Skip to main content

พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน

การทำให้คนร่างกายจิตใจแข็งแรง ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และสังคม(อาชญากรรม)  เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือพัฒนาสังคม   สามารถถอนทุนคืนได้ เมื่อทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นพร้อม เช่น จบการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ  ทำให้ยังมีโอกาสขยับเลื่อนสถานะ และมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาสังคม อนาคต ร่วมกัน  แสวงหาความรู้และสื่อสาระ

ไม่เหมือนบางประเทศ เอาไปกระตุ้นการบริโภคกับสร้างขยะที่ไม่จำเป็น เลยเจ๊ง เบิ้ลๆ นะครับนะ

การทำให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุงในอนาคต การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการทำให้คนติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวและกู้ยืม และคนตัดใจไม่เรียนต่อโดยเฉพาะคนที่ต้องกู้ยืม  ทำให้โอกาสขยับเลื่อนสถานะยิ่งยาก   และต้องใช้เวลาทั้งหมดภายใต้ตรรกะของทุนนิยม การบังคับของนายจ้าง และรัฐ โดยมีสื่อบันเทิงกล่อม


ดีใจที่มีคนเห็นร่วมกันมากขึ้นโดยมิได้นัดหมายในเรื่อง

1. คนที่ทรงอิทธิพลทางความคิด คือ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือคนทำหนังทำละคร และแต่งเพลง มิใช่ นักวิชาการ หรือ นักเขียนวรรณกรรม

2. หนังหน้า หรือรูปลักษณ์ภายนอก เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขยับเลื่อนสถานะความเป็นอยู่ในสังคมไทย ทุกเรื่อง ทุกแวดวง

ส่วนข้อสังเกตที่เห็นชัด คือ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร และคนรุ่นใหม่ลงทุนทางอ้อมด้วยการซื้อหุ้น ตราสารต่างๆ มากขึ้น คือ

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ

มีคนที่ ต่อต้านทุนนิยมสามานย์แต่ดันเอาใจช่วยเชียร์ทุนเผด็จการที่ผลักดันโครงการใหญ่ๆที่ไปบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยมากขึ้น

ก็เข้าใจได้นะครับว่า ทุนมันทำงานสลับซับซ้อนและทำให้คนที่มีส่วนได้เสีย เอาใจช่วยมัน แม้จะขัดกับหลักการที่ "ตนเคยประกาศไว้"

ผมเข้าใจนะครับ ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่ไม่ต้องทำอะไรที่มันย้อนแย้งกัน ให้ "คำสำคัญๆ" พังไปด้วยก็ได้

คนที่เขาทำงานเรื่องนั้นจริงๆ ลำบากมากครับ โดนโหนกันจนเละ

พอเสร็จแล้วก็ทิ้งเรื่องไว้ ให้เขาต้องมาตามล้างตามเช็ดกัน

หรือจริงๆ นโยบายที่สังคมไทยไม่ได้คิดกัน คือ

"Pacification" การทำให้ประชากรสุขสงบ

ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐหลังสงครามโลก ดำเนินการกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการ หงุดหงิด เดือดดาล แล้วลุกฮือ

บางคนบอกว่ามี ก็ "คืนความสุข" กันอยู่นี่ไง เอ่อ....ใช่เหรอ

สวัสดิการสังคม การสร้าง "เวลาว่าง" และ "กิจกรรม" ให้ประชาชนได้ทำแล้วรู้สึกเต็มในหัวใจ หรือให้โอกาสได้พัฒนาขยับเลื่อนสถานะตัวเองได้
ไม่มีการโกงหรือกลั่นแกล้งกัน น่าจะเป็นปลายทางของความสำเร็จ

ไม่งั้นก็จะได้เห็น "ความวิปลาส" กันเป็นรอบๆ แต่รอบจะถี่ขึ้น เพราะมี Social Media ที่ทำให้แรงริษยา กระเพื่อมไวไปด้วย

การบอกให้แต่ละคนไปปฏิบัติธรรม คงไม่พอแล้วครับ 
ถ้ากลับมาแล้วยังต้องมาเจออะไรแบบนี้

เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ต้องมาเจอความขัดแย้งทางสังคมเป็นระยะ

คงต้องยอมให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบ้างนะครับ ดาวค้างฟ้าทั้งหลาย

ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นกัดเซาะฝั่ง จนตลิ่งพังแน่นอน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2