Skip to main content

การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว   ดังนั้นความคุ้มค่า อรรถประโยชน์ และการชั่งวัดเรื่องการเสียโอกาสและสิ่งที่จะได้รับตอบแทนมาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

                ผู้เขียนขอเปรียบเทียบระหว่างการศึกษากลุ่มประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย กับ ภาคพื้นทวีปยุโรป  โดยลองยกการศึกษากฎหมายมาเป็นกรณีตัวอย่าง เนื่องจากในสาขานี้มีผู้ไปศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก   และการได้ใบปริญญาทางกฎหมายเป็นใบเบิกทางสำคัญสู่อาชีพสำคัญ ที่ทำให้คนจบเมืองไทยโดนกีดกันโอกาสการได้ทำงานในอาชีพ ผู้พิพากษา อัยการ ซึ่งมีการเปิดสนามสอบเล็ก และจิ๋ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราการแข่งขันต่ำกว่า การสอบสนามใหญ่เป็นอย่างมาก

                อย่างไรก็ดีการศึกษากฎหมายย่อมสะท้อนให้เห็นการเรียนในสาขาวิชาอื่นด้านสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากมีลักษณะเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง หรือในบางมหาวิทยาลัยการเรียนกฎหมายสังกัดอยู่ในคณะเดียวกับสาขาวิชาอื่น   และในปัจจุบันการพยายามศึกษากฎหมายโดยเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เริ่มเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย   โดยที่ในภาคพื้นยุโรปการศึกษากฎหมายมิได้ตัดขาดจากการศึกษาความรู้อื่นๆที่เป็นฐานความคิดของกฎหมายนั้นๆ เช่น กฎหมายธุรกิจก็ต้องรู้ที่มาทางเศรษฐกิจ กฎหมายมหาชนก็ต้องศึกษาหลักรัฐศาสตร์ กฎหมายสิทธิมนุษยชนก็ต้องมีมุมมองแบบสังคมวิทยามานุษยวิทยา เป็นต้น

                สิ่งแรกที่ต้องตระหนักเป็นอย่างมากโดยเฉพาะที่จะไปเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และเอก) โดยเฉพาะแบบที่ต้องไปทำวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ก็คือ ปัจจุบันระบบการศึกษาในต่างประเทศแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งออกแบบการให้การศึกษาแบบอุตสาหกรรม   ความคาดหวังเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครู การเรียนการสอนแบบโลกตะวันออกที่มีการดูแลเอาใจใส่มาก ความผูกพันแบบครูกับศิษย์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบล่วงหน้าว่า อาจารย์ที่จะไปหานั้นเป็นคนอย่างไร แต่ที่อันตรายกว่า คือ ต้องตรวจทานว่า อาจารย์จะอยู่ประจำที่มหาวิทยาลัยนั้นอีกนานแค่ไหน

                นักศึกษาไทยจำนวนมากที่เดินทางไปศึกษาที่อังกฤษ ออสเตรเลีย และอเมริกา พบว่า อาจารย์จำนวนมากที่ตนเล็งไว้ให้เป็นที่ปรึกษา หรืออยากจะไปเรียนเพื่อดูดซับวิชานั้น ได้ย้ายมหาวิทยาลัยไปแล้ว ลาออกกะทันหัน ไปรับตำแหน่งใหม่ที่อื่น หรือบางกรณีลาไปทำงานวิชาการที่อื่น เช่น แลกเปลี่ยน วิจัย ลาพักเพื่อเขียนหนังสือ   รายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการไปเรียนคือการไปตามหาปรมาจารย์ มิใช่การไปใช้ ห้องสมุดหรืออินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเท่านั้น   การโยกย้ายตำแหน่งของอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นไปตามระบบทุนนิยมที่มหาวิทยาลัยต่างๆทุ่มซื้อ คนดังไปประดับองค์กร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และผลงาน ในการไต่อันดับโลก ไม่ต่างอะไรกับทีมฟุตบอลออาชีพที่ทุ่มซื้อ นักฟุตบอลระดับซุปเปอร์สตาร์เพื่อเพิ่มยอมดขายเสื้อและของที่ระลึก และเพิ่มผลงานของทีม   และการซื้อตัวผู้จัดการก็มีให้เห็นประปราย เช่น อาจารย์ที่เป็นระดับผู้บริหารย้ายไปรับตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยอื่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ กำลังจะมาทำด้วย หรือจะมาเรียนเพื่อดูดวิชา

                ถัดมาเป็นเรื่อง “เนื้อหา” ที่จะได้จากการศึกษา ปัจจุบันฐานข้อมูลจำนวนมากได้ย้ายไปอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทั้งในรูปของหนังสือ บทความ ที่มีการส่งเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลแบบเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยก็ได้ลงทุนในส่วนนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ขอเพียงผู้ศึกษารู้ประเด็น และมีความสามารถในการค้นหา ก็เข้าถึงข้อมูลได้ไม่ต่างจากคนที่ไปเรียนในต่างประเทศ   ยิ่งไปกว่านั้นบางมหาวิทยาลัยมีการแสดงรายละเอียดของเนื้อหา และโครงสร้างหลักสูตร ประเด็นสำคัญจนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง   ที่พูดอย่างนี้เนื่องจากเมื่อไปเรียนจริง การศึกษาแบบ Student-Centered ก็มีลักษณะการค้นคว้าด้วยตัวเอง อาจารย์เพียงชี้แนะ แต่ไม่มาป้อนให้แบบอาจารย์ในประเทศไทยแน่ๆ มากที่สุดก็มีวิชาสัมมนาที่อาจารย์จะมาแนะนำ ชี้แนะ ให้ความเห็นเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม   การบรรยายมีบ้างแต่ไม่ใช่วิธีการหลักในการศึกษาอีกต่อไป  

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนนั้นมาจากอาจารย์ต้องใช้เวลาจำนวนมากไปกับการผลิตผลงานวิชาการเพื่อเพิ่มแต้มให้กับมหาวิทยาลัย และดึงดูดงบวิจัย และงบประมาณจากภาครัฐ เพราะมหาวิทยาลัยต้องยืนด้วยตัวเองโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา ซึ่งแนวทางนี้มหาวิทยาลัยในไทยหลายๆแห่ง พยายามจะนำมาใช้แต่ยังมีความลักลั่น กล่าวคือ อยากจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย แต่ยังให้อาจารย์มีภาระ “สอน” เป็นจำนวนมาก   ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศจัดการโดยเลือกให้อาจารย์สอนน้อยลง มีเวลาอ่านหนังสือ ทำวิจัย และเขียนหนังสือมากขึ้น  แต่ผลก็เกิดกับนักศึกษา คือ มีเวลาในชั้นเรียนกับอาจารย์น้อยลงมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศไทย                        

แต่ระบบมหาวิทยาลัยรัฐสวัสดิการในภาคพื้นทวีปยุโรปมีความแตกต่างในแง่ที่ว่า มหาวิทยาลัยเป็นบริการสาธารณะซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐ เพื่อประกันสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงการศึกษา ระบบธุรกิจการศึกษาแบบทุนนิยมเต็มรูปแบบยังน้อยกว่าที่กล่าวไปโลกภาษาอังกฤษ   ดังนั้นจึงเห็นข่าวมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่มีความเชี่ยวชาญในบางศาสตร์ ตัดตัวเองออกจากการจัดอันดับระดับโลก เนื่องจากการบริหารจัดการไม่เอื้อให้ต่อสู้แบบมหาวิทยาลัยเชิงธุรกิจ ดูดคนดังไม่ได้ ไม่อาจจ้างอาจารย์มานั่งเขียนงานโดยไม่ต้องสอน หรือให้อาจารย์สอนน้อยก็อันตรายเพราะอาจโดนร้องเรียนจากนักศึกษาซึ่งเป็นผู้รับบริการ   ประเด็นนี้น่าสนใจเนื่องจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์(ทราบกันดีว่าเป็นฝ่ายซ้าย นักศึกษาที่สนใจแนวสังคมนิยม แรงงานจะไปเรียนกันมาก) จะมีการสอนและบรรยายเยอะมาก เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น  อาจมีสาเหตุมาจากประเด็นวิญญาณของรัฐสวัสดิการ และเกรงว่านักศึกษาฝ่ายซ้ายอาจประท้วงได้ หากไม่คุ้มกับเงินจำนวนมากที่ต้องจ่ายและกู้ยืมมาเรียน   เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดใน มหาวิทยาลัยบริสตอลในปี 2553-54 ที่นักศึกษาปาไข่ใส่รถเสด็จของเจ้าฟ้าชายชาร์ล เนื่องจากรัฐบาลจะตัดงบประมาณด้านการศึกษาแต่ไม่ตัดงบฯของราชวงศ์ (มหาวิทยาลัยฝ่ายซ้ายอีกเช่นกัน) อนึ่งกิจกรรมของนักศึกษาฝ่ายซ้ายเข้มแข็งและเปิดเผยมากในอังกฤษ

เมื่อถามว่าเรียนอะไร จะเห็นได้ชัดว่า โลกของภาษาอังกฤษซึ่งมีระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นกรอบคิดหลัก จึงเน้นไปที่การสร้าง “ข้อถกเถียง” และการโต้แย้งกันในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้เห็นว่าในประเด็นที่ศึกษามีคนคิดไว้ว่าอย่างไร จะหาข้อโต้แย้งของนักคิดทั้งหลายมาสนับสนุนน้ำหนักในข้อถกเถียงของตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม “ธง” ที่ตนวางไว้ได้อย่างไร เนื่องจากระบบคอมมอนลอว์ การเถียงกันในศาล การเถียงกันในรัฐสภา หรือแม้แต่การโต้กันระหว่างศาลกับรัฐสภา ถือเป็นสาระสำคัญของการ สร้างกฎหมาย ตีความกฎหมาย และสู้เพื่อชัยชนะแห่งคดี   จึงถนัดการ “ถกเถียง”

ต่างจากระบบซิลวิลลอว์ของภาคพื้นยุโรปมีรากฐานความคิดจากพัฒนาการทางสังคมการเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งต่อเนื่องมานานหลายร้อยปี จนมีการพิสูจน์ทฤษฎีและหลักการบางอย่างจนเกิด “กติกา” ซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าสังคมจะยึดถือแนวทางนี้ เมื่อมีมีความขัดแย้งก็จะควักเอาหลักการนี้มาตัดสิน   ดังนั้นการศึกษาในภาคพื้นยุโรปจึงเน้นไปที่การแสวงหาจุดกำเนิดทางความคิด ปรัชญา และเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อใช้เป็นกรอบหลักในการตีความกฎหมาย วินิจฉัยข้อเท็จจริง และการสร้างกฎหมาย จึงถนัดการ “วิเคราะห์ และค้นหา”

จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดในโลกภาษาอังกฤษจึงมีคนทยอยเลิกศึกษาในระบบ เพราะการถกเถียงนั้นเกิดขึ้นได้ในประสบการณ์จริงของการทำงาน และหากดูปรากฏการณ์ในอินเตอร์เน็ตก็จะเห็นรูปแบบการศึกษาอยู่บนนั้นแล้วนั่นคือ “การถกเถียง” เพียงแต่ไม่ต้องจ่ายแพง และเป็นหนี้อีกบานเมื่อจบการศึกษา ต่างจากภาคพื้นยุโรปที่รัฐเป็นคนจ่ายอุดหนุน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา