Skip to main content

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
1)ตัวเลขการท่องเที่ยวทั่วโลกสูงขึ้น 9% (ที่บอกเศรษฐกิจตะวันตกแย่ ไม่เที่ยว ไม่จริงเสียทีเดียว)
2)คนจีนออกไปเที่ยวและใช้จ่ายเป็นอันดับ 1 แต่ยังไงก็ยังไม่เยอะกว่า ประเทศอื่นๆรวมกัน เช่น จีน น้อยกว่า US+UK
3)ภาษาที่สำคัญในการรับนักท่องเที่ยว คือ อังกฤษ เพราะ US+UK+Australia+India+อื่นๆ ก็ยังมีเยอะสุด 
4)ภาษาจีนมาแรง แต่ที่เราลืม คือ เยอรมัน(คนรวย) สเปน(คนเยอะรวมลาตินอเมริกา) Russia(มีบางมหาลัยเอาจริงแล้ว)
5) กทม. หรือไทย มีคนมาเยอะมาก แต่ใช้จ่ายน้อยมาก (ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับค่าครองชีพไหม)
6) US เป็นประเทศที่ทำให้คนใช้จ่ายได้มากสุด (ค่าเดินทางแพง?)
7) ลอนดอนเป็นเมืองที่ทำให้ใช้จ่ายต่อหัวมากสุด (ล้อไปกับค่าครองชีพ)
8) ฝรั่งเศส(ปารีส)คนมาเที่ยวเยอะสุด แต่ใช้เงินไม่มาก ไม่รู้เป็นเพราะนโยบายผ่อนปรน หรือยังไง เพราะค่าครองชีพก็แพง
9) สเปน มีคนมาเที่ยวเยอะเป็นอันดับ 3 แต่ใช้จ่ายมากเป็นอันดับ 2 อันนี้น่าสนใจศึกษา เช่น แคว้นอัลดาลูเซีย คาตาลุนญ่า บาสก์ กาลีเซียง

10) เมืองบาร์เซโลน่าก็ติดท้อปโลกในการดูดเงินนักท่องเที่ยวทั้งที่คนก็มาไม่มากนัก ตรงข้ามกับ กรุงเทพ เชียงใหม่ ที่คนมามากแต่ใช้เงินน้อย


นโยบายเกี่ยวกับคนต่างด้าว เป็นตัวชี้ว่า นักท่องเที่ยวจะมาเยอะไหม และเงินจะไหลเข้ารัฐ/เอกชนของประเทศนั้นเยอะรึเปล่า?

 

ตามกฎหมายไทย คนต่างด้าวซื้อได้แค่คอนโด แต่ที่เห็น คือ ลามมารีสอร์ต บ้าน ทั้งที่ไม่มีคู่สมรสไทยด้วย
ชวนให้สงสัยว่าใช้วิธีไหนให้ถือครองทรัพย์สินได้นะครับ
กฎหมายการทำงานคนต่างด้าว ก็สงวนหลายอาชีพไว้. ก็ไม่แน่ใจว่าทำไม ทัวร์ต่างด้าวถึงจัดการแบบครบวงจร เงินไม่ไหลสู่คนท้องถิ่นได้
เรื่องครอบครองทรัพย์นี่จะเชื่อมกับ ทัวร์ 0 เหรียญที่กำลังอื้อฉาว เพราะมีข้อมูลว่าคนต่างด้าวเข้ามาทำทัวร์ครบวงจรได้เพราะเป็นเจ้าของที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า พาหนะ โดยมี “ตัวแทนเชิด”

 

ความตึงเครียดที่คนไทยมีต่อคนต่างด้าว จึงยืนอยู่บนความเสี่ยง   เสี่ยงว่าจะเสียผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว และต้องรองรับผลกระทบจากการท่องเที่ยว

คำถาม คือ เราจะลดความขัดแย้ง โดยจัดการความเสี่ยงล่วงหน้า ได้ไหม?   เพราะเกรงว่าปล่อยไปเรื่อยๆ กระแสต่อต้านคนต่างด้าวจะแรงจนทำอะไรไม่ทัน. เหมือนกรณีประเทศอื่นที่คนท้องถิ่นไปด่าเขา จนโดนนักท่องเที่ยวแบนกลับ. จนการท่องเที่ยวประเทศนั้นพัง!

คงลองสำรวจระบบกฎหมายการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ เพื่อปรับกระบวนรับ
 

แต่ถ้าคิดว่าออกกฎหมายจะเป็นการกีดกันไม่เหมาะสม  ก็เลี่ยงได้โดยต้องบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เลือกประติบัติในทางลบต่อสัญชาติใดเป็นพิเศษ
แต่ตอนนี้เงื่อนไขที่ไทยให้ประเทศอื่นมันไม่ต่างตอบแทน คือ เราบุกเข้าฝั่งเขายาก แต่เปิดอ้าให้เขาง่ายๆ  ดูรัฐบาลไทยกระเสือกกระสนอย่างสิ้นหวัง


ปัญหาคือ ทำไมไทยไม่ใช่จุดหมายของคนทั่วโลก อีกต่อไป
มีเพียงบางประเทศที่มาเยอะ นักท่องเที่ยวจ่ายหนักๆ ไปไหนหมด
คำตอบ คือ ต้องไปดู อันดับสถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัยสูง ประกอบเพราะคนรวยคิดเยอะกับเรื่องนี้

 

ธุรกิจท่องเที่ยว บอกว่าบางประเทศมีนโยบายไม่สนับสนุนพลเมืองไปเที่ยวในประเทศที่ไม่มีความปลอดภัยทางการเมือง บางสายการบินก็ไม่บิน

อีกสาเหตุหนึ่งคือ ประกันการเดินทางที่จะไม่ครอบคลุมพื้นที่กฎอัยการศึก แต่ตอนหลังเราเลิกแล้ว เลี่ยงไปใช้มาตรา 44 แทน แต่ใน Rank Safe Country จัดอันดับจะไม่ปลด เพราะถือว่ายังอยู่ในชะเงื้อม ระบอบเผด็จการทหาร
จะแก้ปัญหาระยะสั้นยังไง ผมคงไม่อาจไปบังคับท่านได้

 

ส่วนระยะยาวนั้น ต้องปรับกระบวนทั้งระบบโดยยืนอยู่บนฐานความชอบธรรมทางกฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่เป็นหลักและใช้ร่วมกันทั่วโลก เห็นจะเป็น GATS ว่าด้วยการค้าบริการ ในหมวดธุรกิจบริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง ฯลฯ  ซึ่งการเปิดประเทศมิได้หมายถึง การเปิดหมด เปิดทันที โดยรัฐไม่มีสิทธิขัดขืนต้านทานใดๆ เนื่องจากรัฐสามารถ "ออกแบบได้" ว่าจะเปิดธุรกิจหมวดไหน หมวดย่อยอะไร ลึกแค่ไหน กว้างแค่ไหน เมื่อไหร่ ละเอียดมาก

หลัก Right to Regulate อนุญาตให้ รัฐใช้สิทธิออกกฎหมายภายในโดยไม่ขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยได้ให้ไว้กับสมาชิก WTO ทั้งหลาย

เอาง่ายๆแค่ ธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเดียว ก็ต้องมาออกแบบแล้วว่า ในหมวดการท่องเที่ยวนี้ จะเปิดอะไรบ้างในบรรดา การผลิตทั้ง 4 วิถี (Mode of Supply)
1.การจัดบริการข้ามพรมแดน (Cross Border Supply)
2.การเปิดให้ข้ามพรมแดนมารับบริการ (Consumption Abroad)
3.การตั้งบริษัทห้างร้านในการให้บริการ (Commercial Presence)
4.การข้ามพรมแดนของแรงงานผู้ให้บริการ (Temporary Movement of Natural Persons)

นั่นหมายความว่า การคิดแต่จะ "เปิด" โดยที่ไม่มีการออกแบบ กลไกรองรับใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นความประมาทอย่างถึงที่สุด มิใช่แค่ปล่อยให้คนท้องถิ่น ผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องเผชิญกับสถานการณ์ไปตามยถากรรม แต่!

ยังทำให้ นักท่องเที่ยวเสี่ยงภัย สารพัดรูปแบบไปด้วย

เมื่อเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด หากไม่มีกลไกในการประกันภัยล่วงหน้า หรือการระงับข้อพิพาทที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายพอยอมรับได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความโกรธแค้นชิงชัง ฝังหุ่น!!!

หากคนท้องถิ่น แค้นก็เอาไปเล่าในวงของตน เมื่อไปบวกกับเรื่องของคนท้องถิ่นอื่นๆ ก็จะเกิด "เครือข่ายเรื่องเล่าแห่งความเกลียดชัง" นำไปสู่การเหยียดหยามทางเชื้อชาติแบบเหมารวมต่อกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยไม่แบ่งแยกว่า ใครเป็นใคร

หากนักท่องเที่ยวเอาไปเล่าก็นำไปสู่การแพร่ข้อมูลทำลายภาพลักษณ์ของประเทศที่รับการท่องเที่ยว หนักไปถึงขั้น "แบน" และไม่กลับไปท่องเที่ยวซ้ำ หรือกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็บานปลายไปอีก

ดังนั้น การออกแบบกลไกต่างๆ ตั้งแต่ตอนขออนุญาต ผ่านด่าน ติดตามคน/พาหนะที่ข้ามเมืองมา ไปจนถึงการป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า เพื่อระวังความบาดหมางที่อาจเกิดขึ้นแทน "ความรู้สึกดีๆที่มีให้แก่กัน" จึงสำคัญมาก

เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมสำคัญอันดับต้นๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยามสันติ เพราะมันทำให้ คนกับคน ได้เจอกันอย่างถึงเนื้อถึงหนัง

อ้อ ถ้าไม่รีบออกกฎไว้ก่อน ต่อมาจะมาออกกฎสร้างอุปสรรคหรือข้อกีดกันอะไร ก็ทำไม่ได้นะครั่บ เพราะ Right to Regulate นี่ห้ามใช้สิทธิออกกฎหมายสร้างอุปสรรคเพิ่มเติมจากเดิมที่เคยให้ไว้ ณ วันเปิดประเทศในธุรกิจนั้นๆ

ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย ประมวลสิ่งที่อยากได้อยากเห็น แล้วผลักดันเป็นกฎหมาย ดีกว่าการบ่น ด่า ที่จะสร้างปัญหามุมกลับกลายเป็นการล่มสลายของตัวเอง จะดีกว่าครับ

ถ้าเราเชื่อว่า โครงสร้างของสังคมมีผลต่อพฤติกรรมคน นะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา