Skip to main content

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการกำกับตลาดไม่ให้ล้มเหลวด้วยนั่นเอง 

การผูกขาดด้วยผู้เล่นน้อยรายในตลาด (Oligopolies) เกิดจากบรรษัทที่อยู่ในตลาดธุรกิจนั้นแทนที่จะแข่งขันกันแต่กลับมีแนวโน้มจะ “ฮั้ว” กันเพื่อมิให้เกิดการต่อสู้ฆ่าฟันกันเองจนพังพาบกันไปทุกฝ่าย   ในงานของ ศ.ชอง ติโรล ได้ยกตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินที่มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนน้อยตกลงกันเพื่อมิให้ปล่อยสินค้า โปรโมชั่น หรือบริการบางอย่าง ออกมาตัดราคา หรือสร้างแรงจูงใจลุกค้ามาก จนเกิดการต้องหั่นกำไรเข้าสู้

ตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน สร้างผลเสียที่เกิดขึ้นนอกจากที่รู้กันอย่างแน่ชัด คือ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า แต่สิ่งที่ใหญ่กว่า คือ กลไกตลาดที่จะผลักดันให้บรรษัทปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร หรือบริการ ใหม่ๆ เพื่อทำให้บรรษัทมีศักยภาพในการผลิต ให้บริการกับลูกค้า อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง และเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพจึงไม่เกิดขึ้น

การกำกับผูกขาดน้อยรายนั้นทำผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาด  แต่อย่างที่ทราบกันว่า ตลาดธุรกิจบริการ (Services) ไม่เหมือนกับ ตลาดธุรกิจสินค้า (Goods)   เนื่องจากการบางธุรกิจต้องมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมระบบการให้บริการระหว่างบรรษัทต่างๆที่ให้บริการลูกค้าแต่ละยี่ห้อ   ภาคบริการจึงมักมีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับควบคุม เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การสร้างระบบกำกับตลาด (Market Regulation) ใน กฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ กฎหมายการลงทุน หรือกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคบริการ   กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (Corporate) ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงการบริหารแบบบรรษัทภิบาล หรือการสร้างกลไกรัฐหรือ องค์กรอิสระมากำกับเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล แล้วนำไปสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นผลผลิตของเรื่องนี้โดยตรง คือ ประมวลจริยธรรมของบรรษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Code of Conduct on Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือ การบริหารภายในทุกขั้นตอนรวมไปถึงกิจกรรมต่อสังคมภายนอกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ตัวอย่างภาคการเงินที่เห็นกันเยอะมาก คือ การตบแต่งบัญชีเพื่อหลอกลวงผู้ถือหุ้น และผลักภาระความเสียหายไปจากผู้บริหาร จนผลนำไปสู่วิกฤตกาลทางการเงินครั้งใหญ่ที่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีคนทั้งรัฐมาพยุง    รวมไปถึงกรณีบริษัทที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน จนเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจนบรรษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกระเทือนผู้ถือหุ้น แต่ที่สำคัญกว่า คือ ทำให้คนในท้องถิ่นตาย และเกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา

ในกระแสกฎหมายระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจหรือสิทธิมนุษยชน ล้วนเห็นความสำคัญของบรรษัทและสร้างกฎหมายแล้วนำไปปรับสร้างกลไกภายในรัฐจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้การกระทบกระทั่งของการทำธุรกิจของบรรษัทสร้างความขัดแย้งลุกลามตามมาจนคุกคามสันติภาพ

ถามว่าเกี่ยวข้องอย่างไร   ในศาสตร์แห่งการจัดการความขัดแย้ง มักจะเริ่มต้นด้วยการมองหาสาเหตุว่า ผู้เล่นกลุ่มใดที่ไม่ลงรอยกัน มีผลประโยชน์ใดที่ขัดกันอยู่ และปัญหานั้นมีกติกาวางกรอบการแข่งขัน หรือระงับข้อพิพาทอย่างไร   โดยปฏิเสธมิได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ 

ศ.ดร.เบนเนดิค แอนเดอร์สัน ผู้เขียน Imagined Community วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า สาเหตุสำคัญมาจากชนชั้นนำไทยที่ผูกขาดอำนาจอยู่ไม่กี่กลุ่มแบบ "Oligarchy" กำลังทะเลาะกันเพราะยังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว    ซึ่งเราก็เห็นภาวะหวาดระแวงนี้

สอดคล้องกับ ศ.ดร.ดันแคน แม็คคาร์โก้ ที่วิเคราะห์ว่า ชนชั้นนำไทยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจก็เนื่องมาจากการมีอิทธิพลการเมืองเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network>>>>>) ซึ่งเราก็เห็นเป็นระยะว่ามีพลังเหนือกว่าการกำกับของกฎหมายทั้งหลายมาก

เช่นเดียวกับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ย้ำเตือนให้ระวังการ "เกี้ยเซี๊ยะ" ของชนชั้นนำ ไม่กี่กลุ่มที่เมื่อตกลงผลประโยชน์กันลงตัวหลังฉาก  แม้หน้าฉากจะเล่นละครไปให้มวลชนมีหวัง แต่สุดท้ายอาจเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆได้

การผูกขาดอำนาจของคนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดวิกฤตในสังคมการเมือง เนื่องจากสร้างวิกฤตความชอบธรรม และทำลายระบบต่างๆ ตามครรลองประชาธิปไตย สาเหตุหลักของความขัดแย้งและด้อยพัฒนา ก็เพราะคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเศรษฐกิจกันนี่แหละ   ถ้าจะแก้ความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจ นั่นคือ การกำกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดน้อยราย ที่เป็นผู้กุมอำนาจด้วยเสมอ

หากจะสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ก็ต้องเพิ่ม "ส่วนแบ่ง" ทางเศรษฐกิจให้คนจำนวนมากเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย   มวลชน จึงจะกลายเป็น พลเมือง ที่ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ส่วนโนเบลนี่ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง "การกำหนดวาระการเมืองของชนชั้นนำยุโรป"   การมอบรางวัลปีนี้ให้กับ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ชี้เรื่องความฟอนเฟะของการกำกับสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 
ซึ่งทำงานให้/เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับ ผู้อำนวยการสตรีฝรั่งเศส IMF จึงเป็นการ เอาคืนของ ชนชั้นนำยุโรป

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว