Skip to main content

การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายออกมาเป็นกฎหมายให้ได้แม้จะมีข้อพิพาทก็ตาม   ทั้งนี้เนื่องจากการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรย่อมต้องออกแบบอยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้บังคับใช้ และมีแนวทางในการจัดการทรัพยากรตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างไปจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น   นอกจากกระบวนการในการออกข้อบัญญัติซึ่งต้องออกแบบระบบการระงับข้อพิพาทแล้ว   ข้อพิพาทในสิทธิเหนือที่ดินก็ยังมีลักษณะแตกต่างกันไปตามรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้ทรงสิทธิต่าง ๆ ที่อ้างสิทธิเหนือที่ดิน หรือทรัพยากรนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ชุมชน รัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


ข้อพิพาทด้านที่ดินส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบข้อพิพาททางมหาชน (ข้อพิพาทที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ รึ รัฐทั้งสองฝ่าย) โดยเฉพาะข้อพิพาททางปกครองในเรื่องการใช้ฐานทรัพยากร   การระงับข้อพิพาทจึงต้องนำเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานอย่างโปร่งใส มีเหตุผล และอยู่ในกรอบของกฎหมาย ห้ามใช้อำนาจตามอำเภอใจ   จึงต้องมีการออกข้อบัญญัติมาเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับฐานทรัพยากรที่ดินไว้ล่วงหน้า  โดยต้องคำนึงประสบการณ์ที่ผ่านมาในกรณีศึกษาต่าง ๆ ในประเด็นต่อไปนี้


การประกาศเขตป่าทับที่ดินทำกินของประชาชน   มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


นโยบายส่งเสริมการปลูกป่ากระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการกระทำทางปกครองของหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป่าไม้ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวกระทบประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การให้สัมปทานเหมือง และโรงงานอุตสาหกรรม  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติและภูมิภาคที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือกรมควบคุมมลพิษ   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐแบบการจัดสรรเฉพาะ (นิคมอุตสาหกรรม)  มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานรัฐทั้งระดับชาติที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงาน กรมเหมืองแร่ หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและการประเมินผลกระทบความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในฐานะเป็นสิทธิของชุมชน หรือผังการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่นนั้น


การใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองของหน่วยงานด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน เพื่อยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือท้องถิ่น


การใช้ประโยชน์ในที่ดินทหาร มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของกรมทหารที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น กรมธนารักษ์ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะสัญญาทางปกครองในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การใช้ที่ดินราชพัสดุ มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น สำนักงานทรัพย์สินฯ ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับหน่วยงานในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
การใช้ประโยชน์ในที่ดินของเอกชน มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้น เช่น ประชาชน นิติบุคคล ฯลฯ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยฐานทรัพยากรที่ดิน   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายแพ่ง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำข้อตกลงระหว่างประชาชนกับเอกชนในลักษณะสัญญาทางแพ่งในการใช้ประโยชน์จาก ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน


การสูญเสียที่ดินด้วยการฉ้อโกง มีลักษณะเป็นการกระทำฉ้อฉลในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้ฉ้อโกง หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนและชุมชน


กลุ่มนายทุน และอิทธิพล บุกรุกที่ดิน มีลักษณะเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งและฉ้อโกงในทางอาญา  ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   รวมถึงกระทบต่อสิทธิของสาธารณชนที่รัฐมีหน้าที่ในการปกป้องสาธารณประโยชน์เหล่านั้น   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายอาญา โดยต้องมีการเรียกร้องสิทธิและพิสูจน์ความผิดของผู้บุกรุก หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติของประชาชน ชุมชน และสาธารณะ


การไม่ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินของประชาชน มีลักษณะเป็นการออกคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองของ กรมที่ดิน  ในรูปแบบการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจต่อประชาชน ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนและชุมชนในการใช้สอยและอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรของตนเอง   ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะต้องใช้แนวทางของกฎหมายปกครอง โดยต้องมีการโต้แย้งสิทธิและพิสูจน์สิทธิของชุมชน หรืออาจทำการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งเรื่องทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน เพื่อยืนยันสิทธิในการใช้สอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว
• ทำฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรรอไว้ ทั้งเรื่อง ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู
• เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมือง หรือนโยบายนำร่องเข้ามา ก็ให้ฉวยเอาแผนมาใช้ทันที
• การปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีหลากหลายประโยชน์ เช่น การบริหารที่ดิน ระบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟู กำหนดเขตชัดเจน การปรับปรุงสิทธิในที่ดิน การปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน และระบบการประเมินจัดเก็บภาษี เตรียมไว้สำหรับการผลักดันเป็นวาระเข้าสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• วางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต เช่น ความสัมพันธ์กับพื้นที่ใกล้เคียง การรักษาผังและบังคับใช้กฎ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ระบบวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเวทีหรือคนกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้ง


การผลักดันให้มีการออกกฎหมายเพื่อเป็นกรอบกติกาในการกำหนดความสัมพันธ์ของคนและการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากร โดยวางแผนผังเขต รูปแบบการจัดการ และระบบการตัดสินใจในกรณีมีข้อพิพาท อันจะเป็นการรองรับสิทธิของประชาชนและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร

*บทความนี้สกัดจาก ผลการศึกษาวิจัยโครงการ “แนวทางการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2