Skip to main content

ผมเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยเลือกข้างทางการเมืองกันไปซะทุกเรื่องนะครับ สิ่งที่เห็นตลอดเวลา คือ การเที่ยวไปป้ายสีใส่ความเห็นหรือผลงานของคนอื่นเสียเลอะเทอะ จนเลยเถิดไปถึงไม่ดูรายละเอียด   จนบางครั้งเกิดปรากฏการณ์ "เงิบ" อย่างแพร่หลาย เพราะแชร์รัวๆ ด่ารัวๆ โดยไม่ตรวจสอบที่มาที่ไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ มันลุกลามไปถึงการวิจารณ์เหตุการณ์ในประเทศอื่น ซึ่งผมเห็น คอมเม้นต์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน ในพื้นที่ต่างๆ แล้วรู้สึกปวดใจยิ่งนัก

เพราะมีคนจำนวนมากเข้าไปเชียร์ให้ รัสเซียบุกเข้าไป ทำสงครามเลย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของอเมริกา โดยเหมาเอาว่า ฟากที่จะนำพายูเครนเข้าสหภาพยุโรป นั้นเป็นทาสมะกัน แล้วหันมาบอกว่า Nato คือ กองกำลังบังหน้าของของสหรัฐอเมริกา อยากทำสงครามอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ  งั้นหรือครับ?

ภาวะบ้าการเมืองแบบตื้นเขิน ชักไปกันใหญ่แล้วนะครับ ความคิดแบบ "คู่ตรงข้าม" ตื้นๆ แบบหาพระเอก หาตัวร้ายเนี่ยเป็นมรดกตกทอดของยุคสงครามเย็นซึ่งได้ทำลายคนตัวเล็กตัวน้อยไปโดยอาศัยข้ออ้างใหญ่ๆ แบบไม่สนใจรายละเอียดมานักต่อนัก

หากทบทวนสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น จะเห็นเทรนด์หนึ่งที่ชัดเจน คือ 

1) การล่มสลายของรัฐขนาดใหญ่ที่รวมคนชาติพันธุ์หลากหลายเข้าไว้ในรัฐเดียว เราคงคำว่า อดีตรัโซเวียตสเซีย อดีตยูโกสลาเวีย หรืออดีตอินโดนีเซีย กันจนชินหูนะครับ ด้วยเหตุที่ไปใช้อำนาจทหารรวมคนที่ไม่ถูกกันมาอยู่ด้วยกัน สุดท้ายมีปัญหาบางกรณีถึงกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ดังนั้นสิ่งที่เห็น คือ การแยกประเทศโดยอาศัยหลัก Self-Determination เนื่องจากโดนฝ่ายที่มีอำนาจประหัตประหาร และกดขี่

2) การรวมกลุ่มของประเทศขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งบล็อคที่ใหญ่และมีความสำคัญ คือ บล็อคEU ที่เริ่มจากการต้องการรักษาสันติภาพภายในภูมิภาคด้วยการเปิดพรมแดนระหว่างกันภายในรัฐสมาชิก และเพิ่มพลังในเวทีโลกโดยการรวมกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น Aggregation&Enlargement ซึ่งเป็นวิธีการซึ่งลอกเลียนมาจากการรวม 51 มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็น 1 สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง ASEAN ก็พยายามแต่คงรู้ว่ายังมีขวากหนามอีกมาก รวมถึงปัญหาในข้อถัดไป เพราะการมีบล็อคใหญ่ๆ ต้องมีกฎหมาย เศรษฐกิจ และนโยบายระหว่างประเทศ/ความมั่นคง ร่วมกันให้ได้ 

3) การขยายเขตอิทธิพลของมหาอำนาจโดยไม่ใช้การทำสงครามโดยตรง เนื่องจากบูรณภาพแห่งดินแดนและประสบการณ์ช่วงสงครามเย็น ทำให้เห็นแล้วว่า การทำสงครามยึดครองไม่ง่ายอีกต่อไป ดังนั้นการขยายเขตอำนาจจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาส รวมถึงแผนระยะต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง เช่น ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือและลงทุนในเขตลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาพลังไว้ ในวันที่จีนพยายามลุกเข้ามาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงการเมกะโปรเจ็ค เช่น เมืองใหม่ เขื่อน หรือ รางรถไฟ เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เห็นว่าบริเวณรอยต่อของอำนาจจะมีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น แหลมไครเมียของยูเครน และ ทะเลจีนใต้/ลุ่มน้ำโขง

4) การสร้างมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่มีการกลั่นแกล้ง รักแก เหยียดหยาม เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม นั่นก็คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเพิ่มสวัสดิการสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ เพราะทุนนิยมของบรรษัทสามารถทำงานได้อย่างทะลุทะลวงในสังคมที่มีการเมืองมั่นคง การปล่อยให้ฆ่าฟันกันอาจกระทบผลประโยชน์ของบรรษัทขนาดใหญ่ได้
ดังที่ EU, ทวีป America บังคับทุกรัฐยอมรับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อนจะเข้าร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม

5) พื้นที่ซึ่งไม่มีอะไรให้แสวงหามากนัก กลับถูกหมางเมินไม่ใส่ใจ ปล่อยให้บรรษัทขนาดใหญ่ที่ผลประโยชน์สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการให้ใช้กำลังจัดการฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองพื้นที่ แล้วบรรษัทตักตวงอยู่เบื้องหลังโดยส่งกำลังอาวุธ/เสบียงกรังให้ทุกฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น น้ำมัน อัญมณี ซึ่งทวีความรุนแรงมากในทวีปอัฟริกา แต่เหมือนว่าถูก Left Behind ซึ่งมีการเป็นห่วงเรื่อง จีนไปทำข้อตกลงกับรัฐเผด็จการจำนวนมากเพื่อแลกกับข้อตกลงทางการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างต่างๆ โดยไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว