Skip to main content

เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด

ขอข้ามประเด็นที่ไม่อยู่ในความชำนาญ คือ เรื่องยุทธศาสตร์ด้านการรบทางทะเลที่มีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าไทยไม่มีข้อพิพาททางทะเลกับใคร ภารกิจหลักคือ การป้องกันโจรสลัด การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการบรรเทาภัยพิบัติธรรมชาติ ที่เหมาะกับการใช้เรือบนผิวน้ำมากกว่า ไว้ให้ท่านอื่นวิเคราะห์แทน เช่นเดียวกับประเด็น ความลึกความตื้นของอ่าวไทยที่ไม่อยู่ในวิสัยความเชี่ยวชาญ

ประเด็นที่อยู่จะวิเคราะห์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านข่าวกรอง และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับ “เรือดำน้ำ”

ขอเท้าความไปถึง การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษและสืบเนื่องมาจนถึงยุคของสหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่า สองประเทศนี้เห็นความสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารครอบคลุมทั้งโลก เพื่อประมวลสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในเขตผลประโยชน์ของตนและสามารถติดต่อกับศูนย์บัญชากลางในประเทศได้อย่างฉับพลัน ก่อนที่จะส่งคำสั่งและติดต่อประสานงานกลับมายังพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

“เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงเป็นหัวใจหลักในการควบคุม “ข่าวกรอง” และ “สายบังคับบัญชา” รวมไปถึงปฏิบัติการ “ต่อต้านจารกรรม” และการบ่อนทำลายจากข้าศึก   โดยในปัจจุบันข้าศึกของรัฐทั้งหลายมิใช่รัฐคู่แข่งอื่นๆ เท่านั้น แต่หมายรวมถึง องค์กรก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ   และภายหลังเริ่มมีการมองประชาชนในประเทศที่ต่อต้านรัฐ เคลื่อนไหวรณรงค์ในทิศทางที่รัฐไม่พอใจ ให้กลายเป็น “กลุ่มที่ต้องจับตา” ไปด้วย

ดังนั้น การควบคุม “เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงกลายเป็นเรื่องความมั่นคงที่กองทัพสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การทำสงครามการข่าวให้สัมฤทธิผล จึงต้องมีอำนาจควบคุม “โครงสร้างพื้นฐาน” ให้ได้

ข่าวที่ออกมาจากฝ่ายความมั่นคงไทยหลังรัฐประหาร จึงได้แก่  การพยายามให้ระบบอินเตอร์เน็ตไทยที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศไหลผ่านช่องทางเดียว (Single Gateway) เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมของรัฐ เพราะสามารถใส่ตัวคัดกรองข้อมูล ดูดกักเก็บข้อมูลได้ ณ จุดเดียว ต่างจากปัจจุบันที่มีหลายช่องทาง รัฐควบคุมได้ไม่หมดตามข้อจำกัดด้านงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล

ส่วนอีกประเด็นที่เชื่อมโยงกับเรือดำน้ำ คือ สายเคเบิ้ลใยแก้วที่เชื่อมโยงระบบคมนาคมไทยกับต่างแดนถูกวางไว้ใต้ทะเลนั่นเอง   เครือข่าสายเคเบิ้ลใต้น้ำ นี่เองที่เป็นสิ่งสำคัญที่ ยุทธศาสตร์ด้านการข่าวกรองมักกล่าวถึงไว้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันหรือเป็นเป้าหมายในการโจมตีมาเสมอ

จากข้อมูลอดีตสายลับ CIA และ NSA สหรัฐเปิดเผยไว้ในชุด Snowden Revelations พบว่า กรณีสหราชอาณาจักรส่งเรือดำน้ำ ดักดูดข้อมูลในเคเบิ้ลใต้น้ำ กลายเป็นประเด็นใหญ่และสร้างความเดือดดาลให้กับมิตรประเทศในเครือ NATO เป็นอันมาก เนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับจากการดักข้อมูลโดยการทะลวงเคเบิลใต้น้ำ 

มิใช่เพียงประเทศอื่นๆที่โกรธเกรี้ยว แต่ประชาชนบริติชหรืออเมริกันก็ไม่พอใจมากเนื่องจากข้อมูลที่ดูดไปมีข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองสองประเทศด้วยเช่นกัน ทำให้บรรษัทผู้ให้บริการ เช่น Yahoo Google Microsoft Amazon ฯลฯ ต้องออกแถลงการณ์ตอบโต้และเรียกร้องให้ตรวจสอบควบคุมภารกิจจารกรรมทั้งหลายโดยด่วน เนื่องจาก

การรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชน เป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของบรรษัทนั่นเอง   การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลจึงต้องระมัดระวังในประเด็น “ความไว้วางใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต” ให้มาก

มองกลับมาไทย หลังรัฐประหาร กองทัพเรือได้รับมอบหมายหน้าที่ด้าน “สังคมจิตวิทยา” หรือเข้าใจง่ายๆว่า งานด้านข่าวกรองและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนไม่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐ

ฝ่ายความมั่นคงทำสงครามจิตวิทยา ภารกิจสำคัญ คือ การทำงานด้านข่าวกรองโดยการดูดข้อมูลผ่านเคเบิลที่เชื่อมไซเบอร์สเปซไทย กับ ฐานข้อมูลของบรรษัทไอทีในต่างประเทศ ดังข้อเสนอ Single Gateway

ล่าสุด การซื้อเรือดำน้ำจากจีน ทั้งที่จีนมีข้อพิพาทกับประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้อุปถัมภ์หลัก การซื้อเรือดำน้ำจีน จึงมีข้อสงสัยในการเป็นพันธมิตรกับจีนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อต้านสหรัฐและมิตรประเทศอื่นในอาเซียนหรือไม่ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก

ไทยต้องการอะไรจากเรือดำน้ำจีนที่มีเทคโนโลยีต่ำกว่าของประเทศอื่น จึงน่าสนใจกว่า

เรือดำน้ำจีน มาพร้อมความชำนัญพิเศษของจีนหรือไม่   เป็นที่ทราบดีว่าจีนมีศักยภาพในการทะลุทะลวงเข้าสืบข่าวจากโลกไซเบอร์   สงครามไซเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้น จีนแฮ็คข้อมูลจากฐานข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐ และระบบประกันสังคมในสหรัฐสำเร็จครั้งใหญ่เมื่อเดือนที่ผ่านมา

ศักยภาพเรือดำน้ำจีนที่ไทยได้มา จะเป็นไปเพื่อปฏิบัติการชนิดใด จะเป็นเรือดำน้ำเพื่อปฏิบัติการจารกรรมและข่าวกรองหรือไม่  และเนื่องจากไทยไม่มีสงครามทางทะเลกับอริราชศัตรูนอกประเทศ  แต่กองทัพคิดว่ามีสงครามติดพันกับศัตรูภายในประเทศ   ประชาชนชาวไทยที่เห็นต่างกับรัฐบาล ต่อต้านรัฐบาลทหาร กลายเป็น ศัตรูที่ต้องเสาะหา สืบข้อมูล เพื่อทำลาย ไปแล้วหรือ

การดำเนินนโยบายความมั่นคงและปกป้องประเทศที่ประหยุดสุด คือ การสานความสัมพันธ์ทางการทูต และหากไทยมีผลประโยชน์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วล่ะก็ ใครหน้าไหนที่บังอาจก่อสงครามจนกระทบกระเทือนตลาด คงโดนประชาทัณฑ์จากทุกฝ่ายอย่างพร้อมเพรียงกัน

หากนโยบายการต่างประเทศที่ได้ผลคือ “เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า”  นโยบายภายในก็ต้องเป็นการ “เปลี่ยนรัฐประหารให้กลายเป็นการ เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2