Skip to main content

            สถานการณ์เขม็งเกลียวทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการพยายามผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย(ตัน) ของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีคะแนนเสียงในสภาล่างถึง 310 เสียงนั้น   ได้ผลักให้ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2553 และประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต่อต้านการล้างผิดให้กับอดีตนายกฯทักษิณ รวมถึงกลุ่มต่างๆที่เห็นความไม่ชอบมาพากลทั้งหลายต้องลุกขึ้นมาต่อต้านการผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวอย่างเสียมิได้ และคิดว่าไม่ทางเลือกอื่นอีกแล้วนอกจากใช้การเมืองนอกรัฐสภาเข้ากดดัน

      สำหรับผู้ที่ฝากความหวังไว้กับศาลรัฐธรรมนูญที่จะตัดสินว่า พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับดังกล่าวจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็โปรดดูแนวคำพิพากษาย้อนหลังเกี่ยวกับการออก พรบ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับต่างๆด้วย ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรในการเพิกถอน พรบ.ฉบับดังกล่าวทั้งฉบับ  

อันที่จริงแล้วยังเหลือแนวทางในการต่อสู้เพื่อสร้างความเป็นธรรม นำผู้กระทำผิดกฎหมายมาลงโทษทางอาญา และเยียวยาสิทธิให้กับญาติผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บทั้งจากการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลทักษิณได้อีก หนึ่งหนทาง   โดยที่ไม่ต้องเกิดเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงอันจะนำไปสู่การนองเลือดซ้ำอีกครั้ง   นั่นคือ การผลักดันรัฐสภาให้สัตยาบันธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศในทางสากลมานับสิบปีแล้ว ขาดก็แต่เพียงการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในประเทศไทยเท่านั้น

            เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและไม่ต้องการเห็นการออกกฎหมายลบล้างความผิดของอดีตนายกฯทักษิณ มวลชนเสื้อแดงที่เจ็บปวดจากการประหัตประหารของรัฐบาลอภิสิทธิ์   และพลเมืองไทยผู้รักความยุติธรรมต้องการรักษาระบบกฎหมายต่อต้านการใช้อำนาจประหัตประหารของผู้มีอำนาจทุกรูปแบบ   สังคมไทยต้องร่วมกันกดดันให้รัฐสภาให้สัตยาบันต่อธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ และออกถ้อยแถลงให้ธรรมนูญศาลฯมีผลกับประเทศไทยย้อนไปตั้งแต่วันแรกที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจบังคับตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งหากใช้เงื่อนเวลาดังกล่าวศาลฯจะมีเขตอำนาจบังคับคดีทั้งหลายอันได้แก่

1)    การใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะของรัฐบาลทักษิณ

2)    การใช้กำลังปราบปรามและทำให้เกิดผู้เสียชีวิต ณ อำเภอตากใบ ของรัฐบาลทักษิณ

3)    การใช้กำลังปราบปรามการชุมนุมในกรุงเทพ ช่วงเมษา-พฤษภา 2553 ของรัฐบาลอภิสิทธิ์

4)    ป้องกันการประหัตประหาร หรือการใช้กำลังปราบปรามที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

สาเหตุที่การให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศจะช่วยฝ่าทางตันของ พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ก็ด้วยเหตุที่ว่า   “เมื่อกระบวนการภายในของรัฐไทยไม่สามารถเอาผิดผู้ละเมิดสิทธิของประชาชนได้แล้ว” ก็จะเข้าเงื่อนไขสำคัญในการนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศทันที   เนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลอาญาระหว่างประเทศและองค์กรนิรโทษกรรมสากลก็ชี้ตรงกันแล้วว่า คดีในประเทศไทยยังไม่เข้าเกณฑ์ในการรับฟ้องคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศเพราะยังไม่ปรากฏ “การใช้กระบวนการเยียวยาภายในจนหมดสิ้น” (Exhaustion of Local Remedy)   หรือมีพฤติการณ์ให้เชื่อได้ว่าจะมี “การปฏิเสธความยุติธรรม” อย่างชัดแจ้ง (Denial of Justice)

มาบัดนี้การผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อลบล้างความผิดและโทษทางกฎหมายให้กับผู้มีส่วนกับการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศทั้งหลาย ได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่ามีการปฏิเสธความยุติธรรม และทำให้โอกาสในการเยียวยาสิทธิด้วยกระบวนการภายในหมดสิ้นลง   ประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิทั้งหลายจึงมีเงื่อนไขครบถ้วนที่จะนำคดีรัฐบาลทักษิณและอภิสิทธิ์ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ติดอยู่ก็แต่เพียงรัฐไทยยังมิได้ให้สัตยาบันและทำถ้อยแถลงให้ศาลมีผลบังคับใช้กับไทยย้อนไปตั้งแต่วันแรกที่ศาลมีผลทางกฎหมาย            ดังนั้นแนวทางที่เป็นรูปธรรมและจะนำความยุติธรรมกลับคืนมาโดยไม่ติดข้อจำกัดของเฉดสีและการเมืองภายในนั่นคือ การใช้กลไกเยียวยาระหว่างประเทศเพื่อให้ปลอดคำครหาและการตั้งข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น

สำหรับผู้ที่ห่วงใยว่าอดีตนายกทักษิณจะรอดพ้นคดีไปล่องลอยอยู่ในต่างประเทศได้เหมือนตอนที่เป็นนักโทษในคดีคอรัปชั่น ก็ขอให้ทราบว่า คดีที่จะทำให้อดีตนายกทักษิณติดกับและหนีไปได้อย่างแท้จริง คือ คดีอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากคดีแบบนี้จะทำให้เกิด “เขตอำนาจสากล” ในการบังคับทุกรัฐให้ต้องจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในศาล   ดังที่ปรากฏความกังวลของ พตท.ทักษิณ โดยการจ้างทนาย อัมสเอตร์ดัม ซึ่งจริงๆแล้วมีความเชี่ยวชาญในการเป็น “ทนายจำเลย” แก้ต่างให้กับผู้ต้องหาในศาลอาญาระหว่างประเทศ  มิใช่ผู้เชี่ยวชาญในการฟ้องเอาผิดดังที่มวลชนฝ่ายแดงเข้าใจผิดกัน

หากมองว่าฝ่ายใดจะคัดค้านการให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศ ก็เห็นจะเป็น ฝ่ายที่หยิบยกเรื่องการสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล และเปิดให้ศาลระวห่างประเทศเข้ามายุ่มย่ามกิจการภายในรัฐไทย   นั่นก็คือ ฝ่ายความมั่นคงซึ่งมีส่วนในการประหัตประหารประชาชนและละเมิดสิทธิประชาชนร่วมกับทุกรัฐบาลมาตลอด   จุดยืนของ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือแม้แต่ DSI ย่อมไปในทิศทางนิ่งเฉยต่อ พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย หรือถึงขั้นสนับสนุนกฎหมายฉบับดังกล่าวเสียด้วยซ้ำ ดังที่สังคมจะต้องสังเกตท่าทีของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ต่อ พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย และท่าทีนิ่งเฉยของผู้นำกองทัพต่อเรื่องนี้ และการให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศ

ประชาชนทุกฝ่ายผู้เห็นแล้วถึงความแยบคายของเหล่าชนช้ำนำไทย ที่ผลักใสมวลชนเข้าปะทะกัน แต่สุดท้ายชนชั้นนำทั้งหลายก็จับมือกันล้างความผิดแล้วผสานประโยชน์เข้าหากัน โดยไม่เห็นหัวประชาชนผู้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อหวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ทางที่ดีขึ้น   การฝากความหวังไว้กับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง  การหวังพึ่งกองทัพ ข้าราชการ หรือแม้กระทั่งเทพยาดาฟ้าดิน ย่อมไม่อาจสร้างบันดาลความเป็นธรรมให้กับประชาชนได้ ตราบที่คนจำนวนหยิบมือยังกุมอำนาจในการกำหนดชะตากรรมอนาคตไว้ในมือตัวเอง โดยไร้ซึ่งความเกรงกลัวต่ออำนาจประชาชน

สังคมไทยคงเห็นชัดจากเหตุการณ์ครั้งนี้แล้วว่าการเมืองไทยไม่ได้มีแค่เรื่องหน้าฉากให้เห็นว่ามีเพียงนักการเมืองที่อยู่ใต้แสงไฟหน้าฉาก ให้เราได้ก่นด่าว่าร้าย และตรวจสอบ   แต่จริงๆแล้วยังมีคนที่อยู่เบื้องหลังอีกมากมาย ซึ่งคนเหล่านั้นพร้อมจะผลักดันให้เกิดการประลองกำลัง หรือจับมือกันผสานประโยชน์โดยไม่สนใจความตายของประชาชนและความยุติธรรมในสังคมใดๆทั้งสิ้น   ฝ่ายการเมืองที่อยู่ในการจับจ้อง ยังไม่อันตรายเท่ากลุ่มที่อยู่เบื้องหลัง เช่น ฝ่ายความมั่นคง ชนชั้นนำ หรือกลุ่มทุนที่หนุนหลังแต่ละฝ่าย

และที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ กลุ่มทุนที่สนับสนุนทุกฝ่าย และเข้าได้กับทุกฟาก ซึ่งจะรอดตายไม่ว่าจะเกิดวิกฤตหรือคลี่คลายอย่างไรก็ตาม  

ในทางความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนปัจจุบัน กลุ่มที่จะต้องจับตาดูมากขึ้น ก็คือ ฝ่ายเทคโนแครตด้านความมั่นคงที่อยู่ในอำนาจเสมอไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลไปเป็นฝ่ายไหน และกลุ่มทุนที่สนับสนุนและได้ประโยชน์อยู่เบื้องหลังไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล 

หากไม่เชื่อก็ลองดูรายชื่อรัฐมนตรีย้อนหลัง และรายชื่อหัวหน้าหน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงดูสิ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว