Skip to main content

คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?
ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ป

แถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ
 

วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน

งานที่แกใช้อธิบายหลักๆ คือ จะสื่อว่าที่สังคมไทยวิปลาศ เพราะมวลชนชั้นกลางในเมืองเพี้ยน(สลิ่ม) เพราะไม่เห็นถึงความเป็นชนชั้นแรงงานของตน ต่างจากคนเสื้อแดงที่รู้ว่าตนโดนกดขี่ แล้วออกมาสู้กับ ทหารและวัง (กรัมชี่)

แกถึงบอกว่าให้ประเมินสถานการณ์ว่าเลวร้ายที่สุด คือ ทหารยื้ออีกนานนน แต่ให้เก็บรักษาความหวังไว้ให้มั่น เพราะ กษัตริย์ในฐานะบุคคลใกล้ไม่อยู่ให้อ้างละ

เมื่อเชื่อมกับงานเรื่อง Salaried Masses (กรอสเซอร์) ที่แกอ้าง นี่ต่อยอดจาก นิธิที่วิเคราะห์เรื่อง มวลมหาอณู (ของ อาเรนด์) ชัดๆ งานนี้ก็วิเคราะห์คนเยอรมันยุคที่หนุนให้นาซี ว่าไม่ต่างจาก กปปส. หนุน ทหาร และ วัง นั่นเอง (ยุคหลังอุตสาหกรรมหนัก)

เนื่องจากคนในเมืองใหญ่มักทำงานจนขาดสังคม รู้สึก เหงา "ไร้ตัวตน" และรู้สึกไม่มั่นคง(ทำงานกินเงินเดือนเป็นลูกน้อง หรือทำธรกิจต้องเกาะกับชนชั้นนำ เช่น ดารา บริษัทสื่อทั้งหลาย) พวกนี้แหละต้องยึด สถาบันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ก่อนสังคมจะกลายเป็น ประชาธิปไตยของไพร่ ไร้เส้นสายให้เกาะ ให้โหนอีกต่อไป

ซึ่งจะเห็นว่า ขบวนการของฝั่งนี้คนน้อยแต่ได้ผล เพราะมีแรงของสื่อและคนวงการสร้างสรรค์ช่วยเยอะ

สวนทางกับแดง ที่ดูเป็นมวลชนเถื่อนๆ บ้านๆ ส่วนปัญญาชนแดง ก็ทำได้แค่เสพข้อมูลแต่ไม่ลุกมาทำอะไร เพราะชีวิตผูกติดกับ เงินเดือน เอาง่ายๆ นักวิชาการ และคนทำงานประจำทั้งนั้น เงียบกริบ แอบมาคุย งุงิๆ กันในกลุ่มลับ

ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตอน เรื่องเล่า Hi's ที่ทำให้ปัญญาชนตาสว่าง แต่ไม่ลุกมาเปลี่ยนอะไร

สรุป ถ้าเอาอย่าง สศจ. ว่า ก็ต้องรอออออ......... ให้.... ไม่อยู่ให้โหนอีกต่อไป ทีนี้ก็ลุกขึ้นมาเปิดหน้าอัดกันตรงไปตรงมา แกเลยขยักไว้ว่า ทำไมทหารต้องกวาดล้าง "กองกำลัง" ด้วย เราเดาว่ากองกำลังนี่แหละที่ทหารคิดว่าจะมาอัดกับทหารในลักษณะไพร่ราบติดอาวุธ ส่วนพวกพูดนี่จัดการได้ด้วย 112

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พูดๆ กันอยู่แล้วนั่นเอง

 

พบว่า ชิเชค ก็พูดประเด็นนี้ หลักๆ คือ ชนชั้นกลางในเมือง ที่เริ่มโดนบี้ด้วยระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รู้สึกตัวเองชีวิตเหี้ยมากลงทุกที เหมือนเป็น เศษธุลีหนึ่ง ที่ไร้ตัวตนในสังคมทุนนิยม กลวง โบ๋ว จึงหาอะไรเกาะ เพื่อ ชะลอการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Nostaglia) เพื่อหวังจะให้วันคืนดีๆในอดีตกลับคืนมา เพราะว่า ไอ้พวกไพร่มันไล่ขึ้นมา จนกรูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับมันไปแล้ว

ดีไม่ดี ด้วยกว่าไปแล้ว เช่น คนหาบเร่แผงลอย รับจ้าง ดันมีรายได้ดี กว่าพนักงานออฟฟิศ การศึกษาสูงอย่างพวกตน

ทางออกแบบไม่นองเลือดจริงๆ คือ ต้องมีพรรคที่ขายนโยบายเจาะกลุ่ม คนทำงานประจำรับเงินเดือน (Salaried Class) กับ พวก SMEs(ลูกจีนทั้งหลาย) คนทำงานฟรีแลนซ์ (Creative Class) แทนที่จะเทไปอยู่ในถนนเป็นมวลชนให้ทหารกับวัง
 

โจทย์ คือ จะทำให้ มวลชนคนชั้นกลางในเมือง ตาสว่าง หรือ เลิกกลัว เลิก จิตวิญญาณทาส และสำนึกที่ล้มเหลว ไม่เห็นตัวเอง เป็น แรงงาน ได้อย่างไร
 

พรรคคอมฯ เคยแพ้ เพราะ สหาย น.ศ. เข้ากับ สหายชาวนา และแกนนำพรรค ไม่ได้นี่ล่ะนะ

 

คงกะเอามาใช้บ้าง ไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องให้หลักประกันความมั่นใจบางอย่างกับชนชั้นกลางในเมือง คือ ศักดิ์ศรี มีโอกาสขยับเลื่อนตำแหน่ง และความมั่นคง

 

ควรสีให้แสบด้วยตัวอย่าง คนเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่าง เปิดร้านห้องแถวจากแผงลอยด้วยเงินนักศึกษา และพนักงานออฟฟิส

หรือ แรงงานต่างด้าว เริ่มเข้ามาซื้อสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยมีคนขายเป็นคนจบมหาลัยแต่เงินไม่พอที่จะซื้อสินค้าที่ตัวเองขาย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว