Skip to main content

 

 

                สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแคว้นคาตาลุนญ่ามิใช่สิ่งใหม่ที่ประชาชนชาวสเปนมิอาจคาดเดาได้ เนื่องจากประเด็นความต้องการเป็นอิสระ มีความสามารถปกครองตนเอง หรือแยกออกมาประกาศเป็นรัฐใหม่ ล้วนแล้วแต่เคยเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วคุโชนขึ้นมาใหม่ตามวัฏจักรเศรษฐกิจการเมืองและกงล้อแห่งยุคสมัย

อัตลักษณ์ของชาติตามรัฐธรรมนูญ

หากพูดถึงเอกลักษณ์ของชาติ เราอาจได้ยินเรื่อง เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพของฝรั่งเศส แต่ในสเปน รัฐธรรมนูญ 1978 ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 2 ว่าการเมืองการปกครองจะอยู่บนหลักการ 3 ประการ คือ เอกภาพ (Unity) อำนาจปกครองตนเอง (Autonomous) และภราดรภาพ (Solidarity)  การจัดรูปรัฐหรือแบ่งส่วนการปกครองใดๆจึงตั้งอยู่บนหลักการทั้งสามที่อาจเหมือนย้อนแย้งกันเอง แต่กลับเป็นความพยายามจัดสรรอำนาจให้แว่นแคว้นทั้งหลายสามารถหลอมหลวนอยู่ในชาติเดียวกันแต่ยังธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของตนได้ โดยใช้ภราดรภาพเป็นตัวถักร้อยทุกแคว้นประสานเข้าหากัน

ภราดรภาพภาคปฏิบัติจะทำให้ทุกแคว้นอยากอยู่ร่วมกันหรือไม่ อาจจะได้เห็นในกรณีของขบวนการแยกดินแดนคาตาลุนญ่าที่สัมพันธ์กับเรื่องจัดสรรภาษีและงบประมาณระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นต่อไป  แต่การปรากฏอยู่ของแคว้นปกครองตนเองและยังอยู่ในร่มของราชอาณาจักรสเปนย่อมแสดงให้เห็น2หลักการแรกชัดเจน

 

การออกแบบรูปรัฐและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญสเปน เพื่อรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อที่แตกต่าง

เมื่อครั้งยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปนฉบับปัจจุบัน 1978 ประเด็นที่มีการถกเถียงยาวนานและยากจะออกแบบบทบัญญัติให้ราบรื่นไร้ตะเข็บที่สุด ก็คือ ประเด็นการจัดรูปรัฐ และการวางโครงสร้างรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ว่ารัฐบาลกลางจะมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลท้องถิ่นมากเพียงไหน ในเรื่องอะไร ประเด็นอะไร เพราะในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้น บาดแผลและประวัติศาสตร์ของบางแคว้นก็ยังประทุอยู่ภายใน รวมถึงความพร้อมความแข็งแกร่งของแต่ละแคว้นในดินแดนสเปนก็ไม่เท่ากัน

ในที่สุดคณะกรรมการยกร่างก็เลือกที่จะกระจายอำนาจในการปกครองไปสู่แคว้นต่างๆ และคงอำนาจบางส่วนไว้ที่รัฐบาลกลาง จนได้รูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ/กึ่งสหพันธรัฐภายใต้ร่มราชอาณาจักรสเปน ตามหมวด 8 แห่งรัฐะรรมนูญ   โดยแคว้นต่างๆสามารถเลือกได้ว่าจะยกสถานะขึ้นเป็นแคว้นปกครองตนเอง (Autonomous Community) ที่มีโครงสร้างองค์กรปกครองระดับแคว้นทันที มีอำนาจจัดการกิจกรรมต่างๆเต็ม ครบที่รัฐธรรมนูญให้ไว้เลยหรือไม่ ซึ่งคาตาลุนญ่าเป็นแคว้นหนึ่งที่ประกาศเป็นแคว้นปกครองตนเองทันที เพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว เนื่องจากเคยมีธรรมนูญของแคว้น มีสภานิติบัญญัติออกกฎหมาย และสภาปกครองแคว้นในการบริหารอยู่ก่อนแล้ว

นอกจากให้โอกาสแคว้นเลือกวางระบบแคว้นปกครองตนเองแล้ว รัฐธรรมนูญสเปนยังให้บางแคว้นคงอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของตนในบางเรื่อง แตกต่างจากรัฐอื่นได้ด้วย โดยที่ชัดเจนและเป็นประเด็นมาก คือ การให้แคว้นบาสก์และแคว้นนาร์บาร์ร่ามีอิสรภาพในการจัดเก็บภาษีและจัดสรรงบประมาณของตนเองได้มาก รัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงหรือรวบอำนาจทั้งหมดไปจากแคว้น  ทำให้บาสก์สามารถจัดระบบรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็งและจัดระบบประกันความเสี่ยงรองรับชีวิตคนได้มาก ตามประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองที่มีความเป็นซ้ายเฟเบียน (สังคมนิยมแบบชุมชนสวัสดิการ) เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางระดับชาติกับรัฐบาลท้องถิ่นระดับแคว้น

รัฐธรรมนูญสเปนมิได้ให้รายละเอียดของแคว้นปกครองตนเอง แต่ให้อำนาจแคว้นริเริ่มจัดตั้งองค์กรนิติบัญญัติและบริหารปกครอง กำหนดขอบเขตอำนาจด้วยร่างธรรมนูญปกครองตนเองแห่งแคว้นโดยเปิดช่องไว้ตามรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจตุลการพิพากษาคดีความต่างๆยังต้องอยู่ภายใต้โครงสร้างของระบบศาลสเปนทั้งหมด

ทั้งนี้ระบบกฎหมายที่ใช้รัฐสภาระดับชาติจะวางกรอบกฎหมายทั่วไป แล้วให้สภาแคว้นออกกฎหมายเฉพาะลงรายละเอียด แต่องค์กรศาลผู้บังคับตามกฎหมายอยู่ภายใต้โครงสร้างรัฐสเปนแบบรวมศูนย์

อำนาจในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินการคลัง จัดเก็บภาษี และธนาคารกลาง ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาลกลาง เว้นเพียงสองแคว้น คือ บาสก์ และนาร์บาร์ร่า ตามข้อบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยืนยันสิทธิอำนาจของทั้งสองตามที่มาทางประวัติศาสตร์

 

เมื่อรัฐบาลกลางต้องการบังคับรัฐบาลท้องถิ่น

เมื่อแคว้นต่างๆมีอำนาจในการริเริ่มเรื่องต่างๆขึ้นมาบังคับใช้ รัฐบาลกลางจึงทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผ่านกลไกการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เช่น กรณีธรรมนูญแคว้นคาตาลุนญ่าที่สภาแคว้นเสนอขึ้นใหม่ในปี 2006 มีถ้อยคำประกาศความเป็น “ชาติคาตาลัน” และออกแบบขอบเขตอำนาจองค์กรที่สัมพันธ์กับองค์กรระดับรัฐบาลกลางในลักษณะจำกัดอำนาจรัฐบาลกลางขยายอำนาจรัฐบาลท้องถิ่น จนรัฐบาลสเปนส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเพิกถอนบทบัญญัติบางส่วนของธรรมนูญดังกล่าวในปี 2010 จนเป็นปมขัดแย้งกินแหนงระหว่างสองฝ่าย  

สถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลกลางอาจใช้มาตรา 155 เพื่อระงับอำนาจปกครองตนเองของรัฐบาลท้องถิ่น โดยรัฐบาลกลางจะทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลท้องถิ่นให้รักษากฎหมายและรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลท้องถิ่นไม่ปฏิบัติ รัฐบาลกลางก็จะขอการอนุมัติจากวุฒิสภาเพื่อระงับอำนาจปกครองตนเองของแคว้นแล้วเข้าปกครองเองโดยตรง   จึงเป็นที่มาว่านายกรัฐมนตรีมาริอาโน่ ราฆอย ทำหนังสือให้ปรานสภาแคว้นคาตาลุนญ่าบอกมาว่าจะประกาสอิสรภาพหรือไม่  เพราะจะได้ดำเนินการตามขั้นตอน ม.155 ต่อไป   โดยมาตรการนี้ไม่เคยมีการใช้มาก่อนเลยในสเปน

 

การเมืองระดับประเทศอลหม่านเข้าทางนักการเมืองท้องถิ่น

การชูธงให้คนตาลุนญ่าทำประชามติของพรรคโปเดโมสเพื่อสร้างแนวร่วมกับพรรคนิยมคาตาลัน นั้นเป็นการหักเหลี่ยมการเมืองระดับชาติของสองพรรคใหญ่ของสเปน ทั้งพรรคประชาชน(ฝ่ายขวา รัฐบาล) และพรรคสังคมนิยม(ฝ่ายซ้าย ฝ่ายค้าน) เพราะเป็นแนวทางที่สุดโต่งในสายตานักการเมืองระดับชาติของสเปน   แต่สะท้อนให้เห็นว่าโปเดโมสที่เป็นพรรคซ้ายจัดนั้นอ่านอารมณ์ของมวลชนได้ดีกว่ามาก

ไม่ใช่อารมณ์ของคนที่อยากแยกดินแดน แต่อารมณ์ของคนที่อยากส่งเสียงให้รัฐบาลกลางได้ยิน ปนไปกับความผิดหวังที่มีต่อพรรคการเมืองเก่าแก่ทั้งสองขั้ว ว่าไม่อาจสนองความต้องการของประชาชนได้อีกแล้ว  เห็นได้จากคะแนนพรรคโปเดโมสที่ได้แบ่งพรรคใหญ่มาจากทุกแคว้น แต่ในแคว้นคาตาลุนญ่าได้กลายเป็นเรื่องประชามติกำหนดอนาคตแคว้นไป

 

จากขบวนการเมืองขนาดใหญ่ สะเทือนถึงชีวิตประจำวัน

เมื่อปี 2013 ที่ข้าพเจ้าได้ไปเริ่มต้นชีวิตนักเรียนนั้น ประเด็นชาตินิยมคาตาลันเป็นเรื่องอ่อนไหวแต่สามารถพูดคุยได้ การรณรงค์ทางการเมืองหรือการพูดคุยประเด็นนี้ในวงข้าวและกาแฟสามารถกระทำได้ และพูดกันตรงๆได้อย่างถึงพริกถึงขิง แม้จะต้องระมัดระวังก็เพียงไม่ให้อารมณ์เดือด

แต่เมื่อวันที่ข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาการหยิบเรื่องนี้มากลางวงคณาจารย์สอบวิทยานิพนธ์ที่มาจากหลายแคว้น พุดได้หลายสำเนียงหลายภาษา กลับกลายเป็นว่ามิควรพูดเสียแล้วเพราะอาจทำลายบรรยากาศการสังสรรค์  สาเหตุมาจากการรณรงค์เชิงวัฒนธรรมที่เร้าความรู้สึกคนให้มีจุดยืนทางการเมืองที่แรงกล้า และความระแวงว่าจะกินแหนงแคลงใจกัน

โดยมีสกู้ปข่าวและบทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์สเปนเล่าเรื่องคนคาตาลันหรือคนที่มาจากแคว้นอื่นของสเปนว่า พวกเขาเกรงกลัวการแสดงความเห็นต่อต้านขบวนการประกาศอิสรภาพเพราะอาจทำให้เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา ลูกค้า นายจ้าง ผู้อาวุโส เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ไม่พอใจ ชีวิตหน้าที่การงานตนอาจจะได้รับผลกระทบ

แต่คุณค่าที่ใหญ่กว่า คือ สิทธิมนุษยชน ช่วงท้ายการรับประทานอาหาร กรรมการทั้งหลายจึงคุยเรื่องนี้กันจริงจังนับชั่วโมง บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย

 

การขยายผลความขัดแย้งผ่านสื่อเครือข่ายสังคม Political Social Network and its impacts

การปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกคนให้เข้าร่วมขบวนการหรือต่อต้านขบวนการอย่างรุนแรงก็สอดรับกับสิ่งที่ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ออกมาแสดงความเสียใจที่โซเชียลเน็ตเวิร์คมีส่วนขยายความขัดแย้ง การแสดงออกรุนแรง ดูหมิ่นเหยียดหยามอาฆาตมาดร้าย เพราะมีผู้ที่ใช้เครือข่ายแสดงออกความคลั่งชาติทั้งคาตาลันและเอสปันญ่อล รวมถึงมีนักเกรียนเข้าไปก่อกวน ยั่วยุอารมณ์ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงใช้เป็นช่องทางในการเรียกระดมคนออกมารณรงค์เดินขบวนและชุมนุมในพื้นที่สาธารณะในปริมาณมหาศาลอย่างที่ปรากฏ  และยังเป็นที่รวมกลุ่มของพวกหัวรุนแรงสุดโต่งของทุกฟากฝ่ายให้มาเจอกันและกล้าแสดงตัวทำกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น

 

ถ้ายังอยู่ร่วมกันในช่วงทศวรรษนี้ จะมีผลดีผลเสียอย่างไร

ผลเสีย คือ คาตาลุนญ่าจะติดหล่มการเมืองระหว่างประเทศที่ไร้เสถียรภาพ ไร้ภาวการณ์นำ ติดอยู่กับพรรคการเมืองใหญ่สองขั้วที่ไม่สนองมวลชน  การทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการและนักการเมืองทำให้คำถามถึงการจ่ายภาษีให้มาดริดขุดรีดมีต่อไป  รวมถึงต้องอยู่กับระบบราชการที่ล่าช้าไร้ประสิทธิภาพทำให้การพัฒนาช้า ไม่ส่งเสริมทุนและผู้ประกอบการรายใหม่ให้พร้อมแข่งในตลาดโลก

ผลดี คือ สเปนและคาตาลุนญ่ายังคงสถานะตลาดขนาดใหญ่ และแรงงานทุกระดับสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงาน บรรษัทห้างร้านสามารถส่งสินค้า ให้บริการและลงทุนได้อย่างอิสระไร้รอยต่อ คาตาลุนญ่าไม่ต้องเร่งหาเงินมาจ่ายหนี้ 67 พันล้านยูโรให้ธนาคารกลางสเปน หากสเปนวีโต้สมาชิกสหภาพยุโรปของคาตาลุนญ่า ก็จะมีรอยต่อความสัมพันธ์สมาชิกประเทศในสหภาพยุโรปเพราะการส่งออก 2/3 ของคาตาลุนญ่านั้นอยู่ในสหภาพยุโรป รวมถึงปัญหาการใช้สกุลเงินยูโรเพราะธนาคารกลางคาตาลุนญ่าจะไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขภายใต้ธนาคารกลางสหภาพยุโรป

ยิ่งกว่านั้นประชาชนที่อยู่ในแคว้นคาตาลุนญ่าหรือคนคาตาลันที่ออกไปอยู่ที่อื่นจะมีเวลาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนตัดสินใจได้อย่างมีสติ

 

ประเด็นคาใจและหมุดหมายด้านสิทธิมนุษยชน

ปัญหาที่จะทำให้อยู่ด้วยกันต่อไปยากลำบากก็คือ บาดแผลจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน

การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลกลางสเปนทั้งเรื่องการสลายชุมนุมรุนแรง การบุกรวบแกนนำขบวนการประกาศอิสรภาพโดยปราศจากหมายศาล การบุกปิดสำนักงานเว็บไซต์ดอตคาตาลัน ไปจนถึงการดักฟังบุคคลสำคัญ ล้วนเป็นประเด็นที่น่ากังวล

กลับกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลท้องถิ่นคาตาลุนญ่าที่รวบรัดกระบวนการประชามติและไม่ประกันเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ไม่เห็นด้วยกับขบวนการ ก็เป็นประเด็นสำคัญเพราะประชาธิปไตยต้องให้ความสำคัญกับคะแนนเสียง

 

ท่าทีขององค์การระหว่างประเทศ

ผู้ตรวจการเสรีภาพในการแสดงออกของสหประชาชาติกังวลต่อการควบคุมและคุกคามของรัฐบาลกลางสเปนจากหลายกรณีที่เกิดขึ้น

สหภาพยุโรปไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสเปน โดยให้ทั้งสองฝ่ายแสวงหาทางออกกันเอง ตราบใดที่ยังไม่มีการกระทำละเมิดกฎบัตรสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพยุโรปอย่างร้ายแรง

คณะมนตรีแห่งยุโรปและศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปจะรับเฉพาะคดีที่มีการละเมิดปฏิญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ดังนั้นการยื่นขอกำหนดอนาคตตนเองของ”กลุ่มชนคาตาลัน” จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

องค์การนิรโทษกรรมสากลก็มีรายงานถึงการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุในการสลายชุมนุมของตำรวจปราบจลาจลสเปน

 

แล้วจะอยู่ร่วมกันต่อไปได้อย่างไร

เป้าหมายที่เป็นไปได้ทั้งในแง่การรอมชอมทางการเมืองและผลทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ การต่อรองเพื่อเพิ่มอำนาจปกครองตนเองให้กับแคว้นคาตาลุนญ่า ในลักษณะของการยกระดับเป็นเขตปกครองพิเศษทางภาษีและงบประมาณ (Catalunya Pais – Catalunya Country) ดุจดังปรากฏอยู่แล้วในการปกครองตนเองของแค้วนบาสก์ (Basque Pais – Basque Country) กล่าวคือมีอิสรภาพในการจัดเก็บภาษีเพื่อจัดทำงบประมาณของตนเองมากขึ้น สามารถกำหนดการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อจัดทำบริการสาธารณะและจัดสรรงบประมาณที่แตกต่างจากแคว้นอื่นได้มากยิ่งขึ้น  [ปัจจุบันการปกครองตนเองคาตาลุนญ่าอยู่ในระดับ Catalunya Community ซึ่งไม่มีอิสรภาพทางภาษีและงบประมาณจากรัฐบาลกลางมากนัก คนคาตาลันจึงบ่นเสมอว่า “เราผลิตได้ 20% ของทั้งประเทศ แต่ได้คืนกลับมาไม่ถึงครึ่ง” (ได้รับจัดสรรงบประมาณ 10% ตามหลักภราดรภาพที่รัฐบาลกลางต้องนำเงินไปอุดหนุนแคว้นอื่นที่สถานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่า และเป็นเหตุให้แคว้นคาตาลุนญ่าต้องกู้ยืมเงินจากรัฐบาลกลางจนเป็นหนี้มากเป็นลำดับ 3)

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว