อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
รัฐแต่ละรัฐมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการใช้กำกับสังคมและประชาชนภายในรัฐ แต่ในโลกไซเบอร์นั้นมีมากกว่ารัฐเพียงรัฐเดียว การใช้กฎหมายก็เช่นเดียวกัน การใช้กฎหมายแบบเดิมจึงไม่อาจใช้ตอบคำถามเดียวกันในโลกไซเบอร์ได้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมนี้เองจึงส่งผลต่อกฎหมายที่ใช้บังคับกำกับผู้คนในโลกไซเบอร์ตามไปด้วย
กรณีข่าว “ผู้ให้กำเนิดอินเตอร์เน็ตไทย เตือนความเหลื่อมล้ำยุค 4.0” ซึ่งได้สัมภาษณ์
ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต ผู้นำอินเทอร์เน็ตเข้ามาสู่ประเทศไทยและทำงานเกี่ยวกับพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตไทยมาโดยตลอด ได้กล่าวถึงความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตและความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลรวมถึงโครงการเน็ตประชารัฐซึ่งประเทศไทยยังขาดคนวางแผนโครงสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ (ข้อมูลอ้างอิง: http://www.bbc.com/thai/thailand-41316885)
ซึ่งจากข่าวดังกล่าวพบว่าเมื่อสังคมเปลี่ยนไปอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในสังคมมากยิ่งขึ้นทางภาครัฐจึงมีการออกนโยบายเพื่อให้เท่าทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อันได้แก่โครงการเน็ตประชารัฐซึ่งเป็นโครงการติดตั้งอินเตอร์เน็ตโดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม มุ่งให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล และส่งเสริมเศรษฐกิจตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
แต่อย่างไรก็ดีโครงการเน็ตประชารัฐตามนโยบายของภาครัฐนั้นยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหาสำหรับผู้ใช้ในภายหลัง อันเนื่องมาจากการร่วมมือระหว่างภาครัฐและบริษัททีโอทีจำกัดซึ่งเป็นเอกชนผู้ให้ใช้บริการ โดยอาจมีข้อตกลงในการนำข้อมูลผู้ใช้งานมาเปิดเผยกับทางการซึ่งทำให้รัฐสามารถเข้ามากำกับผู้คนในโลกไซเบอร์ได้ รวมถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานอีกด้วย
ดังนั้นอินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันจึงเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่นอกจากจะสามารถเชื่อมต่อและส่งต่อข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถนำมาใช้วัดระดับเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมโดยประมาณว่าเป็นเช่นไรได้อีกด้วย
นภัสสร์ ฟ้าสะท้อน
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ในบทความนี้ มีประเด็นที่อยากจะชวนทุกท่านพิจารณาว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครเป็นต้นตอของข้อมูลข่าวสารปลอมเหล่านั้นที่มีผู้หลงเชื่อแชร์ต่อๆกันมา ? และหากทราบแล้วว่าใครเป็นผู้กระทำ จะมีวิธีการจัดการอย่างไร? ประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่น่าขบคิดเช่นเดียวกัน
หากเราจะวิเคราะห์ค้นหาความจริงในประเด็นที่ว่าผู้กระทำผิดเป็นใคร อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักเหมือนประเด็นของคดีอาญาทั่วไปในประเทศไทย หากแต่ว่า server ที่ทำการของสำนักข่าวเทียมเหล่านั้น ตั้งอยู่ที่ใดกันแน่คงจะน่าพิจารณามากกว่า เพราะหากว่า server ที่ทำการไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย ทางภาครัฐหรือผู้เสียหาย จะมีมาตรการบังคับกับบุคคลเหล่านั้นอย่างไร หากจะกล่าวถึงพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ที่จะนำมาใช้มาพิจารณา ก็อาจจะมีปัญหาในมิติที่ว่า ขอบเขตแห่งพระราชบัญญัติอันเป็นเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์ในการปราบปรามผู้กระทำผิดในโลกดิจิทัลของภาครัฐในปัจจุบันนี้มีมากถึงเพียงใด? ซึ่งก็หามีเขตอำนาจแห่งความศักดิ์สิทธิ์แผ่ขยายไปถึงนอกราชอาณาจักรเสมอไปไม่ หรือ นัยยะหนึ่งก็หมายความว่าขอบเขตของการบังคับใช้ก็บังคับใช้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้บังคับใช้ระหว่างประเทศด้วย หากแต่ว่า ภาครัฐจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการจัดการหรือส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเข้าหลักการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วยว่า มีการทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันหรือไม่ หรือความผิดฐานปลอมแปลงข้อมูลข่าวสารนั้นจะถือว่าเข้าข่ายว่าเป็นความผิดสากลตามกฎหมายระหว่างประเทศจนทำให้สามารถส่งผู้ร้ายนั้นมาดำเนินกระบวนการพิจารณาลงโทษในประเทศไทยได้หรือไม่ ซึ่งแน่นอน หากขึ้นชื่อว่าระหว่างประเทศเมื่อใด ก็มักจะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการใดๆ ก็จะขยายเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว นั่นก็หมายความว่าผู้ที่ต้องการเอาผิดจากสำนักข่าวเทียมเหล่านั้น หากพบว่า server ที่ตั้งไม่ได้อยู่ในประเทศ ซึ่งแน่นอนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร หรืออีกหนทางหนึ่งคือการแจ้งไปยัง server ต้นสังกัด หรือ server ที่มีอำนาจให้ทำการลบสำนักข่าวเทียมเหล่านั้นออกไป แต่ก็อย่าลืมว่าการแก้ไขปัญหาเช่นนี้ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะตัวบุคคลผู้ก่อการยังคงอยู่ เมื่อถูกลบ ก็สร้างใหม่เรื่อยๆได้นั่นเอง หากต้องการจะแก้ไขปัญหาที่แท้จริงก็คงต้องหาต้นตอของผู้กระทำความผิด หรือ server ที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นให้สิ้นไป แน่นอน นับว่าเป็นโจทย์ยากทีเดียวสำหรับประเทศที่กฎหมายเกี่ยวกับสังคมดิจิทัลยังไม่สมบูรณ์ซ้ำยังถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดกับเจตนารมณ์อันแท้จริงเช่นนี้
ข้อมูลอ้างอิง: http://www.bbc.com/thai/thailand-41438401
เอกวุฒิ ทองโสภา
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ผู้เสียหายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกปลอมข้อมูล 2 รายด้วยกัน ทั้งด้านแอบอ้างบุคคล และเสนอขายสินค้าปลอม รายแรกพบบุคคลที่ใช้รูปโปรไฟล์ของตนในการแอบอ้างปลอมแปลงข้อมูลในแอพพลิเคชั่น BeeTalk เป็นการกระทำความผิดโดยการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นมาใช้ในการหลอกลวงคนทั่วไปเป็นการกระทำที่ใส่ความผู้อื่นทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและได้รับความอับอาย เป็นการโจรกรรมข้อมูลทางออนไลน์เพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยรูปภาพเสนอขายสินค้าปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ส่วนเนื้อหาที่สนทนาเป็นไปในเชิง 18+ มีการส่งรูปภาพอวัยวะเพศ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นซึ่งถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศที่ข้อมูลคอมพิวเตอร์มีลักษณะอันลามก มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(4) รายที่สอง เจ้าของสินค้าแบรนด์ Milion Brand พบว่ามีบุคคลที่ตนไม่รู้จักนำรูปภาพสินค้าของตนไปแอบอ้างโพสต์ขายมีการดัดแปลงรูปภาพทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าและตัวแทนจำหน่ายเกิดความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 16 และมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยรูปภาพเสนอขายสินค้าไปแอบอ้างขายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 การมีลูกค้าสนใจได้สั่งซื้อแต่ไม่ได้รับสินค้ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งการกระทำดังกล่าวมีผู้เสียหายจำนวนมากสูญยอดเงินรวมกันมูลค่านับหมื่นบาท ในการหลอกลวงเอาเงินผู้อื่นที่สนใจซื้อสินค้า ทำให้เกิดความเสียหายทางด้านการเงินหลอกลวงผู้อื่นให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และสามารถดำเนินคดีโดยการนำกฎหมายอาญามาปรับใช้ควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ได้ การกระทำทั้งสองกรณีเกิดจากการที่ไม่มีอำนาจรัฐเข้ามาปกครองแทรกแซงกิจกรรมในโลกออนไลน์และกฎหมายไม่มีบทลงโทษที่รุนแรงพอทำให้คนบางกลุ่มแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นโดยการสร้างตัวตนปลอมขึ้นมาหลอกลวงและละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ข้อมูลอ้างอิง: https://suemuanchonnews.com/2017/11/05/เตือนภัยโซเชียล-ระวังต/
นภาวรรณ พิมสวน
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
“กลายเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาพักใหญ่ สำหรับเรื่องราวครอบครัวของ นักแสดงหนุ่ม ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล กับภรรยา พลอย พลอยพรรณ และมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จนกระทั่งมีกระแสวิจารณ์ต่างๆ มากมายในโลกโซเชี่ยลไป ซึ่งก็มีนักเลงคีย์บอร์ดหลายคนที่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้
จนกระทั่งล่าสุด (6 ส.ค.) ปีเตอร์พร้อมเพื่อนทีมงานรายการ Ride With ME ได้เดินทางไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเข้าแจ้งความ”
ในปัจจุบัน ทุกก็ยังคงตั้งคำถามว่า ภายในพื้นที่เฟซบุ๊คนั้นเป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่ของเจ้าของเฟซบุ๊ค และยังมีข้อถกเถียงมากมายเกิดขึ้นอยู่ประจำ บ้างก็ว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวของตนในเมื่อตนเป็นเจ้าของเป็นคนโพส จะโพสอะไรก็ย่อมได้แล้วแต่ใจ บ้างก็ว่าเป็นพื้นที่สาธาณะสิก็มีการเปิดให้เห็นเนื้อหาได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่ผู้ใช้ว่าจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ว่าจะให้เนื้อหาส่วนไหนเป็นส่วนตัว ส่วนไหนเป็นสาธารณะ
การสื่อสารในโลกไซเบอร์จานวนมากมีความก้ำกึ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ จนเกิดความสับสนขึ้นมากมาย โลกไซเบอร์นั้นได้เป็นการสร้างโลกที่เสมือนจริงขึ้นมา โดยผู้ใช้งานนั้นสามารถมีอิสระได้อย่างเต็มที่ จนลืมไปว่า ไม่มีความเป็นส่วนตัวหรือความลับที่แท้จริงในโลกเสมือนใบนี้ อาจมีการถูกสอดส่องจากรัฐหรือบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังย่อขนาดช่องว่างระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะให้แคบลงจนเกือบจะทับซ้อนกันไปหมดในโลกของความเป็นจริงและโลกเสมือนจริง การบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตจึงจำเป็นที่จะต้องมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากตัวบทกฎหมายทั่วไป เพื่อการปฎิบัติต่อเนื้อหาของสิ่งเหล่านั้นที่แตกต่างกันระหว่างโลกความเป้นจริงกับโลกของอินเตอร์เน็ตให้มีความแตกต่างกัน
รัฐธรรมนูญไทยได้พูดถึงเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นว่าบุคคลนั้นย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน และด้วยเหตุนี้ที่มีการแสดงความคิดเห็นของประชาชนกันอย่างมากมายภายในโลกอินเตอร์เน็ตโดยอ้างสิทธิเสรีภาพของตนเอง รัฐจึงต้องมีการออกมาตรการในการควบคุมจัดการหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมในโลกไซเบอร์ เช่น พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น การแสดงความคิดเห็นนั้นจำเป็นต้องดำเนินไปตามความเหมาะสม เมื่อเกิดการกระทำการละเมิดโดยผ่านการแสดงความคิดเห็นในโลกไซเบอร์
(ข้อมูลอ้างอิง: https://news.sanook.com/1843170/)
อรกมล อรุณปรีย์
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน โดยเป็นเครือข่ายไร้สายนี้ทำให้โลกไม่ได้แค่ติดต่อกันได้แค่ในประเทศตนแต่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร ติดต่อกันได้ทั่วโลก ผ่านการเชื่อมโยงบนเรือข่ายสังคมออนไลน์ โดยสังคมออนไลน์เป็นสังคมที่มนุษย์เราสามารถแสดงออกตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ Instagram เป็นต้น ถึงแม้จะทำให้โลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าน แต่บางครั้งในอีกมุมคนในสังคมโลกออนไลน์ก็ใช้อินเตอร์เน็ต หรือโลกไซเบอร์นี้ก็ได้รับผลเสียจากโลกสังคมออนไลน์ เช่นการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการกระจายข้อมูลหรือข่าวเท็จกลั่นแกล้งผู้คน ส่งผลทำให้เกิดเหยื่อโลกไซเบอร์อยู่หลายกรณี
จากกรณีสื่อต่างประเทศรายงานว่า เด็กชายวัย 11 ปีจากรัฐมิชิแกน ตกเป็นเหยื่อโลกไซเบอร์ตัดสินใจผูกคอตาย ถูกเพื่อนแกล้งปล่อยข่าวว่า แฟนสาวอายุ 13 ปีของเด็กชาย ซึ่งเสียชีวิตหลังรับรู้ข่าวเพียง 2 ชั่วโมง เด็กชายวัย 11 ขวบจึงตัดสินใจที่จะฆ่าตัวตายโดยใช้เชือกแขวนคอ แม่ของเด็กชายเล่าว่า ไม่มีใครบอกลูกชายของเธอว่า ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวเท็จและเป็นการแกล้งกันของเพื่อน ๆ ซึ่งลูกชายของเธอเด็กเกินกว่า ที่จะรู้ได้ว่า กำลังถูกแกล้งอยู่ เด็กสาววัย 13 ปีถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาแล้ว ในข้อหาใช้อุปกรณ์การสื่อสารที่ผิด ซึ่งอาจถูกควบคุมตัว 6 เดือน ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และอาจจะต้องโทษคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะถูกควบคุมตัว 1 ปี ซึ่งจากข่าวดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบางครั้งอินเตอร์เน็ตไม่ใช่พื้นที่เพียงแค่เสพความจรรโลงใจ เพื่อความบันเทิง หรือพูดคุยกัน แต่ผลกระทบด้านลบของมันจากการใช้สื่อในทางที่ผิด การเผยแพร่ข่าวเท็จ มันอาจทำให้ส่งผลต่อจิตใจของคน เพราะสังคมในโลกไซเบอร์ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของคนเราเป็นอย่างไง อีกทั้งจากข่าวดังกล่าวยังเข้าค่าย Cyber bully ที่เป็นการคุกคามการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต
จากข่าวดังการสามารถวิเคราะห์ได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ต ไม่เพียงแต่จะเพื่อความบันเทิง แต่อาจใช้เพื่อกลั่นแกล้ง คุกคาม ไม่ได้ส่งผลแค่ด้านการเมือง เศรษฐกิจ แต่ในด้านสังคม ทำให้คนในประชาชนตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายในการควบคุมและแก้ไขปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนจำต้องทำอย่างบูรณาการ มององค์รวมไปถึงต้นตอ อันได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ปลอดภัย (Safe Internet) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาสังคมในการร่วมแก้ปัญหา
ข้อมูลอ้างอิง: https://news.sanook.com/2198050/
ณัฐริณี กิตติเมธีกุล
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
Dose China’s Restricted Internet has an impact on Businesses?
ในปัจจุบันนี้การลงทุนจากต่างประเทศเป็นเรื่องที่หลายประเทศต่างให้ความสนใจเพราะถือเป็นเรื่องที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโต GDP หรือรายได้ต่อหัวเพิ่มมากขึ้น การว่างงานที่ลดลง หลายประเทศต่างก็ต้องการ และอำนวยความสะดวกให้บริษัทเหล่านั้นเข้ามาลงทุนในประเทศตัวเอง แต่ไม่ใช่กับประเทศจีน
ประเทศจีนนั้นถึงแม้มีระบบการค้าที่เปิดเสรี แต่ก็ไม่ได้มีการอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างชาติที่มากพอ โดยเฉพาะเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตที่ยังมีข้อกฎเกณท์ต่างๆมากมาย ทั้งนี้เพราะจีนนั้นใช้ตัวแบบในการกำกับดูแลไซเบอร์ แบบ “การกำกับโดยรัฐ” (State-Regulation) นั้นเอง โดยเป็นตัวแบบที่รัฐมีบทบาทนำในการสร้างกลไกในการควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศ โดยอาจจะมีการป้องกันไม่ให้มีการเชื่อมโยงกับโลกภายนอกเพราะพยายามรักษาไว้ซึ่งการบังคับใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐ ดังจะเห็นได้จากการพยายามของรัฐบาลจีนในการจำกัดการใช้บริการของ Google อีกทั้งยังตั้งกฎเกณฑ์ให้บริษัทต่างชาติมากมาก จากการผ่านร่างกฏหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ (Cyber Security Law) ในปี 2016 ซึ่งนอกจากจะเป็นการควบคุมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชาชนจีนอย่างเข้มงวดแล้ว ยังทำให้บริษัทเอกชนทั่งในประเทศและบริษัทต่างชาติต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์ในประเทศจีน และต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจสอบข้อมูล เพราะอาจต้องโทษอย่างรุนแรงถ้าไม่ปฏิบัติตาม จากกรณีทำให้เกิดประเด็นที่น่าตั้งคำถามว่า การใช้ระบบแบบนี้จะกระทบกับการลงทุนจากต่างประเทศหรือไม่ เกือบเก้าในสิบบริษัทของยุโรปที่มาตั้งในจีนอ้างว่า การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้มงวดของจีนนั้นทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ยาก และการขยายขอบเขตในการควบคุมนั้นมันไปกระทบมากกว่า Freedom of speech แล้ว นอกจากนั้นจากการสำรวจของ European Chamber of Commerce พบว่ามีบริษัท 86% ที่ต้องเจอกับผลกระทบในทางลบ เนื่องจากการบล็อกเว็บไซต์ หรือ online tools อินเทอร์เน็ตของจีนยังทำให้ระบบช้าลง ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ที่บางบริษัทในยุโรปไม่สามารถรับได้
เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าการใช้ตัวแบบการกำกับดูแลไซเบอร์ของจีนนั้น ส่งผลกระทบกับทั้งบริษัทต่างชาติและบริษัทในประเทศจีนอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับ บริษัท ขนาดเล็กหรือผู้ค้าปลีกรายย่อยตัวแบบการกำกับอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นดูเหมือนจะส่งผลกระทบที่น้อยกว่า เพราะมีกฎเกณท์ที่ใช้บังคับน้อยกว่านั้นเอง ต่างกับบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ที่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่เข้มงวดกว่าจนทำให้การดำเนินธุรกิจที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ข้อมูลอ้างอิง: https://intrepidsourcing.com/should-chinas-restricted-internet-be-a-concern-to-businesses/
ข้อมูลอ้างอิง: http://www.theregister.co.uk/2016/11/07/china_passes_new_cybersecurity_laws/
ข้อมูลอ้างอิง: https://blogs.wsj.com/chinarealtime/2015/02/12/china-internet-restrictions-hurting-business-western-companies-say/
ณัฐวรา เทพเกษร
"คลิปเด็ก" อย่ามองแค่น่ารัก โพสต์-แชร์ เสี่ยงผิด พรบ.คุ้มครองเด็ก
ปัจจุบันมีการถ่ายภาพและคลิปของเด็กแล้วนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก หลายคนอาจโพสต์หรือแชร์คลิปเด็กเพราะความน่ารัก น่าเอ็นดู แต่การกระทำเหล่านี้กลับเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเด็กและเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
โดย น.ส.เข็มพร วิรุฬราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า ผู้ปกครองหลายคนยังไม่ตระหนักรู้ว่าสื่อสังคมออนไลน์เป็นทั้งเครื่องมือที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เป็นเสมือนดาบสองคมที่อาจจะส่งผลกระทบกับตัวเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ผศ.มรรยาท อัครจันทโชติ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า โลกของสื่อยุคใหม่มีธรรมชาติที่แตกต่างจนทำให้ผู้ใช้ตามไม่ทัน ซึ่งการลงภาพเด็กหรือคลิปเด็กในเฟซบุ๊กที่หลายคนคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่หากคลิปนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของเด็กก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะอาจถูกเผยแพร่ไปในวงกว้าง ถึงแม้จะมาลบทีหลังก็ตาม เพราะคลิปหรือภาพนั้นอาจถูกผู้อื่นบันทึกไว้แล้ว
ด้าน พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น รพ.รามาธิบดี ระบุว่า การโพสต์ภาพเด็กลงในสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์และความเป็นส่วนตัวของเด็ก อาจทำให้เด็กอึดอัดและมีนิสัยก้าวร้าว ขณะที่คำชื่นชมต่างๆ อาจกลายเป็นการสนับสนุนให้พ่อแม่เด็กเผยแพร่ภาพหรือคลิปมากขึ้น
ส่วนกรณีที่มีการโพสต์คลิปประจานจากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ตัวของเด็กลงในโซเชียลฯ จนทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร้ลิมิตจากสังคม อาจทำให้เด็กบางคนทนไม่ไหวหรือรับไม่ได้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงนั้น จนเกิดเป็นความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า จนนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง จึงอยากให้ผู้ปกครองหรือคนใกล้ตัวเด็กตระหนักเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ
ขณะที่ "จ่าพิชิต ขจัดพาลชน" เจ้าของเพจดัง Drama-addict ระบุถึงปรากฏการณ์คลิปเด็กว่า ทุกวันนี้ทุกคนเป็นสื่อที่สามารถผลิตเนื้อหาของตัวเองได้ หรือผู้ปกครองที่เห็นว่าบุตรหลานของตัวเองน่ารักก็อยากจะเผยแพร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ปัญหาคือบุคคลเหล่านี้ไม่รู้ถึงผลกระทบที่จะตามมา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์มันไม่สามารถควบคุมได้ หรืออาจมีผู้ไม่หวังดีนำภาพหรือคลิปไปเผยแพร่ต่อในทางที่จะก่อให้เกิด ความเสียหาย ซึ่งคลิปเด็กถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ผู้ไม่หวังดีจะนำไปบิดเบือนข้อมูลในเพจของตัวเองเพื่อเรียกยอดวิวและเรียกคนเข้ามากดไลค์
"จ่าพิชิต" ยังกล่าวอีกว่า การโพสต์ภาพและคลิปของเด็กลงสื่อสังคมออนไลน์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เรียกให้อาชญากรเข้ามาหาตัวเด็กได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์เรื่องราวในชีวิตประจำวัน รวมถึงการ "เช็คอิน" ตามสถานที่ต่างๆ ขณะที่ปัจจุบันมีคลิปเด็กจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งผู้เผยแพร่กลับเป็นคนที่ทำงานอยู่กับเด็กและเป็นผู้ใกล้ชิดเด็กโดยตรง อย่างกรณีที่ครูถ่ายคลิปเด็กชายร้องไห้ขอโทษเพื่อนที่ถูกตัวเองต่อยจนปากแตก ก็ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์และมีการแชร์คลิปกันเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกวดขันจริยธรรมวิชาชีพให้มากขี้น
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 27 ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเด็ก จนส่งผลกระทบกับชื่อเสียง เกียรติคุณ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ แต่ปัญหาคือคำว่า "เจตนา" ก็ต้องดูว่าอย่างไรที่เรียกว่าเจตนาที่จะเป็นการละเมิด ซึ่งบางครั้งสื่อมวลชนที่นำเสนอแต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้กฎหมายคุ้มครองเด็กยังมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองอื่นๆ เช่น หากเป็นความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นภาพหรือคลิปลามก ข้อมูลเท็จและข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ อีกทั้งกฎหมายของไทยยังครอบคลุมไม่ครบทุกปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเด็ก มีช่องโหว่ที่เห็นได้ชัดคือการนำข้อมูลเด็กเข้าไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และไม่มีการกำหนดอายุว่าช่องวัยใดควรได้รับการคุ้มครองอย่างมากในโลกออนไลน์ ส่งผลให้ในหลายครั้งที่ผู้ถ่ายภาพ ผู้โพสต์และผู้แชร์มองเป็นความน่ารัก หรือเป็นข้อมูลทั่วไป แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว ซึ่งเป็นหลักการที่อยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ยังไม่ถูกแปลงมาเป็นกฎหมายที่ชัดเจน
จากบทความทำให้ทราบว่า การโพสต์หรือการแชร์คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยเฉพาะการเผยแพร่ที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทยผ่านพื้นที่ของโซเซียลมีเดีย (Social Media) ที่เป็นพื้นที่ไม่จำกัด สามารถกระจายข้อมูลของคลิปวิดีโอดังกล่าวไปยังทั่วโลกได้ ซึ่งการแพร่กระจายของข้อมูลดังกล่าวนี้ อาจนำไปสู่การกระทำที่ละเมิดกับสิทธิของเด็กและเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมายภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 27 อีกทั้งยังส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กที่ถูกแสดงออกมาอย่างก้าวร้าว เก็บกด เนื่องการเผยแพร่คลิปวิดีโอหรือรูปภาพอาจเป็นการบังคับให้เด็กทำกิริยาตามความต้องการของผู้ใหญ่ จนเด็กไม่สามารถแสดงออกในลักษณะของความเป็นเด็กที่ควรจะเป็นไปตามวัย
หากพูดในแง่ของกฎหมายนอกจากจะผิดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนรวมถึงเด็กพึงมีและได้รับ หากถูกละเมิดไม่ว่าจะมาจากบุคคลในครอบครัว ครู-อาจารย์ หรือแม้กระทั่ง บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องทางด้านสายเลือด ก็ถือเป็นการกระทำที่ทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นส่วนตัวของเด็กถูกรบกวน ถูกทำให้เสียเปรียบและถูกตัดสินในแง่ลบจากน้ำมือของผู้ใหญ่และการเผยแพร่วิดีโอในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อสำคัญสำหรับคนยุคใหม่ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่นำไปสู่ระบบการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และการสร้างบรรทัดฐาน (Norms) ในการตัดสินตัวบุคคลจากลักษณะภายนอกมากกว่าการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของแต่ละบุคคล
นอกจากจะส่งผลกระทบให้เด็กถูกละเมิดความส่วนตัวแล้ว ยังส่งผลให้เด็กถูกคุกคามจากบุคคลแปลกหน้า เช่น ขบวนการค้ามนุษย์ ที่ได้รับความเคลื่อนไหวจากการเช็คอินสถานที่ในโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาชญากรรมจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะโลกไซเบอร์ไม่ได้มีความส่วนตัวตั้งแต่ที่ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นๆนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เนื่องจากพื้นที่ไซเบอร์จะทำการเก็บข้อมูล เป็นประวัติการใช้งานของแต่ละแอคเคาท์ (Account) อีกทั้งเมื่อบุคคลใดที่ใช้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ค อันเป็นเครือข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นสังคม (community) สูงมาก ดังนั้นการที่โพสต์หรือแชร์อะไรลงไปแม้จะผ่านแอคเคาท์ของตน แต่กลับเป็นที่สนใจของบุคคลอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงไม่เป็นเรื่องยากที่ขบวนการค้ามนุษย์หรืออาชญากรจะใช้ข้อมูลจากโลกไซเบอร์ก่อให้เกิดอาชญากรรมเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง เช่น การจับตัวเด็กจากการรู้ที่อยู่ที่ผู้ปกครองตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจบอกในโซเชียลเน็ตเวิร์คไปเป็นเหยื่อ เป็นต้น ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ไทยควรมีกฎหมายเฉพาะเจาะจงและครอบคลุมไปถึงการรับมือต่อการกระทำที่ไม่พึงประสงค์หรือการกระทำที่อาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมอันมีผลมาจากโลกออนไลน์ ซึ่งต้องมีการคุ้มครองบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเด็กให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน อาจนำเอากฎหมายของสหรัฐอเมริกามาเป็นแบบอย่างในการออกกฎหมาย เช่น มีการกำหนดว่าข้อมูลของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีไม่ควรอยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนเด็กที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปจะต้องได้รับความยินยอมจากครอบครัว หรือแม้กระทั่งตัวเด็กเอง แต่หากบรรลุนิติภาวะไปแล้วก็ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ข้อมูลอ้างอิง: http://news.thaipbs.or.th/content/253823
ณัฐวรา เนียมแก้ว
จากข่าวเรื่อง เปรียบเทียบกฎหมายการแจ้งให้ลบเนื้อหา อเมริกาใช้เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ไทยเน้นใช้เรื่องความมั่นคง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้นถือได้ว่าเป็นต้นแบบของสิทธิมนุษยชนในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆในโลกออนไลน์นั้นจึงถือได้ว่าเป็นอิสระแม้กระทั่งในเรื่องของการแสดงความคิดเห็นทาการเมืองแต่เมื่อเทียบกับสังคมไทยปัจจุบันนั้นได้มีการออกกฎหมายที่เอื้อให้กับกลุ่มคนซึ่งมีอำนาจในการปราบปรามเกี่ยวการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองของรัฐบาลปัจจุบันเสียมากกว่าที่มักจะถูกลงโทษและปราบปรามหรือถูกบังคับให้ลบเนื้อหาเหล่านั้นเนื่องจากประเด็นทางด้านความมั่นคงเป็นหลักแต่ของสหรัฐนั้นเมื่อมีการบังคับให้ลบจะเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยที่ในการใช้กฎหมายไซเบอร์ของสหรัฐนั้นจะมีระเบียบวิธีในการจัดการที่ชัดเจนและยังมีการผ่านจากชั้นศาลแต่ก็มีจุดบกพร่องในประเด็นที่เมื่อมีการแจ้งเตือนมา ผู้ให้บริการก็มักจะลบข้อมูลเหล่านั้นทันทีโดยไม่ได้ไต่ตรองก่อนซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการที่ที่ถูกร้องเรียนเสียหายได้ ซึ่งเมื่อเทียบรวมๆนั้นของไทยแม้จะระเบียบขั้นตอนแต่ศาลจะไม่มีบทบาทในเรื่องนี้และจะเกี่ยวข้องกับรัฐเสียส่วนใหญ่
โดยที่รูปแบบการแจ้งลบของสหรัฐนั้นจะเป็นเรื่องการการปกป้องลิขสิทธิ์ของผลงานต่างๆ จากการถูกขโมย และความรับผิดของตัวกลางเรียกว่า “หลักการข้อยกเว้นความรับผิด” (safe harbour) ช่วยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่เนื้อหา เช่น เว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก และโปรแกรมสืบค้นข้อมูล (search engines) ในฐานะผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดจากเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ในพื้นที่ให้บริการของตนหากทำการลบเนื้อหาเมื่อได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งหากผู้ที่อัพโหลดเนื้อหา ต้องการที่จะโต้แย้งการลบเนื้อหาออกก็สามารถส่งหนังสือโต้แย้งไปยังผู้กล่าวหาได้ ซึ่งของไทยเองก็มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน
จากกรณีข้างต้นความต้องการที่จะกำกับดูแลโลกไซเบอร์โดยอาศัยความชอบธรรมในอำนาจอธิปไตยที่รัฐมีอยู่ของรัฐไทยจึงส่งผลต่อประเด็นทางกฎหมายที่ปรากฏในรูปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์และประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยนั้นซึ่งเป็นการกระจายอำนาจจากรัฐไปสู่ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ แม้ว่าจะมีรัฐเป็นผู้กำกับดูแลหลักก็ตาม จากตัวแบบในการกำกับโลกไซเบอร์ของไทยนั้นสอดคล้องกับตัวแบบที่กำกับโดยรัฐ(state regulation) คือการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการสร้างกฎและกลไกในการกำกับควบคุมโลกไซเบอร์ โดยรัฐมักมีบทบาทนำและบทบาทหลักในการให้บริการ ซึ่งรัฐบาลของไทยนั้นได้ใช้การกำหนดข้อกฎหมายเพื่อที่จะควบคุมการกระทำทางไซเบอร์ของประชาชนและคนในรัฐ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดของลาร์ลี่ เลสสิก (Larry Lessig) นักกฎหมายไซเบอร์ที่มองว่าในระบอบที่รัฐกำกับโลกไซเบอร์ เมื่อใดที่รัฐต้องการจะสร้างเขตอำนาจขึ้นเพื่อควบคุมการแสดงความคิดเห็น รัฐย่อมนำระบบเข้ามาในการคัดกรองการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไว้ในโลกไซเบอร์จะเห็นได้จากประเด็นการแจ้งเตือนให้ลบเนื้อหาที่มีการกำหนดระยะเวลาที่ค่อนข้างกระชั้นชิดสะท้อนให้ความต้องการที่จะควบคุม ดูแลของรัฐผ่านการจำกัดการแสดงออกทางความคิดเห็นเรื่องประเด็นทางการเมืองในโลกไซเบอร์เพื่อถ่วงดุลและรักษาไว้ซึ่งอำนาจในการที่จะตรวจสอบโดยประชาชนจากการอ้างประเด็นความมั่นคงเสียส่วนใหญ่แต่ก็อาจจะไม่ถึงขั้นของจีนที่มีการควบคุมทางอินเตอร์ทั้งหมด
ข้อมูลอ้างอิง: iLaw, เปรียบเทียบกฎหมายการแจ้งให้ลบเนื้อหา อเมริกาใช้เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ไทยเน้นใช้เรื่องความมั่นคง, 10 มีนาคม 2561: https://ilaw.or.th/node/4662
อาภัสรา รุ่งอรุณนิติรักษ์
ผลกระทบทางกฎหมายของพื้นที่ไซเบอร์ กรณีการพนันออนไลน์
การเกิดขึ้นของพื้นที่ไซเบอร์นั้นทำให้มิติความสัมพันธ์หลายๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานั้นได้เปลี่ยนไปประเด็นการบังคับใช้ก็ถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ได้รับอิทธิพลจากการเกิดขึ้นของพื้นที่ไซเบอร์ดังกล่าวด้วย
ผู้เขียนจะขอนำกรณีการพนันบนเว็บไซต์ออนไลน์มาเป็นตัวอย่างในการชี้ให้เห็นว่าปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายนั้นมีผลอย่างไร
โดยทั่วไปนั้นการพนันต่างๆได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นความผิดตามพ.ร.บ.การพนัน ๒๔๗๘ แต่ก็ได้กำหนดให้บางกรณีเป็นการพนันที่ถูกกฎหมายไว้ด้วย เช่นการขอใบอนุญาตให้เล่นพนัน
ซึ่งตามพ.ร.บ.ฉบับนี้นั้นมีผลบังคับใช้กับการกระทำที่เข้าข่ายการพนันทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่ขณะเดียวอินเทอร์เน็ตและพื้นที่ไซเบอร์นั้นมีอิทธิพลที่มากพอที่จะทำให้เกิดการพนันรูปแบบใหม่ขึ้นที่เรียกว่าการพนันออนไลน์ซึ่งเป็นการเล่นพนันที่แยกออกมาจากพื้นที่กายภาพไปสู่พื้นที่ไซเบอร์จึงเกิดขึ้นว่าการพนันดังกล่าวแม้จะเข้าความผิดตามพ.ร.บ.ฉบับนี้แต่จะบังคับใช้ต่อบุคคลผู้กระทำความผิดอย่างไรในเมื่อตัวระบบเว็ปไซตนั้นมิได้อยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ หรือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในรัฐไทยแต่ทางรัฐที่ระบบเซิฟเวอร์นั้นตั้งอยู่ไม่ถือว่าการพนันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
อีกประเด็นที่ถูกตั้งคำถามคือหากทั้งสองประเทศที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ไม่ว่าเป็นผู้จัดทำเว็บไซต์หรือผู้เล่น ซึ่งกฎหมายภายในของทั้งสองรัฐนั้นได้กำหนดให้การพนันถือเป็นความผิดแล้วกฎหมายที่นำมาใช้บังคับกับบุคคลผู้ได้กระทำความผิดนั้นจะเป็นกฎหมายของรัฐใด สามรถใช้หลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้หรือไม่
การพนันออนไลน์เป็นหนึ่งในอีกหลายๆกรณีตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของโลกที่อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทำให้พรมแดนระหว่างรัฐต่างๆได้หายไปมีการกระทำที่เกี่ยวพันธ์ระหว่างรัฐมากขึ้น จะเห็นได้จากกรณีของอาชญากรรมไซเบอร์ ทำให้หลักอธิปไตยของรัฐต่างๆนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดที่มีลักษณะข้ามพรมแดนได้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกันหาแนวทางหรือสร้างหลักการหรือคุณค่าบางอย่างที่เป็นมาตราฐานสากลเพื่อช่วยในการสร้างกฎเกณฑ์สำหรับการบังคับใช้กฎหมายระหว่างรัฐให้มีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริงยิ่งขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง: ผลสะเทือนของอินเตอร์เน็ตต่อปริมณฑลทางกฎหมาย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ข้อมูลอ้างอิง: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์ ของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และแนวทางการปรับใช้ พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 กับการพนันออนไลน์ ปิยอร เปลี่ยนผดุง
พสธร อ่อนนิ่ม