Skip to main content

7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  

          ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อสื่อในฐานะที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ทำให้ในปัจจุบันและในอนาคตพื้นที่สื่อกลายเป็นสิ่งที่รัฐพยายามที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อสื่อมากยิ่ง

            กรณี “ซิงเกิลเกตเวย์” ในปี 2558 แสดงถึงแนวคิดโครงการของรัฐที่อาจกระทบต่อเสรีภาพในการสื่อสารและสิทธิส่วนบุคคลในข้อมูล โครงการดังกล่าวถูกคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งองค์กรสิทธิ องค์กรธุรกิจ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป หนึ่งในผลกระทบที่หลายฝ่ายกังวล นอกจากการ “สอดส่อง” ก็คือการ “เซ็นเซอร์” ที่อาจตามมา ไม่นานหลังจากกรณีดังกล่าว เมื่อต้นปี 2559 ยังปรากฏความพยายามใหม่ของรัฐในการร้องขอผู้ให้บริการอย่างกูเกิล “ลบ” ข้อมูล หรือ “ถอด” เว็บไซต์บางอย่างออกจากการเข้าถึงของผู้ใช้งานทั่วไป

          หน่วยงานของรัฐในประเทศต่างๆ มีคำร้องขอให้ผู้บริการ “ลบ” ข้อมูลหรือ “ถอด” เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมายอยู่บ่อยครั้งจนแทบเป็นเรื่องปกติ ปลายเดือนมกราคม 2559 ปรากฏข่าวว่าหน่วยงานของไทยเจราจาเรียกร้องลักษณะนี้กับกูเกิล เรื่องนี้เริ่มต้นเผยแพร่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ของเพจเฟสบุ๊กกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway: Thailand Internet Firewall #opsinglegateway กลุ่มสนับสนุนสิทธิเสรีภาพออนไลน์ ได้เผยแพร่เอกสารหลักฐานที่ปรากฏความพยายามของรัฐในการร้องขอกูเกิลให้ “ลบ” ข้อมูลนั้นคือ “สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 11” ซึ่งปัจจุบันยังเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ เอกสารนี้แสดงการพูดคุยระหว่างคณะกรรมาธิการฯ กับตัวแทนกูเกิล โดยทางฝ่ายไทย “ขอ” ให้ทางกูเกิลช่วย “ถอดเว็บไซต์” ที่มีเนื้อหากระทบความมั่นคงขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยในกรณีเร่งด่วนอาจขอให้ถอดโดย “ไม่ต้องมีคำสั่งศาล” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐ ซึ่งเรียกร้องให้กูเกิล นำเนื้อหาข้อมูลออกจากระบบที่กูเกิลควบคุมดูแลอยู่ เพื่อมิให้ประชาชนเข้าถึงหรือรับรู้ข้อมูลนั้น โดยอ้างเหตุผลว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลผิดกฎหมาย

          ความพยายามของรัฐในการขอให้​ “ลบ” หรือ “ปิดกั้น” เนื้อหาข้อมูลเป็นการเรียกร้อง สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)บนวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ที่ต่างไปจากการที่บุคคลธรรมดาขอใช้สิทธิที่จะให้โลกออนไลน์ “ลืม” ข้อมูลของตนในการรักษาศักดิ์ศรีของบุคคล เนื่องจากสิทธิดังกล่าวโดยสภาพแล้วเป็นสิทธิที่มีรากฐานจากสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล จึงเป็นสิทธิของประชาชนคนธรรมดา ในขณะที่การเรียกร้องของรัฐเป็นการพยายามบังคับใช้กฎหมายบางอย่างที่โดยสภาพแล้วเป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิด การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากการขอให้กลไกการค้นหาต่างๆลบลิงค์ที่นำไปสู่แหล่งข้อมูล ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

 

8.ความเป็นกลางของเทคโนโลยี: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ความเป็นนิรนาม และปัญญาประดิษฐ์

               ในปัจจุบันการเพิ่มความสามารถให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในการสื่อสารนั้นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเพิ่มความสารถแข่งขันโดยเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารขั้นสูงย่อมเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น รูปแบบธุรกิจของกูเกิลที่มีอิทธิพลแพร่หลายในตลาดทำให้เกิดการผูกขาดและกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบของอินเทอร์เน็ต
               
               กรณี Google Monopoly Case กูเกิลได้ใช้อำนาจผูกขาดในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและคู่แข่งทางการตลาด โดยเจ้าหน้าที่ FTC ตรวจพบหลักฐานว่ากูเกิลได้ใช้กลยุทธ์ที่ต่อต้านการแข่งขันทำร้ายคู่แข่งเช่น Yelp และ Trip Adviso ที่บริษัทกูเกิลได้เสนอบริการและโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆของตนให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อรวบรวมและดูดข้อมูลจากเว็บไซต์จำนวนมากของผู้บริโภค เพื่อแสดงไว้ในผลการค้นหาของกูเกิล ทำให้กูเกิลมีฐานข้อมูลจำนวนมากกว่าบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการตลาดในอินเทอร์เน็ตรายอื่นๆ 

            ในบริการ Google Shopping ที่แสดงภาพและราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา พร้อมทั้งชื่อของร้านค้าและคะแนนรีวิว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสินค้าของบริษัทคู่แข่ง ส่วนรายละเอียดที่ปรากฎใน Google Shopping ที่ระบุว่า เป็นสินค้าที่ "จ่ายค่าโฆษณา" จะถูกจัดอันดับการค้นหาไปไว้ที่ตำแหน่งบนสุด ซึ่งสะท้อนว่าผลการสืบค้นข้อมูลของบริการนี้จะแสดงเฉพาะสินค้าที่จ่ายค่าโฆษณาให้กูเกิลเท่านั้น ต่างจากผลการสืบค้นตามปกติที่สร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบราคาสินค้าที่มักจะแสดงราคาสินค้าจากร้านค้าของกูเกิลในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าออนไลน์เจ้าอื่นอยู่เป็นประจำ จึงผิดกฎหมายการผูกขาดการค้าของสหภาพยุโรป  จากเหตุดังกล่าวหน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหภาพยุโรปจึงสั่งปรับกูเกิลเป็นจำนวนเงิน 2,400 ล้านยูโร หรือกว่า 84,000 พันล้านบาท ฐานผูกขาดการขายสินค้าบนเครือข่ายออนไลน์

            เห็นได้ว่ากูเกิลเป็นผู้ให้บริการที่มีฐานข้อมูลผู้ใช้บริการจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจเหนือตลาดของบริษัทกูเกิลเพราะมีฐานข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้นถือเป็นการละเมิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาดตลาด การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อีกทั้งการที่กูเกิลสามารถควบคุมช่องทางการไหลเวียนข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้ ถือเป็นการเพิ่มการผูกขาดอำนาจในการจัดการข้อมูลอีกด้วย

รูปภาพจาก เว็บไซต์ https://www.sarahdayan.com/blog/the-new-google-logo-why-it-is-a-success-despite-what-everybody-thinks

เขียนโดย นางสาววรินทรา ศรีวิชัย

อ่านตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6321

อ่านตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6322

แหล่งอ้างอิง

https://prachatai.com/journal/2016/01/63752

https://thainetizen.org/2016/02/state-right-to-be-forgotten/

https://www.facebook.com/OpSingleGateway/

http://money.cnn.com/2015/03/19/technology/google-monopoly-ftc/index.html

http://www.bbc.com/thai/international-40415852

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2