Skip to main content

กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

ภาวะนึกถึงอดีต (Nostalgia) มักแฝงไปด้วยความทรงจำร่วมที่คนในรุ่นราวเดียวกันเคยสัมผัสร่วมกัน จนกลายเป็นประวัติศาสตร์อันเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและตัวตนของคนที่เคยผ่านช่วงนั้นมา

สำหรับคนรุ่นที่เกิดตั้งแต่ 2523 (Gen Y) ขึ้นไป ก็คงพอจำความหลังได้ว่าทศวรรษนั้นเริ่มต้นด้วยวลีฮิต “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” พร้อมกับภาวะเศรษฐกิจที่บูมสุดขีด หลายครอบครัวตั้งตัวกลายเป็นเจ้าสัวน้อยได้ก็ช่วงนี้ กิจการน้อยใหญ่พลอยได้รับอานิสงส์ ขยายกิจการออกไปอย่างก้าวกระโดด ของกินของใช้ หลากหลายยี่ห้อรอให้เลือกสรร หากจำได้รายการละครโทรทัศน์จำนวนไม่น้อยก็ยกกองถ่ายไปต่างประเทศ ทวีปยุโรปกลายเป็นฉากหลังของละครหลายเรื่อง   เช่นเดียวกับสินค้าแบรนด์เนมที่ถูกซื้อหามาประดับกายจนกลายเป็นสิ่งบ่งชี้สถานะของชนชั้นกลาง และเศรษฐีใหม่หลายคน  

จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ที่พัดพาเอาสินค้าและวัฒนธรรมข้ามพรมแดนเข้ามามากมาย  แต่สถานการณ์ในรัฐสภาจำได้ว่ามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน

แต่พอย่างเข้าต้นปี 2534 ก็เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อจัดการกับ “บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต” ที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นมากมาย แล้วผู้ก่อการก็เชิญ นายอานันท์ ปัญญารชุน เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศอายัดทรัพย์ยึดทรัพย์ของเหล่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้หลักประกันว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่และเลือกตั้งอย่างแน่นอน ก่อนจะจัดการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2535 แล้วพรรคสามัคคีธรรมก็เข้าวิน 

แต่เรื่องราวยังไม่จบสิ้นเพราะหัวหน้าพรรคมีข่าวว่าติดแบล็คลิสต์ของสหรัฐอเมริกาว่าเกี่ยวข้องขบวนการค้ายาเสพย์ติด  เรื่องจริงเป็นอย่างไรแต่กลายเป็นไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก แล้วใครจะมาเป็น?   ความกังวลของสังคมเริ่มเกิดว่าพรรคสามัคคีธรรมที่หลายคนคิดว่าเป็น นอมินีของคณะรัฐประหารจะดันนายทหารคนสำคัญ พล.อ.สุดจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกฯ แล้วก็กลายเป็นความจริง  จนสงคมและสมาชิกรัฐสภากังขา เพราะว่าท่านเคยให้สัตย์สัญญาว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ มิได้รัฐประหารเพื่ออำนาจของพรรคพวกตนเอง

การเมืองไทยในรัฐสภาจึงระส่ำ มวลชนเริ่มหลั่งไหลลงสู่ท้องถนน พร้อมประโยคประจำที่ได้ยินได้ฟังไปทั่วทุกสื่อ คือ “บิ้กสุ ออกไป”  กระจายไปอย่างรวดเร็วเพราะ “ม็อบมือถือ” สื่อข้อมูลอัพเดตสถานการณ์กันได้ทันที   แม้ประชาชนจะไม่ได้เห็นภาพความตายและสูญเสียในสื่อกระแสหลักเพราะถูกควบคุมหลังประกาศกฎอัยการศึก แต่การสื่อสารข้ามพรมแดนก็เปิดโอกาสให้ใครที่มีจานดาวเทียมติดตามข่าวจากสถานีต่างชาติและอัดวิดีโอ ส่งต่อมาให้ได้ชมกันทั่วประเทศ หากมีเครื่องเล่นวิดีโอเทปอยู่ในครัวเรือน ซึ่งย้ำเตือนความทมิฬในเดือนพฤษภาคม 2535

สิ่งที่คอยเตือนใจคนไทยทั้งหลาย คือ อย่าได้ไว้วางใจผู้ที่ใช้กำลังยึดครองอำนาจ เพราะขาดความรับผิดชอบต่อผู้แทนฯ และประชาชน เมื่อเขาถึงตาจน ก็อาจขนกำลังพลเข้ามาบดขยี้ผู้ที่มีความเห็นต่างออกไป   ความเสียใจกลายเป็นฝังใจจนทำให้กระบวนการสร้างประชาธิปไตยเบ่งบานตระการตา หลังรัฐบาลขัดตาทัพอานันท์ 2 ประคองสถานการณ์จนมีการเลือกตั้งที่ได้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งคนแรก ชื่อ ชวน หลีกภัย ปลายปี 2535

ดูเหมือนว่าอะไรจะเข้าที่เข้าทางเพราะฐานความชอบธรรมจากการเลือกตั้งมีอยู่แต่จู่ๆ ก็เกิดกรณีแจก สปก. ให้คนรวยจดรัฐบาลมอดม้วยไปก่อนจะลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เพราะมีการถอนตัวออกจากรัฐบาลโดยหัวหน้าพรรคที่จะเหลือเพียงแค่ตำนาน คือ พลังธรรม ภายใต้การนำของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จจากการปล่อยดาวเทียมไทยดวงแรกสู่อวกาศ   ซึ่งร่ำรวยขึ้นมาจากสัมปทานโทรคมนาคม จึงต้องเกิดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2538

ผู้ชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายบรรหาร ศิลปะอาชา ผู้ต้องจบไปด้วยการยุบสภาเพราะหลายปัญหารุมเร้า เรื่องใหญ่ในช่วงรัฐบาลนี้ คือ การเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯได้เสนอผลงานให้สังคมพิจารณาและเกิดกระแสริบบิ้นเขียวเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภารับรอง  แม้จะมีฝ่ายต่อต้านอยู่บ้าง แต่ก็ทานกระแสสังคมไม่ไหว ประเทศไทยจึงได้รัฐธรรมนูญจากกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในปี 2540

ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ นายชวลิต ยงใจยุทธ ในปี 2539 ซึ่งเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รับผลกระทบจนต้องจบไปก่อนครบหนึ่งปี แล้วมีรัฐบาลชวน 2 มารับช่วงต่อ ด้วยซุปเปอร์ดีลที่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสธ.หนั่น เข้าไปสลายพรรคและมุ้งในฝ่ายตรงข้าม ให้ย้ายฟากเข้ามาอยู่กับตนจนสำเร็จ

รัฐบาลชวน 2 ดำรงอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยเพราะต้องเจรจาเงื่อนไขทั้งหลายในการกู้เงินเพื่ออุดหนุนกองทุนสำรองระหว่างประเทศจาก IMF ซึ่งผลลัพธ์ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญทางการเมืองในภายหลัง คือ ชุดกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือถูกกลุ่มการเมืองอีกฝ่ายว่าเป็น กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

เราจะเห็นได้ว่ายุค 90s มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมากมายที่ได้ดึงความสนใจคนไทยทั้งประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจคนไทย โดยเฉพาะการเมืองส่วนใหญ่ คือ
“การรัฐประหารครั้งสุดท้าย”
ซึ่งกลายเป็นเพียง “ความเชื่อ” มิใช่ “ความจริง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2