัฐและผู้สร้างถนนผลักภาระความรับผิดด้วยสถานะที่เหนือกว่า และอำนาจในการใช้กลไกของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างช่ำชองกว่านั่นเอง

 

หากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความมักง่าย พยายามเปิดประเด็นหรือเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรม ก็จะโดนโต้กลับด้วยการอ้างบุญกรรมแบบตื้นเขินนี่พุดกันกระจายไปทั่วจริงๆ   ถึงขนาดที่บุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมเอง ยังหลุดพูดว่า "ปล่อยให้เป็นไปตามเวรตามกรรม ใครทำอะไรไว้กรรมจะตามสนอง" อยู่เป็นระยะ   จนชวนให้ประชาชนสงสัยว่าเราจะเสียภาษีจ้างและสร้างกระบวนการยุติธรรมที่แพงมหาศาลไปทำไม ถ้ากลไกไม่ได้ปกป้องสิทธิของเรา หนำซ้ำยังให้เรากลับไปรอ “ผลกรรม” ที่ไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่

 

ครับ กระบวนการยุติธรรมที่มาทันการและคาดเดาได้ นี่ล่ะครับที่จะเป็นตัวชี้ว่า ใครเป็นผู้สร้างอันตราย ความเสี่ยงกระจายไปอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หากเกิดความเสียหายใครต้องรับผิดชดใช้ และต้องมีไว้เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชน

 

หาไม่แล้วต้นทุนในการดำเนินชีวิต ประกอบธุรกิจของคนในสังคมนี้จะสูงขึ้น เพราะมีความเสี่ยงในระหว่างการคมนาคมสูงมหาศาล   ชนิดที่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา อาจสิ้นเนื้อประดาตัว ชีวิตพังกันไปแถบๆ ดังที่เห็นกันในหลายครอบครัว

 

ความเสี่ยงที่เกิดจากความมักง่ายเหล่านี้ แม้รัฐอาจจะมองไม่เห็น แต่ผู้ที่มองเห็นมานานหลายร้อยปี ก็คือ ธุรกิจประกันภัย เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มักเกิดขึ้นจากการ “ขยายเส้นทางคมนาคมขนส่ง” รวมไปถึง “การลดความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง นั่นเอง

 

บริษัทเอกชนที่เคยประกอบกิจการด้านอื่นๆ จึงหันมาจับธุรกิจประกันภัยเป็นอันมาก ถึงขนาดระดมดาราดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คับคั่ง ด้วยค่าตัวระดับแปดหลัก

ท่านที่อยู่ในแวดวงธุรกิจประกันภัย ก็บอกว่าธุรกิจมีแนวโน้มระดับร้อยเปอร์เซ็นต์ในไม่กี่ปีด้วย

ก็แน่ล่ะครับ ในเมื่อถนนหนทาง บ้านเมือง ร้านตลาด ขยายออกไปไกลมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างคมนาคมที่ไม่ได้มาตรฐาน และกระบวนการยุติธรรมที่ผลักภาระไปให้ประชาชนแบกกันเอง ก็ยิ่งมากตามไปด้วย

จึงน่าสงสัยว่า สาเหตุที่สังคมไทยมีความเสี่ยงสูง เป็นเพราะรัฐด้อยประสิทธิภาพด้วยระบบราชการที่อ่อนล้า หรือว่าต้องการให้คนทั้งสังคมรู้สึกเสี่ยงภัย จนเร่งไปซื้อหาสารพัดประกันภัยจากเหล่าบริษัทเอกชนนะครับ

หากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจก้าวหน้า แข็งแรงมั่นคง จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมาจัดการสิ่งที่เป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐ นั่นคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นี่ล่ะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ