Skip to main content

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
1)ตัวเลขการท่องเที่ยวทั่วโลกสูงขึ้น 9% (ที่บอกเศรษฐกิจตะวันตกแย่ ไม่เที่ยว ไม่จริงเสียทีเดียว)
2)คนจีนออกไปเที่ยวและใช้จ่ายเป็นอันดับ 1 แต่ยังไงก็ยังไม่เยอะกว่า ประเทศอื่นๆรวมกัน เช่น จีน น้อยกว่า US+UK
3)ภาษาที่สำคัญในการรับนักท่องเที่ยว คือ อังกฤษ เพราะ US+UK+Australia+India+อื่นๆ ก็ยังมีเยอะสุด 
4)ภาษาจีนมาแรง แต่ที่เราลืม คือ เยอรมัน(คนรวย) สเปน(คนเยอะรวมลาตินอเมริกา) Russia(มีบางมหาลัยเอาจริงแล้ว)
5) กทม. หรือไทย มีคนมาเยอะมาก แต่ใช้จ่ายน้อยมาก (ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับค่าครองชีพไหม)
6) US เป็นประเทศที่ทำให้คนใช้จ่ายได้มากสุด (ค่าเดินทางแพง?)
7) ลอนดอนเป็นเมืองที่ทำให้ใช้จ่ายต่อหัวมากสุด (ล้อไปกับค่าครองชีพ)
8) ฝรั่งเศส(ปารีส)คนมาเที่ยวเยอะสุด แต่ใช้เงินไม่มาก ไม่รู้เป็นเพราะนโยบายผ่อนปรน หรือยังไง เพราะค่าครองชีพก็แพง
9) สเปน มีคนมาเที่ยวเยอะเป็นอันดับ 3 แต่ใช้จ่ายมากเป็นอันดับ 2 อันนี้น่าสนใจศึกษา เช่น แคว้นอัลดาลูเซีย คาตาลุนญ่า บาสก์ กาลีเซียง

10) เมืองบาร์เซโลน่าก็ติดท้อปโลกในการดูดเงินนักท่องเที่ยวทั้งที่คนก็มาไม่มากนัก ตรงข้ามกับ กรุงเทพ เชียงใหม่ ที่คนมามากแต่ใช้เงินน้อย


นโยบายเกี่ยวกับคนต่างด้าว เป็นตัวชี้ว่า นักท่องเที่ยวจะมาเยอะไหม และเงินจะไหลเข้ารัฐ/เอกชนของประเทศนั้นเยอะรึเปล่า?

 

ตามกฎหมายไทย คนต่างด้าวซื้อได้แค่คอนโด แต่ที่เห็น คือ ลามมารีสอร์ต บ้าน ทั้งที่ไม่มีคู่สมรสไทยด้วย
ชวนให้สงสัยว่าใช้วิธีไหนให้ถือครองทรัพย์สินได้นะครับ
กฎหมายการทำงานคนต่างด้าว ก็สงวนหลายอาชีพไว้. ก็ไม่แน่ใจว่าทำไม ทัวร์ต่างด้าวถึงจัดการแบบครบวงจร เงินไม่ไหลสู่คนท้องถิ่นได้
เรื่องครอบครองทรัพย์นี่จะเชื่อมกับ ทัวร์ 0 เหรียญที่กำลังอื้อฉาว เพราะมีข้อมูลว่าคนต่างด้าวเข้ามาทำทัวร์ครบวงจรได้เพราะเป็นเจ้าของที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า พาหนะ โดยมี “ตัวแทนเชิด”

 

ความตึงเครียดที่คนไทยมีต่อคนต่างด้าว จึงยืนอยู่บนความเสี่ยง   เสี่ยงว่าจะเสียผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว และต้องรองรับผลกระทบจากการท่องเที่ยว

คำถาม คือ เราจะลดความขัดแย้ง โดยจัดการความเสี่ยงล่วงหน้า ได้ไหม?   เพราะเกรงว่าปล่อยไปเรื่อยๆ กระแสต่อต้านคนต่างด้าวจะแรงจนทำอะไรไม่ทัน. เหมือนกรณีประเทศอื่นที่คนท้องถิ่นไปด่าเขา จนโดนนักท่องเที่ยวแบนกลับ. จนการท่องเที่ยวประเทศนั้นพัง!

คงลองสำรวจระบบกฎหมายการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ เพื่อปรับกระบวนรับ
 

แต่ถ้าคิดว่าออกกฎหมายจะเป็นการกีดกันไม่เหมาะสม  ก็เลี่ยงได้โดยต้องบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เลือกประติบัติในทางลบต่อสัญชาติใดเป็นพิเศษ
แต่ตอนนี้เงื่อนไขที่ไทยให้ประเทศอื่นมันไม่ต่างตอบแทน คือ เราบุกเข้าฝั่งเขายาก แต่เปิดอ้าให้เขาง่ายๆ  ดูรัฐบาลไทยกระเสือกกระสนอย่างสิ้นหวัง


ปัญหาคือ ทำไมไทยไม่ใช่จุดหมายของคนทั่วโลก อีกต่อไป
มีเพียงบางประเทศที่มาเยอะ นักท่องเที่ยวจ่ายหนักๆ ไปไหนหมด
คำตอบ คือ ต้องไปดู อันดับสถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัยสูง ประกอบเพราะคนรวยคิดเยอะกับเรื่องนี้

 

ธุรกิจท่องเที่ยว บอกว่าบางประเทศมีนโยบายไม่สนับสนุนพลเมืองไปเที่ยวในประเทศที่ไม่มีความปลอดภัยทางการเมือง บางสายการบินก็ไม่บิน

อีกสาเหตุหนึ่งคือ ประกันการเดินทางที่จะไม่ครอบคลุมพื้นที่กฎอัยการศึก แต่ตอนหลังเราเลิกแล้ว เลี่ยงไปใช้มาตรา 44 แทน แต่ใน Rank Safe Country จัดอันดับจะไม่ปลด เพราะถือว่ายังอยู่ในชะเงื้อม ระบอบเผด็จการทหาร
จะแก้ปัญหาระยะสั้นยังไง ผมคงไม่อาจไปบังคับท่านได้

 

ส่วนระยะยาวนั้น ต้องปรับกระบวนทั้งระบบโดยยืนอยู่บนฐานความชอบธรรมทางกฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่เป็นหลักและใช้ร่วมกันทั่วโลก เห็นจะเป็น GATS ว่าด้วยการค้าบริการ ในหมวดธุรกิจบริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง ฯลฯ  ซึ่งการเปิดประเทศมิได้หมายถึง การเปิดหมด เปิดทันที โดยรัฐไม่มีสิทธิขัดขืนต้านทานใดๆ เนื่องจากรัฐสามารถ "ออกแบบได้" ว่าจะเปิดธุรกิจหมวดไหน หมวดย่อยอะไร ลึกแค่ไหน กว้างแค่ไหน เมื่อไหร่ ละเอียดมาก

หลัก Right to Regulate อนุญาตให้ รัฐใช้สิทธิออกกฎหมายภายในโดยไม่ขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยได้ให้ไว้กับสมาชิก WTO ทั้งหลาย

เอาง่ายๆแค่ ธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเดียว ก็ต้องมาออกแบบแล้วว่า ในหมวดการท่องเที่ยวนี้ จะเปิดอะไรบ้างในบรรดา การผลิตทั้ง 4 วิถี (Mode of Supply)
1.การจัดบริการข้ามพรมแดน (Cross Border Supply)
2.การเปิดให้ข้ามพรมแดนมารับบริการ (Consumption Abroad)
3.การตั้งบริษัทห้างร้านในการให้บริการ (Commercial Presence)
4.การข้ามพรมแดนของแรงงานผู้ให้บริการ (Temporary Movement of Natural Persons)

นั่นหมายความว่า การคิดแต่จะ "เปิด" โดยที่ไม่มีการออกแบบ กลไกรองรับใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นความประมาทอย่างถึงที่สุด มิใช่แค่ปล่อยให้คนท้องถิ่น ผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องเผชิญกับสถานการณ์ไปตามยถากรรม แต่!

ยังทำให้ นักท่องเที่ยวเสี่ยงภัย สารพัดรูปแบบไปด้วย

เมื่อเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด หากไม่มีกลไกในการประกันภัยล่วงหน้า หรือการระงับข้อพิพาทที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายพอยอมรับได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความโกรธแค้นชิงชัง ฝังหุ่น!!!

หากคนท้องถิ่น แค้นก็เอาไปเล่าในวงของตน เมื่อไปบวกกับเรื่องของคนท้องถิ่นอื่นๆ ก็จะเกิด "เครือข่ายเรื่องเล่าแห่งความเกลียดชัง" นำไปสู่การเหยียดหยามทางเชื้อชาติแบบเหมารวมต่อกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยไม่แบ่งแยกว่า ใครเป็นใคร

หากนักท่องเที่ยวเอาไปเล่าก็นำไปสู่การแพร่ข้อมูลทำลายภาพลักษณ์ของประเทศที่รับการท่องเที่ยว หนักไปถึงขั้น "แบน" และไม่กลับไปท่องเที่ยวซ้ำ หรือกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็บานปลายไปอีก

ดังนั้น การออกแบบกลไกต่างๆ ตั้งแต่ตอนขออนุญาต ผ่านด่าน ติดตามคน/พาหนะที่ข้ามเมืองมา ไปจนถึงการป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า เพื่อระวังความบาดหมางที่อาจเกิดขึ้นแทน "ความรู้สึกดีๆที่มีให้แก่กัน" จึงสำคัญมาก

เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมสำคัญอันดับต้นๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยามสันติ เพราะมันทำให้ คนกับคน ได้เจอกันอย่างถึงเนื้อถึงหนัง

อ้อ ถ้าไม่รีบออกกฎไว้ก่อน ต่อมาจะมาออกกฎสร้างอุปสรรคหรือข้อกีดกันอะไร ก็ทำไม่ได้นะครั่บ เพราะ Right to Regulate นี่ห้ามใช้สิทธิออกกฎหมายสร้างอุปสรรคเพิ่มเติมจากเดิมที่เคยให้ไว้ ณ วันเปิดประเทศในธุรกิจนั้นๆ

ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย ประมวลสิ่งที่อยากได้อยากเห็น แล้วผลักดันเป็นกฎหมาย ดีกว่าการบ่น ด่า ที่จะสร้างปัญหามุมกลับกลายเป็นการล่มสลายของตัวเอง จะดีกว่าครับ

ถ้าเราเชื่อว่า โครงสร้างของสังคมมีผลต่อพฤติกรรมคน นะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2