Skip to main content

อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณาว่าเขาทำงานหนักด้วยหรือไม่

แต่มนุษย์ก็ยังมีอีกหลายหลายมิติที่ต้องคำนึง หากพิจาณาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมจะพบว่า การพักผ่อน หรือกิจกรรมนันทนาการทั้งหลาย กลายเป็นที่มาของ “อารยธรรม” ของมนุษย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญงอกงามด้านความคิดสติปัญญา และสุนทรียภาพของสังคมนั้นๆด้วย

ในสังคมเกษตรกรรมและปศุสัตว์ คนใช้เวลาในการเพาะปลุกหรือดูแลสัตว์เลี้ยงตามแสงอาทิตย์ และฤดูกาล กิจกรรมทางการผลิตย่อมต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเฉพาะเจาะจง เช่น หลังฤดูหว่านไถ ชาวนาก็จะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมจักสาน หรือทำงานอื่นๆ  หรือฤดูเก็บเกี่ยวก็จะต้องมีกิจกรรมทำร่วมกันกับคนในชุมชนที่มาลงแขก หมดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเฉลิมฉลอง   ประเพณีและขนบธรรมเนียมจำนวนมากจึงเกิดขึ้น และกลายเป็นสายใยที่เชื่อมโยงคนในชุมชนไว้  เสมือนเป็นประชาธิปไตยในหมู่บ้าน ที่คนสามารถมาร่วมกันแสดงออก รับรู้ตัวตนซึ่งกันและกัน

แต่บางพิธีกรรมก็แสดงให้เห็นอำนาจบารมีของคนในชุมชนนั้นๆ   ผ่านการเป็นเจ้าภาพ แม่งาน ครูบาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จนกลายเป็น “การเมือง” ของคนในชุมชนไปในตามลำดับศักดิ์สูงต่ำ 

ในสังคมอุตสาหกรรมเวลาในสถานประกอบการมีความชัดเจนมากขึ้น มีการทำงานเดิมๆซ้ำๆซากตลอดทั้งปี การง่วนแต่กับงานประจำเป็นที่มาของสารพัดโรคอย่างที่ข้อมูลด้านชีวอนามัยบ่งชี้  การกำหนดระยะเวลาพัก เปลี่ยนอิริยาบถจึงสำคัญ   เช่นเดียวกับการมีกิจกรรมกีฬา ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันของคนในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มความเป็น “ทีมเวิร์ค” ให้คนทำงานร่วมกันเป็นระบบประสานสอดคล้องกันไปได้ดีขึ้น   และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังที่ทำให้แรงงานไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ

กฎหมายที่เกิดขึ้นหลังเห็นพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้าง “เวลาว่าง” ขึ้นมาเป็นวาล์วระบายความกดดันที่ถาโถมมาตลอดทั้งวันในชั่วโมงทำงาน จึงปรากฏ “สิทธิในการพักผ่อนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการ” ควบคู่ไปกับสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงานหรือสิทธิแรงงานนะครับ โดยเฉพาะในประเด็นแรงงาน สภาพการจ้างงานนี่สำคัญมาก  

องค์กรแรงงานสากล (ILO) จึงพูดเรื่องนี้ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านเรื่องจำนวนชั่วโมงการทำงานเอาไว้เกือบร้อยปีแล้ว   หลังประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็รับรองสิทธิโดยปฏิญญาสากลและกติกาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นะครับ ผม ไม่ได้แต่งเอง

ประเทศไทยไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ค่าตอบแทน หรือความมั่นคงในการทำงานยังไม่ค่อยมีเลย  แต่ประเด็นนี้สำคัญมากในการพัฒนา คือ พัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตคนทำงาน และพัฒนาคุณภาพเนื้องาน   และเป็นตัวบ่งชี้ด้วยซ้ำว่า ผู้ประกอบการไทยพร้อมจะก้าวให้พ้นกับดักของการรับจ้างผลิตสินค้าโหล สินค้าความประณีตต่ำ หรือปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงประณีตและสร้างสรรค์หรือยัง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจดิจิตัลที่บอกในตัวอยู่แล้วว่ามีคนอีกจำนวนมากปฏิเสธความจำเจของการทำงานซ้ำซากหนักหน่วงของชั่วโมงทำงานในสำนักงานและโรงงาน

หากจุดแข็งของประเทศไทย คือ ภาคบริการโดยเฉพาะแรงงานอารมณ์ที่สามารถรองรับความต้องการที่มากมายของลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย พร้อมเผชิญกับลูกค้าพรีเมี่ยม ไฮเอนด์ที่มี “ความพึงพอใจของตน” เป็นที่ตั้งเข้าไปอีก การวางแผนผ่อนหนักผ่อนเบาให้คนทำงานจึงเป็นเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างความพึงพอใจไปไม่น้อยกว่า “การบังคับประเมินความพึงพอใจ” ที่ทำให้คนทำงานอกสั่นขวัญแขวนเช่นกัน

คนเหนื่อยคนล้า "เกินไป" แสดงออกมาได้ไม่เนียนหรอกครับ หรือถ้าเนียนก็คือเก็บกดไว้มากรอวันระเบิด ก็คือ ลาออก แล้วผู้ประกอบการก็ต้องหาคนใหม่มาฝึกหัดให้เสียเวลาและงบประมาณอบรมอีก

หากนายจ้างดูแลสภาพการทำงานและชีวิตของลูกจ้างดี งานก็จะออกมาดี  เช่นเดียวกับงานประเภทช่างฝีมือปัจจุบันเป็นงานบริการ/ช่างฝีมือ/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เน้นกันที่รายละเอียดละเอียด ต้องรองรับความยิบย่อยของลูกค้าแต่ละราย แต่ตัวคนให้บริการหรือช่างเองอาจจะไม่สามารถซื้อบริการหรือสินค้าแบบนี้ได้เลยในชีวิต กลายเป็นความหดหู่ทางจิตวิทยาเพิ่มมาอีก   การสร้างบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายก็จะส่งเสริมให้ช่าง/ผู้เชี่ยวชาญได้มีความสุขไว้เผื่อเป็นกำลังใจในการทำงานที่ตึงเครียดมาก

นอกจากสิทธิในการพักผ่อนสำหรับคนทำงานแล้ว  ยังมีสิทธิหนึ่งที่มักพูดถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ สิทธิในการได้ทำกิจกรรมนันทนาการ และสร้างสรรค์ ของผู้พึ่งพิงแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้คนทำงานหายห่วง ไม่เป็นกังวลยามทำงาน ทั้งกลุ่มเด็ก และคนชรา

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) การแบ่งเวลาให้เด็ก คนชรามีเวลาเล่นกีฬา ศิลปะ บันเทิง ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม
2) ที่สถานประกอบการ จัดให้มีสถานที่และคนคอยดูแลลูกหลาน คนชราของคนทำงาน

                ในปัจจุบันรัฐไทยได้เข้ามาอุดช่องว่างแทนผู้ประกอบการ โดยการมีสถานดูแล โรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่ดูแลคนชราและเด็ก   แต่แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุ และการหาแรงงานราคาถูกดูแลเด็กจะยิ่งยากขึ้นไปเรื่อย   ก็ต้องลองคิดว่าภาระและค่าใช้จ่ายในการสร้าง จ้าง และพัฒนาบุคลากรด้านนี้ควรเป็นของใคร 

ใครได้ประโยชน์ก็ควรต้องจ่าย จะจ่ายทางตรงหรือทางอ้อม ต้องตัดสินใจเสียที

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2